สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวตกจากดาวหางฮาร์ตลีย์?

ดาวตกจากดาวหางฮาร์ตลีย์?

1 พฤศจิกายน 2553
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวหางฮาร์ตลีย์เป็นดาวหางที่สว่างพอจะเห็นได้จาง ๆ ด้วยตาเปล่าในขณะนี้ ด้วยวงโคจรของดาวหางและข้อมูลภาพถ่ายดาวตกเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักดาราศาสตร์กำลังสงสัยว่าดาวหางฮาร์ตลีย์อาจทำให้เกิดฝนดาวตกในวันที่ และ พฤศจิกายน แม้ว่าความเป็นไปได้จะค่อนข้างต่ำมากก็ตาม

ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากสะเก็ดดาวพุ่งเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก สะเก็ดดาวเหล่านี้ส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาจากดาวหาง เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ น้ำแข็งที่พื้นผิวจะระเหิด นำพาเศษชิ้นส่วนของดาวหางหลุดออกมา ทิ้งเรี่ยราดไว้ตามทางโคจร เรียกวัตถุนี้ว่าสะเก็ดดาว หากดาวหางดวงนั้นมีวงโคจรตัดผ่านใกล้โลก สะเก็ดดาวที่ทิ้งไว้นี้อาจทำให้เกิดฝนดาวตก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่คนบนโลกมองเห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งมาจากท้องฟ้าบริเวณเดียวกัน อาจมีจำนวนต่ำมากเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง หรือมากนับร้อยนับพันดวงต่อชั่วโมงก็ได้ ล้วนแต่เรียกว่าฝนดาวตกทั้งสิ้น

ดาวหางฮาร์ตลีย์ได้ผ่านใกล้โลกที่สุดไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 สัปดาห์นี้ยานดีปอิมแพกต์ ยานอวกาศขององค์การนาซาจะเข้าใกล้ดาวหางดวงนี้เวลาประมาณ ทุ่มของคืนวันที่ พฤศจิกายน ตามเวลาประเทศไทย โดยห่างดาวหางประมาณ 700 กิโลเมตร ขณะนี้ดาวหางปรากฏอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่กับกลุ่มดาวหมาเล็ก ทางทิศตะวันออกของกลุ่มดาวนายพราน ภายใต้ท้องฟ้าที่มืดสนิท ห่างไกลเมืองใหญ่ สามารถเห็นดาวหางเป็นฝ้าจาง ๆ สีเทาทรงกลมด้วยตาเปล่า ขนาดใกล้เคียงดวงจันทร์เต็มดวง สังเกตได้ดีตั้งแต่เวลาประมาณเที่ยงคืนจนกระทั่งฟ้าสาง ปัจจุบันความสว่างมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากห่างโลกมากขึ้น

ตำแหน่งดาวหางฮาร์ตลีย์ในเวลาเที่ยงคืนของคืนวันที่ 31 ตุลาคม พฤศจิกายน 2553 ดาวหางจะเคลื่อนสูงขึ้นไปอยู่กลางฟ้าในเวลาก่อนฟ้าสาง แต่อาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย 

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม กล้องถ่ายภาพทั่วฟ้าของนาซาจับภาพดาวตกสว่างที่เรียกว่าลูกไฟ การวิเคราะห์เส้นทางสามารถคำนวณหาวงโคจรของมันก่อนที่สะเก็ดดาวจะเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศได้ ซึ่งพบว่ามีวงโคจรใกล้เคียงกับลูกไฟอีกดวงหนึ่งที่ถ่ายภาพไว้ไม่ถึง ชั่วโมงก่อนหน้านั้นทางตะวันออกของแคนาดา โดยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนแทรีโอ นอกจากนี้ยังพบว่าวงโคจรของลูกไฟ ลูกดังกล่าว ยังใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวหางฮาร์ตลีย์ซึ่งมีเส้นทางใกล้โลกอีกด้วย นักดาราศาสตร์จึงสงสัยว่าวัตถุที่ทำให้เกิดลูกไฟทั้งสองนี้ อาจเป็นสะเก็ดดาวจากดาวหางฮาร์ตลีย์


ลูกไฟ ลูก เหนือท้องฟ้าทางตะวันตกของออนแทรีโอ (ซ้าย) และทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา (ขวา) ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2553 ทั้งสองลูกมีวงโคจรใกล้เคียงกับดาวหางฮาร์ตลีย์ (ภาพ UWO/NASA/Bill Cooke) 

บิล คุก (Bill Cooke) นักดาราศาสตร์ของนาซาให้ความเห็นว่ามันอาจเป็นความบังเอิญ เพราะแต่ละคืนมีสะเก็ดดาวจำนวนมากที่เข้ามาในชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม เขาวางแผนที่จะเฝ้าดูท้องฟ้าต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคืนวันที่ และ พฤศจิกายน เป็นช่วงที่โลกเข้าใกล้วงโคจรของดาวหางฮาร์ตลีย์มากที่สุด ซึ่งมีโอกาสจะเห็นดาวตกจากดาวหางดวงนี้ได้มากที่สุดด้วย โดยโลกจะเคลื่อนไปถึงจุดนี้ตามหลังดาวหางเพียง สัปดาห์ หากมีดาวตกจากดาวหางฮาร์ตลีย์เกิดขึ้นจริง มันควรมีจุดกระจายจากบริเวณกลุ่มดาวหงส์ ซึ่งอยู่บนท้องฟ้าตั้งแต่เวลาหัวค่ำถึงราวตี อันเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกจากดาวหางดวงนี้ การสังเกตสามารถมองไปได้ทั่วฟ้า ไม่เจาะจงว่าต้องมองไปในทิศทางใด สิ่งสำคัญกว่านั้นคือควรสังเกตจากสถานที่ห่างไกลจากตัวเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงแสงรบกวน เมืองใหญ่มีโอกาสเห็นเฉพาะดาวตกดวงที่สว่างมากเท่านั้น ซึ่งมักมีจำนวนน้อยมากด้วย

สิ่งที่ต้องระลึกอยู่เสมอคือความเป็นไปได้ที่จะเห็นดาวตกจากดาวหางฮาร์ตลีย์ถือว่าน้อยมาก ข้อมูลในขณะนี้ยังไม่พบหลักฐานว่าเคยมีฝนดาวตกจากดาวหางฮาร์ตลีย์ อย่างไรก็ตาม เพื่อพิสูจน์หาความจริง การเฝ้าสังเกตท้องฟ้าในคืนวันที่ และ พฤศจิกายน จะบอกเราได้ว่าดาวหางฮาร์ตลีย์ก่อให้เกิดฝนดาวตกหรือไม่

หมายเหตุ บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 31 ตุลาคม 2553

ดูเพิ่ม

 ดาวหางฮาร์ตลีย์ (103P/Hartley)
 สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดาวตก ฝนดาวตก และอุกกาบาต
 ฝนดาวตกในปี 2553

ที่มา

 Scientists Watch for "Hartley-id" Meteor Shower Science@NASA