ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ 25 กรกฎาคม 2567
ปีนี้มีปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ที่สามารถสังเกตได้ในประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในเช้ามืดวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 สังเกตได้ทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงก่อนเช้ามืดวันที่ 15 ตุลาคม 2567 (รอสังเกตในคืนวันที่ 14 ตุลาคม) แต่เห็นได้เฉพาะตอนบนของประเทศเท่านั้น กรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดไม่เห็นการบังครั้งที่ 2
เช้ามืดวันพฤหัสบดีที่25 กรกฎาคม 2567 เป็นข้างแรม ดวงจันทร์มีส่วนสว่างค่อนดวง เมื่อเริ่มการบัง ดวงจันทร์และดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าด้านทิศใต้ มีมุมเงยประมาณ 70° การบังเริ่มขึ้นขณะดาวเสาร์อยู่ที่ขอบด้านซ้ายมือซึ่งเป็นด้านสว่างของดวงจันทร์ (ด้านบนคือทิศเหนือ หรือทิศที่ชี้ไปยังจุดเหนือศีรษะ) ช่วงสิ้นสุดการบัง ดาวเสาร์จะโผล่ออกมาจากหลังดวงจันทร์ที่ด้านตรงข้ามซึ่งเป็นด้านมืด
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์สว่างดวงหนึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าแต่การที่ดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวงมาอยู่ใกล้ จะทำให้สังเกตได้ยาก กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จะช่วยให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น กล้องที่มีกำลังขยายสูงสามารถส่องเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ได้ ขณะเริ่มบังใช้เวลาราว 1 นาทีครึ่ง นับตั้งแต่ขอบดวงจันทร์เริ่มสัมผัสขอบด้านหนึ่งไปถึงขอบอีกด้านหนึ่งของวงแหวน ระยะเวลาดังกล่าวมีความยาวนานไม่เท่ากันสำหรับแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับแนวการเคลื่อนที่ของดาวเสาร์ที่สัมพัทธ์กับดวงจันทร์
ขณะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์มีส่วนสว่าง84% ดาวเสาร์มีขนาดปรากฏ 18.6 พิลิปดา วงแหวนมีความกว้างในแนวศูนย์สูตรประมาณ 43 พิลิปดา หากใช้จุดศูนย์กลางของดาวเสาร์เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการคำนวณ ได้ผลการคำนวณดังตารางด้านล่าง โดยขณะสิ้นสุดการบัง ดวงจันทร์จะเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และดาวเสาร์โผล่ออกมาจากหลังด้านมืดของดวงจันทร์
พื้นที่อื่นๆ ของโลก ได้แก่ บางส่วนทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา และบางส่วนของทวีปเอเชียก็สังเกตการบังครั้งนี้ได้ แต่เอเชียตะวันออกเกิดในเวลากลางวัน
ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ครั้งถัดไปที่สังเกตได้ในประเทศไทยเป็นดวงจันทร์บังดาวเสาร์อีกเช่นเดียวกันเกิดขึ้นในช่วงก่อนเช้ามืดวันที่ 15 ตุลาคม 2567 (รอสังเกตในคืนวันที่ 14 ตุลาคม) แต่เห็นได้เฉพาะตอนบนของประเทศเท่านั้น กรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดไม่เห็นการบังครั้งนี้
เช้ามืดวันพฤหัสบดีที่
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์สว่างดวงหนึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า
ขณะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์มีส่วนสว่าง
สถานที่ | เริ่มบัง | มุมเงย | สิ้นสุดการบัง | มุมเงย |
---|---|---|---|---|
กรุงเทพฯ | 03:11 | 70° | 04:27 | 65° |
ขอนแก่น | 03:19 | 67° | 04:35 | 61° |
เชียงใหม่ | 03:15 | 65° | 04:34 | 61° |
นครราชสีมา | 03:16 | 69° | 04:31 | 63° |
นครศรีธรรมราช | 03:04 | 74° | 04:13 | 72° |
ประจวบคีรีขันธ์ | 03:07 | 71° | 04:22 | 68° |
ระยอง | 03:12 | 71° | 04:25 | 66° |
สงขลา | 03:05 | 75° | 04:10 | 73° |
อุบลราชธานี | 03:23 | 68° | 04:34 | 60° |
พื้นที่อื่น
ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ครั้งถัดไปที่สังเกตได้ในประเทศไทยเป็นดวงจันทร์บังดาวเสาร์อีกเช่นเดียวกัน