สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2568

ดาวเคราะห์ในปี 2568

8 มกราคม 2568
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15 มกราคม 2568
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2568 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวง ตลอดปี 2568 (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

มกราคม 2568

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด เดือนนี้อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงูและคนยิงธนู สังเกตได้ต่อเนื่องมาจากเดือนธันวาคม 2567 และสังเกตได้ต่อไปจนถึงประมาณวันที่ 20 มกราคม หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสังเกตได้ยาก ช่วงวันที่ 1-20 มกราคม ดาวพุธมีความสว่างเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากโชติมาตร -0.4 ไปที่ -0.5
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.4 ถึง -4.7) เป็นดาวประจำเมืองอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 เดือนนี้ดาวศุกร์จะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 10 มกราคม ที่ระยะ 47° จึงมีเวลาสังเกตได้นานหลังจากท้องฟ้าเริ่มมืดในเวลาพลบค่ำ ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและเข้าสู่กลุ่มดาวปลาในวันที่ 23 มกราคม ตกลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ตกประมาณ ชั่วโมงครึ่ง และอยู่ใกล้ดาวเสาร์ในค่ำวันที่ 18 มกราคม
ดาวอังคาร อยู่ในกลุ่มดาวปูและเคลื่อนถอยหลังเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ในกลางเดือนมกราคม มองเห็นเป็นดาวสว่างเด่นอยู่บนท้องฟ้าเกือบตลอดทั้งคืน วันแรกของปีสว่างที่โชติมาตร -1.3 ดาวอังคารจะอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 12 มกราคม และผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 16 มกราคม สว่างที่โชติมาตร -1.4 นับว่าเป็นช่วงที่ดาวอังคารสว่างมากที่สุดในรอบ ปีเศษ หลังจากอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ความสว่างจะลดลงทุกวันจนไปอยู่ที่โชติมาตร -1.2 ในวันที่ 31 มกราคม วงโคจรที่มีความรีค่อนข้างสูงทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง ครั้งนี้อยู่ค่อนข้างไกลเมื่อเทียบกับครั้งอื่น แต่ก็มีขนาดใหญ่พอที่จะเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งมักไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.7 ถึง -2.5) อยู่ในกลุ่มดาววัว สังเกตได้บนท้องฟ้าตั้งแต่เวลาหัวค่ำจนถึงก่อนเช้ามืดของวันถัดไป
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.1) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ต้นเดือนตกลับขอบฟ้าประมาณ ทุ่มครึ่ง ปลายเดือนตกเร็วขึ้นอีก ชั่วโมง
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.7) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในกลุ่มดาวแกะ ค่อนไปทางด้านที่ติดกับกลุ่มดาววัว ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้ เนื่องจากมีดาวฤกษ์สว่างใกล้เคียงกันอยู่จำนวนมาก
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในกลุ่มดาวปลา ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะสังเกตได้ดี

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

กุมภาพันธ์ 2568


ดาวพุธ ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอก (ดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดาวพุธ) ในวันที่ กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นจะทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตั้งแต่ประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ อยู่ทางขวามือของดาวเสาร์ในค่ำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ระยะห่าง 1.5° ช่วงวันที่ 20-28 กุมภาพันธ์ ดาวพุธมีความสว่างลดลงจากโชติมาตร -1.4 ไปที่ -1.1
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.8 ถึง -4.9) ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวปลาในเวลาหัวค่ำ ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อเดือนมกราคม จึงกำลังเคลื่อนกลับเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น แต่ยังมีเวลาสังเกตได้นานหลังจากดวงอาทิตย์ตก ดาวศุกร์จะสว่างที่สุดในค่ำวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ ที่โชติมาตร -4.87 หากสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยว
ดาวอังคาร (โชติมาตร -1.1 ถึง -0.3) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันออก หลังจากใกล้โลกที่สุดและอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อกลางเดือนมกราคม ดาวอังคารมีความสว่างลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะห่างที่มากขึ้น ก่อนดวงจันทร์ตกในเช้ามืดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ จะเห็นดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.5 ถึง -2.3) อยู่ในกลุ่มดาววัว สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ต้นเดือนตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณตี ครึ่ง ปลายเดือนตกเร็วขึ้นอีก ชั่วโมง
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.1) มองเห็นได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตกในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำโดยอยู่สูงเหนือขอบฟ้าไม่มากนัก มีเวลาสังเกตได้น้อยลงเรื่อย ๆ ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่ลดลงทุกวัน  ปลายเดือนนี้เป็นช่วงสุดท้ายที่จะเห็นดาวเสาร์บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.7 ถึง 5.8) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในกลุ่มดาวแกะ ค่อนไปทางด้านที่ติดกับกลุ่มดาววัว ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้ เนื่องจากมีดาวฤกษ์สว่างใกล้เคียงกันอยู่จำนวนมาก
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในกลุ่มดาวปลา ดาวศุกร์ผ่านมาใกล้ดาวเนปจูนในค่ำวันแรกของเดือนที่ระยะ 3.3° ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะสังเกตได้ดี

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

มีนาคม 2568


ดาวพุธ อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำต่อเนื่องมาจากเดือนกุมภาพันธ์ ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ มีนาคม หลังจากนั้นจะเคลื่อนกลับเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ สังเกตได้ถึงประมาณวันที่ 16 มีนาคม มองเห็นอยู่ทางซ้ายมือของดาวศุกร์ในค่ำวันที่ 12 มีนาคม ที่ระยะ 5.5° ช่วงวันที่ 1-16 มีนาคม ดาวพุธมีความสว่างลดลงจากโชติมาตร -1.0 ไปที่ 1.6 วันที่ 25 มีนาคม ดาวพุธจะผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงในโดยอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.8 ถึง -4.2) อยู่ในกลุ่มดาวปลาบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ หากสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวบางลงและมีขนาดใหญ่ขึ้นทุกวัน เดือนนี้ดาวศุกร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์อย่างรวดเร็ว อาจสังเกตได้ถึงกลางเดือนมีนาคม วันที่ 23 มีนาคม ดาวศุกร์จะผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงใน เป็นตำแหน่งที่ดาวศุกร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ดาวอังคาร (โชติมาตร -0.3 ถึง 0.4) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันออก
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.3 ถึง -2.1) อยู่ในกลุ่มดาววัว สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.1 ถึง 1.2) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 12 มีนาคม ใกล้เคียงกับช่วงที่ระนาบวงแหวนของดาวเสาร์อยู่ในแนวสายตาเมื่อมองจากโลก วงแหวนจึงดูเหมือนหายไป ดาวเสาร์จะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกในวันท้าย ๆ ของเดือน แต่ยังสังเกตได้ยาก
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.8) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ วันแรก ๆ อยู่ในกลุ่มดาวแกะ หลังจากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาววัว ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงสามารถระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8) อยู่ในกลุ่มดาวปลา ผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 20 มีนาคม จึงไม่สามารถสังเกตได้ตลอดเดือนนี้

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

เมษายน 2568

ดาวพุธ หลังจากผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงในเมื่อปลายเดือนมีนาคม ดาวพุธจะย้ายมาอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ประมาณวันที่ เมษายน ในกลุ่มดาวปลา เช้ามืดวันที่ 10-11 เมษายน ดาวเคราะห์ ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวเสาร์ และดาวศุกร์ เกาะกลุ่มกันใกล้ขอบฟ้า ดาวพุธอยู่ใกล้ดาวเสาร์ที่ระยะ 2° ดาวศุกร์อยู่เยื้องไปทางซ้ายมือด้านบนที่ระยะ 6°-7° วันที่ 22 เมษายน ดาวพุธจะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด ช่วงวันที่ 5-30 เมษายน ดาวพุธมีความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร 1.8 ไปที่ 0.1
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.2 ถึง -4.8) มาปรากฏเป็นดาวประกายพรึกบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดตั้งแต่วันแรกของเดือน อยู่ในกลุ่มดาวปลา สว่างที่สุดในเช้ามืดวันที่ 22-23 เมษายน ที่โชติมาตร -4.78 กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวหนาขึ้นและมีขนาดเล็กลงทุกวัน
ดาวอังคาร (โชติมาตร 0.4 ถึง 0.9) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ กลางเดือนย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวปู เวลาหัวค่ำมองเห็นดาวอังคารอยู่สูงเกือบเหนือศีรษะ จากนั้นคล้อยต่ำลงไปทางทิศตะวันตก ต้นเดือนตกลับขอบฟ้าเวลาตี ปลายเดือนตกเวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.1 ถึง -2.0) อยู่ในกลุ่มดาววัว สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ต้นเดือนตกลับขอบฟ้าเวลา ทุ่ม ปลายเดือนตกประมาณ ทุ่มครึ่ง
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.2) อยู่เหนือขอบฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ปลายเดือนย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวปลา
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.8) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ (ซ้ายมือ) ของกระจุกดาวลูกไก่ มีเวลาสังเกตได้ไม่นานก่อนจะตกลับขอบฟ้าในเวลาหัวค่ำ ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8) อยู่ในกลุ่มดาวปลา ย้ายมาอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ช่วงแรกยังสังเกตได้ยาก เริ่มสังเกตได้ดีในปลายเดือนเมษายนโดยต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

พฤษภาคม 2568

ดาวพุธ อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องมาจากเดือนเมษายน ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวปลา กลางเดือนพฤษภาคมย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ สังเกตดาวพุธได้ถึงประมาณวันที่ 17 พฤษภาคม หลังจากนั้นอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ผ่านตำแหน่งรวมทิศแนววงนอกในวันที่ 30 พฤษภาคม ช่วงวันที่ 1-17 พฤษภาคม ดาวพุธมีความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร 0.1 ไปที่ -0.9
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.7 ถึง -4.4) อยู่ในกลุ่มดาวปลาบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด วันที่ พฤษภาคม ดาวเนปจูนอยู่ทางทิศใต้ (ขวามือ) ของดาวศุกร์ที่ระยะ 
ดาวอังคาร (โชติมาตร 0.9 ถึง 1.2) สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวปู วันที่ 26 พฤษภาคม ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต วันที่ พฤษภาคม ดาวอังคารผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งที่ระยะ 0.6° ต้นเดือนตกลับขอบฟ้าเวลาเที่ยงคืนครึ่ง ปลายเดือนตกเร็วขึ้นอีกประมาณ ชั่วโมง
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.0 ถึง -1.9) อยู่ในกลุ่มดาววัว สังเกตได้ในเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตกโดยมีเวลาสังเกตได้น้อยลงเรื่อย ๆ ต้นเดือนตกลับขอบฟ้าเวลา ทุ่มครึ่ง ปลายเดือนตกในเวลาประมาณ ทุ่ม
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.2 ถึง 1.1) อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกในกลุ่มดาวปลา
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.8) อยู่ในกลุ่มดาววัว กลางเดือนนี้จะผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8) อยู่ในกลุ่มดาวปลาบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

มิถุนายน 2568

ดาวพุธ เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตกตั้งแต่ประมาณวันที่ มิถุนายน ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาววัว เข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ในวันที่ มิถุนายน และเข้าสู่กลุ่มดาวปูในวันที่ 25 มิถุนายน พลบค่ำวันที่ มิถุนายน ดาวพฤหัสบดีซึ่งสว่างกว่าจะปรากฏอยู่ทางซ้ายมือของดาวพุธที่ระยะ 2.0° ช่วงวันที่ 7-30 มิถุนายน ดาวพุธมีความสว่างลดลงจากโชติมาตร -1.4 ไปที่ 0.3
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.4 ถึง -4.2) อยู่ในกลุ่มดาวปลาบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด วันท้าย ๆ ของเดือนเข้าสู่กลุ่มดาวัว ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันแรกของเดือน หลังจากนั้นเคลื่อนกลับเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกวัน
ดาวอังคาร (โชติมาตร 1.2 ถึง 1.4) อยู่ในกลุ่มดาวสิงโต สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -1.9) อยู่ในกลุ่มดาววัว สังเกตได้ในเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากอยู่ใกล้ดาวพุธในวันที่ มิถุนายน จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนเริ่มสังเกตได้ยาก ผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 24 มิถุนายน
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.1 ถึง 1.0) อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกในกลุ่มดาวปลา
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.8) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ กลางเดือนนี้ดาวยูเรนัสจะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้สังเกตได้ภายใต้ฟ้ามืดบนท้องฟ้าก่อนรุ่งสาง ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8) อยู่ใกล้กับดาวเสาร์ในกลุ่มดาวปลา ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

กรกฎาคม 2568

ดาวพุธ อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตกในกลุ่มดาวปู ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ กรกฎาคม สังเกตได้จนถึงประมาณวันที่ 20 กรกฎาคม ช่วงวันที่ 1-20 กรกฎาคม ดาวพุธมีความสว่างลดลงจากโชติมาตร 0.4 ไปที่ 2.1
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.1 ถึง -4.0) อยู่ในกลุ่มดาววัวบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด วันที่ 30-31 กรกฎาคม ดาวศุกร์จะผ่านเข้าไปในพื้นที่ของกลุ่มดาวนายพรานตามการแบ่งเขตกลุ่มดาวสากล วันที่ 4-5 กรกฎาคม ดาวยูเรนัสจะอยู่ทางซ้ายมือของดาวศุกร์ที่ระยะ 2.4° และเห็นกระจุกดาวลูกไก่ห่างดาวศุกร์ที่ระยะ 
ดาวอังคาร (โชติมาตร 1.4 ถึง 1.6) อยู่ในกลุ่มดาวสิงโต วันท้าย ๆ ของเดือนเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -1.9) หลังจากผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ดาวพฤหัสบดีจะย้ายไปอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด เริ่มเห็นได้ประมาณกลางเดือนกรกฎาคมในกลุ่มดาวคนคู่
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.0 ถึง 0.8) อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในกลุ่มดาวปลา วันที่ กรกฎาคม ดาวเสาร์กับดาวเนปจูนผ่านใกล้กันที่ระยะห่าง 
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.8) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8 ถึง 7.7) อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดใกล้กับดาวเสาร์ในกลุ่มดาวปลา ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

สิงหาคม 2568

ดาวพุธ วันแรกของเดือน ดาวพุธผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงใน จากนั้นเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกตั้งแต่ประมาณวันที่ 11 สิงหาคม โดยอยู่ในกลุ่มดาวปู ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 19 สิงหาคม เข้าสู่กลุ่มดาวสิงโตในวันท้าย ๆ ของเดือน ช่วงวันที่ 11-31 สิงหาคม ดาวพุธมีความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร 1.7 ไปที่ -1.2
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.0 ถึง -3.9) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด เข้าสู่กลุ่มดาวปูในวันที่ 25 สิงหาคม เช้ามืดวันที่ 12 สิงหาคม จะเห็นดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้กันที่ระยะ 0.9°
ดาวอังคาร (โชติมาตร 1.6) อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -1.9 ถึง -2.0) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด วันที่ 12 สิงหาคม ดาวพฤหัสบดีอยู่ทางซ้ายมือของดาวศุกร์ เห็นเป็นดาวสว่าง ดวงอยู่เคียงข้างกันทางทิศตะวันออก
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 0.8 ถึง 0.7) อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในกลุ่มดาวปลา
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.8 ถึง 5.7) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.7) อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดใกล้กับดาวเสาร์ในกลุ่มดาวปลา ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

กันยายน 2568

ดาวพุธ อยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดต่อเนื่องมาจากเดือนสิงหาคม วันแรก ๆ อาจยังพอสังเกตได้โดยอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต สว่างประมาณโชติมาตร -1.3 หลังจากนั้นดาวพุธจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอกในวันที่ 13 กันยายน
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9) อยู่ในกลุ่มดาวปูบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด เข้าสู่กลุ่มดาวสิงโตในวันที่ 10 กันยายน วันแรกของเดือนจะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้กระจุกดาวรังผึ้งที่ระยะ 1.2° จากนั้นวันที่ 20 กันยายน ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะ 0.6° ดาวศุกร์กำลังเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกวัน จึงมีเวลาสังเกตได้น้อยลง
ดาวอังคาร (โชติมาตร 1.6) อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ค่ำวันที่ 13 กันยายน ดาวอังคารจะผ่านใกล้ดาวรวงข้าวหรือดาวสไปกาซึ่งเป็นดาวสว่างที่สุดในกลุ่มดาวหญิงสาวที่ระยะ 2.2°
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.0 ถึง -2.1) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 0.7 ถึง 0.6) อยู่ในกลุ่มดาวปลา วันท้าย ๆ ของเดือนถอยเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ วันที่ 21 กันยายน ดาวเสาร์จะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี ทำให้สังเกตได้ตลอดทั้งคืน
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.7) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงสามารถระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.7) อยู่ใกล้กับดาวเสาร์ในกลุ่มดาวปลา วันที่ 22-23 กันยายน ดาวเนปจูนผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

ตุลาคม 2568

ดาวพุธ ย้ายมาปรากฏในเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งในวันที่ 13 ตุลาคม และเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องในวันที่ 30 ตุลาคม ดาวพุธอยู่ใกล้ดาวอังคารในค่ำวันที่ 20 ตุลาคม ที่ระยะ 2° และทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 30 ตุลาคม ช่วงวันที่ 1-31 ตุลาคม ดาวพุธมีความสว่างลดลงจากโชติมาตร -0.5 ไปที่ -0.1
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9) อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต เข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาวในวันที่ ตุลาคม
ดาวอังคาร (โชติมาตร 1.6 ถึง 1.4) อยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว วันที่ ตุลาคม เข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.1 ถึง -2.3) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ สังเกตได้ดีบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 0.6 ถึง 0.8) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันออกในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.7 ถึง 5.6) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงสามารถระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.7) อยู่ในกลุ่มดาวปลา ห่างดาวเสาร์ประมาณ 3°-4° มีความสว่างน้อย จึงต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ในการสังเกต

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

พฤศจิกายน 2568

ดาวพุธ อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตกในกลุ่มดาวแมงป่องต่อเนื่องมาจากเดือนตุลาคม อาจสังเกตได้ถึงประมาณวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากนั้นดาวพุธจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสังเกตได้ยาก ช่วงวันที่ 1-12 พฤศจิกายน ดาวพุธมีความสว่างลดลงจากโชติมาตร -0.1 ไปที่ 0.9 หลังจากดาวพุธผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงในแล้ว วันท้าย ๆ ของเดือนอาจเริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในกลุ่มดาวคันชั่ง ช่วงวันที่ 27-30 พฤศจิกายน ดาวพุธมีความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร 1.1 ไปที่ 0.2
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9) อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว วันที่ พฤศจิกายน ผ่านใกล้ดาวรวงข้าวที่ระยะ 3.5° ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งในวันที่ 14 พฤศจิกายน ปลายเดือนเป็นช่วงสุดท้ายที่จะเห็นดาวศุกร์ในเวลาเช้ามืด หลังจากนั้นดาวศุกร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสังเกตได้ยาก
ดาวอังคาร (โชติมาตร 1.5 ถึง 1.3) อยู่ใกล้ขอบฟ้าในเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตกในกลุ่มดาวคันชั่ง อาจสังเกตได้ในวันแรก ๆ ของเดือน หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.3 ถึง -2.5) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ สังเกตได้ดีบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 0.8 ถึง 0.9) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.6) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ ผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในวันที่ 21 พฤศจิกายน ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงสามารถระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.7) อยู่ในกลุ่มดาวปลา ห่างดาวเสาร์ประมาณ 4° มีความสว่างน้อย จึงต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ในการสังเกต

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

ธันวาคม 2568

ดาวพุธ อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกต่อเนื่องมาจากเดือนพฤศจิกายน ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ ธันวาคม กลางเดือนผ่านกลุ่มดาวแมงป่องแล้วเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกงู เช้ามืดวันที่ 20 ธันวาคม ดาวพุธจะผ่านใกล้ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่องที่ระยะ 5.5° สังเกตได้ถึงวันสิ้นปีซึ่งเป็นวันที่ดาวพุธเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู ตลอดเดือนธันวาคมดาวพุธมีความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร 0.1 ไปที่ -0.6
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9) ไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
ดาวอังคาร (โชติมาตร 1.3 ถึง 1.1) ไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.5 ถึง -2.7) อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ สังเกตได้ดีบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 0.9 ถึง 1.0) อยู่สูงบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.6) อยู่ในกลุ่มดาววัว ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงสามารถระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.7 ถึง 7.8) อยู่ในกลุ่มดาวปลา ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ในการสังเกต

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)