สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พัลซาร์ใหม่ในกลุ่มดาวหงส์

พัลซาร์ใหม่ในกลุ่มดาวหงส์

1 มี.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วันที่ 11 ธันวาคม 2541 คอลลีน วิลสัน-ฮอดจ์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลของนาซา ได้ค้นพบสิ่งแปลกประหลาดสิ่งหนึ่งบนท้องฟ้า เป็นพัลซาร์ดวงหนึ่งกำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดยักษ์อยู่ 

ดาวฤกษ์ที่เป็นดาวสหายของพัลซาร์ดวงนี้ เป็นดาวฤกษ์ชนิด B[e] มีสีน้ำเงินและอุณหภูมิพื้นผิวสูงมาก มีมวลประมาณ ถึง 15 เท่าของดวงอาทิตย์ และสิ่งที่น่าสนใจก็คือ เส้นเปล่งแสง (emission line) ของสเปกตรัมที่เกิดจากไฮโดรเจนและออกซิเจนที่ถูกพ่นเป่าออกมาจากดาวดวงนี้ 

วิลสัน-ฮอดจ์ ได้ค้นพบพัลซาร์ดวงนี้ในปี 2538 โดยเครื่องมือ BATSE (Burst and Transient Source Experiment) ของสถานีสังเกตการณ์รังสีแกมมาคอมป์ตัน (Compton Gamma Ray Observatory) และเธอยังศึกษาพัลซาร์ดวงนี้เพิ่มเติมโดยใช้ RXTE (Rossi X-ray Timing Explorer) ผลการศึกษาพบว่าพัลซาร์ดวงนี้กำลังโคจรรอบวัตถุที่มองไม่เห็นก้อนหนึ่ง ในการโคจรแต่ละรอบ พัลซาร์นี้จะมีการปล่อยพลังงานมากขึ้นกว่าปกติสองครั้ง พอจะสันนิษฐานได้ว่า มันเกิดจากการที่พัลซาร์นี้โคจรผ่านเข้าไปในจานก่อตัว (accretion disk) ของวัตถุสหายลึกลับนี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นดาวฤกษ์ชนิด B[e] พัลซาร์ดวงนี้ขณะนี้มีชื่อเรียกว่า GRO J2058+42 

พัลซาร์และดาวสหายคู่นี้อยู่ในกลุ่มดาวหงส์ มีอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 14.4 จึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือแม้แต่กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก

พัลซาร์และดาวสหายคู่นี้อยู่ในกลุ่มดาวหงส์ มีอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 14.4 จึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือแม้แต่กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก

แผนภาพที่แสดงการโคจรรอบดาวฤกษ์ยักษ์ของพัลซาร์ GRO J2058+42 ในการโคจรแต่ละรอบ พัลซาร์จะเคลื่อนที่ฝ่าเข้าไปในจากก่อตัวของดาวฤกษ์นี้ 2 ครั้ง ในขณะที่พัลซาร์ผ่านเข้าไปในจานก่อตัวที่สร้างขึ้นโดยดาวฤกษ์ มันจะเกิดการระเบิดขึ้นและส่องแสงสว่างมากกว่าในสภาวะปกติ (แผนภาพนี้ไม่ได้แสดงถึงความบิดเบี้ยวของจาน ซึ่งน่าจะเกิดจากสนามความโน้มถ่วงของพัลซาร์รบกวน)

แผนภาพที่แสดงการโคจรรอบดาวฤกษ์ยักษ์ของพัลซาร์ GRO J2058+42 ในการโคจรแต่ละรอบ พัลซาร์จะเคลื่อนที่ฝ่าเข้าไปในจากก่อตัวของดาวฤกษ์นี้ 2 ครั้ง ในขณะที่พัลซาร์ผ่านเข้าไปในจานก่อตัวที่สร้างขึ้นโดยดาวฤกษ์ มันจะเกิดการระเบิดขึ้นและส่องแสงสว่างมากกว่าในสภาวะปกติ (แผนภาพนี้ไม่ได้แสดงถึงความบิดเบี้ยวของจาน ซึ่งน่าจะเกิดจากสนามความโน้มถ่วงของพัลซาร์รบกวน)

ที่มา: