สมาคมดาราศาสตร์ไทย

การคำนวณปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตกผ่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร

การคำนวณปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตกผ่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร

13 มีนาคม 2568 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
สืบเนื่องจากมีนักถ่ายภาพจำนวนมากได้รวมตัวกันถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตกผ่านกลางเสาชิงช้า เขตพระนคร เมื่อวันที่ มีนาคม พ.ศ. 2568

 (จาก สุภณัฐ รัตนธนาประสาน ThaiPBS)

ผู้เขียนได้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้คำนวณเพื่อหาวัน-เวลาที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตกเมื่อสังเกตจากตำแหน่งที่อยู่ห่างจากเสาชิงช้าไปตามถนนบำรุงเมืองซึ่งวางตัวอยู่ในแนวใกล้เคียงทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
1. พิจารณาจากภาพถ่ายและจากข้อมูลความกว้างและความสูงของเสาชิงช้า เพื่อคำนวณว่าควรตั้งกล้องถ่ายภาพหรือสังเกตโดยมีระยะห่างจากเสาชิงช้าเท่าใด เพื่อให้ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ใกล้เคียงความกว้างของเสาชิงช้า
2. คำนวณหามุมทิศ (มุมที่วัดจากทิศเหนือกวาดไปตามเข็มนาฬิกา) ของถนนบำรุงเมือง
3. คำนวณว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะปรากฏตรงกับมุมทิศที่คำนวณได้ในวันและเวลาใดของปี

ผลการคำนวณพบว่า
1. จากข้อมูลความสูงของเสาชิงช้าที่ราว 21.15 เมตร เมื่อเทียบสัดส่วนในภาพถ่ายแสดงว่าส่วนที่แคบที่สุดระหว่างเสาทั้งสองห่างกันประมาณ 3.7 เมตร อาศัยความรู้ทางตรีโกณมิติและขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ประมาณ 0.5° คำนวณได้ว่าจุดสังเกตที่เหมาะสมควรอยู่ห่างจากเสาชิงช้าไม่เกิน 420 เมตร (จาก 3.7/tan(0.5)) ถ้าไกลออกไปมากขึ้น ดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่เกินความกว้างของเสาชิงช้า หากสังเกตดวงอาทิตย์ตก จุดนี้อยู่บริเวณสะพานสมมตอมรมารค ใกล้แยกสำราญราษฎร์

 (จาก Wikimedia Commons)

2. จากพิกัดที่แสดงในแผนที่กูเกิล คำนวณพบว่าด้านทิศตะวันตกของถนนบำรุงเมืองมีมุมทิศ 264.1° สอดคล้องกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ มีนาคม 2568 เวลาประมาณ 18:19 น. ซึ่งขณะนั้นดวงอาทิตย์มีมุมเงย 

 (จาก Google แผนที่)

3. เราควรจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นผ่านเสาชิงช้าเมื่อมองจากด้านทิศตะวันตกของเสาชิงช้าในเช้าวันที่ เมษายน ของทุกปี อย่างไรก็ตาม การสังเกตดวงอาทิตย์ขึ้นไม่ชัดเจนเนื่องจากภาพถ่ายแสดงว่าไกลออกไปหลังเสาชิงช้ามีตึกสูงซึ่งสามารถบดบังบางส่วนหรือทั้งหมดของดวงอาทิตย์ได้

4. ในรอบปี ดวงอาทิตย์ตกผ่านเสาชิงช้าไม่ได้มีเพียงครั้งเดียว แต่เกิดขึ้น ช่วง คือ ต้นเดือนมีนาคมและต้นเดือนตุลาคม  ดวงอาทิตย์ตกผ่านเสาชิงช้าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ และวันจันทร์ที่ ตุลาคม 2568 เวลาประมาณ 17:56 น. แต่อาจสังเกตได้ยากเพราะเป็นฤดูฝน มักมีเมฆมาก

5. เราควรจะเห็นดวงจันทร์เกือบเต็มดวงตกผ่านเสาชิงช้าในเช้าวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2568 เวลาประมาณ 05:19 น. เมื่อสังเกตจากด้านทิศตะวันออกของเสาชิงช้า (ใกล้แยกสำราญราษฎร์)

6. เป็นที่น่าสังเกตว่ามุมทิศของจุดดวงอาทิตย์ขึ้น (84.1°) และตก (264.1°) ที่เสาชิงช้าตามแนวถนนบำรุงเมืองนั้นใกล้เคียงกับมุมทิศของดวงอาทิตย์ขึ้น (84.5°) และตก (264.5°) ตามแนวช่องประตูของปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ดังนั้นเหตุการณ์ซึ่งเกิดที่เสาชิงช้ากับปราสาทพนมรุ้งจึงเกิดขึ้นในช่วงใกล้เคียงกันของทุกปี (อาจเหลื่อมกันแค่เพียง วัน)

ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตกผ่านเสาชิงช้าในช่วง พ.ศ. 2568-2571


ดวงอาทิตย์
★ ช่วงที่ ทุกวันที่ 6-7 มีนาคม ของทุกปี เวลาประมาณ 18:19 น.
★ ช่วงที่ ทุกวันที่ 6-7 ตุลาคม ของทุกปี เวลาประมาณ 17:56 น.

ดวงจันทร์
★ วันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2568 เวลาประมาณ 05:19 น. (จันทร์เพ็ญ)
★ วันพุธที่ กรกฎาคม 2568 เวลาประมาณ 23:54 น. (จันทร์กึ่งข้างขึ้น)
★ วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2569 เวลาประมาณ 22:31 น. (จันทร์เสี้ยวข้างขึ้น)
★ วันพฤหัสบดีที่ ธันวาคม 2569 เวลาประมาณ 13:31 น. (จันทร์เสี้ยวข้างแรม เวลากลางวัน)
★ วันพุธที่ 15 กันยายน 2570 เวลาประมาณ 05:13 น. (จันทร์เพ็ญ)
★ วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2571 เวลาประมาณ 09:19 น. (จันทร์ค่อนดวงข้างแรม เวลากลางวัน)
★ วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2571 เวลาประมาณ 03:55 น. (จันทร์ค่อนดวงข้างขึ้น)