สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวอังคารใกล้โลก 2555

ดาวอังคารใกล้โลก 2555

27 กุมภาพันธ์ 2555
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 24 มิถุนายน 2563
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม 2555 เวลาประมาณ ทุ่ม ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเด่นอยู่ทางทิศตะวันตก แต่เมื่อกลับหลังหัน มองขึ้นไปบนท้องฟ้าทิศตะวันออก จะเห็นดาวสว่างอีกดวงหนึ่ง ส่องแสงเป็นสีส้มอมชมพู มันค่อย ๆ เคลื่อนสูงไปอยู่เหนือศีรษะในเวลาเที่ยงคืนถึงตี และคล้อยต่ำลงไปทางทิศตะวันตกในเวลาเช้ามืด ดาวดวงนี้คือดาวอังคาร ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ในลำดับถัดไปจากโลก ตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์

ขณะนี้ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต มีดาวหัวใจสิงห์หรือดาวเรกูลัส (Regulus) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด ดาวอังคารอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกของดาวหัวใจสิงห์ โดยอยู่ต่ำกว่าดาวหัวใจสิงห์ขณะขึ้นเหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และอยู่สูงกว่าเมื่อย้ายไปอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาเช้ามืด

สาเหตุที่ทำให้ดาวอังคารสว่างและเห็นได้ตลอดทั้งคืนในช่วงนี้ คือการที่ดาวอังคารกำลังจะทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่าอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อสังเกตจากโลก และใกล้กับช่วงเวลาที่ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในรอบ ปี

ภาพถ่ายดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ถ่ายขณะใกล้โลกเมื่อ พ.ศ. 2538-2548 (ค.ศ. 1995-2005) เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของขนาดและการเปลี่ยนแปลงของขั้วน้ำแข็งบนพื้นผิว ดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 2540 (ภาพ NASA/ESA/Hubble Heritage Team) 

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่ปกติไม่ค่อยสว่างนักเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าอีก ดวง เป็นเพราะส่วนใหญ่ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลก ประกอบกับพื้นผิวสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ไม่ดีนัก ประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงน้อยกว่าของดาวศุกร์หลายเท่า หากสมมุติให้ดาวเคราะห์ทุกดวงอยู่ห่างโลกเท่า ๆ กันในขณะสว่างเต็มดวง ดาวอังคารจัดว่าสว่างน้อยที่สุดเป็นอันดับ รองจากดาวพุธ

ดาวอังคารมีลักษณะปรากฏเมื่อดูด้วยตาเปล่าแตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ตรงที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีสีส้มอมชมพู อันเป็นที่มาของฉายา “ดาวเคราะห์สีแดง” หรือ “ดาวแดง” ไม่กะพริบแสงหรือกะพริบน้อย ๆ ช่วงนี้หากดูด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นผืนน้ำแข็งสีขาวปกคลุมบริเวณขั้วเหนือของดาวอังคาร โฟบอสและดีมอสเป็นดวงจันทร์บริวารขนาดเล็ก ดวงของดาวอังคาร ค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1877 สังเกตได้ยาก เนื่องจากจางมาก และถูกแสงของดาวอังคารกลบ

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งอาจไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 

บรรยากาศอันเบาบางทำให้มองเห็นพื้นผิวของดาวอังคารได้ ร่องรอยที่ปรากฏบนพื้นผิวช่วยให้นักดาราศาสตร์ในอดีตสามารถทำแผนที่อย่างหยาบ ๆ และวัดคาบการหมุนรอบตัวเองของดาวอังคารได้ ดาวอังคารหมุนรอบตัวเองด้วยคาบ 24 ชั่วโมง 39 นาที เกือบใกล้เคียงกับโลก แกนหมุนก็เอียงทำมุมในปริมาณใกล้เคียงกันด้วยที่ 25.2°

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวอังคารด้วยกล้องโทรทรรศน์ได้ดีที่สุดคือช่วงที่ดาวอังคารอยู่บริเวณจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งก็คือจังหวะที่โลกเคลื่อนมาอยู่ในแนวระหว่างเส้นที่ลากเชื่อมดวงอาทิตย์กับดาวอังคาร ดาวอังคารผ่านตำแหน่งดังกล่าวเฉลี่ยทุก ๆ 780 วัน หรือประมาณ ปี เดือน แต่การที่วงโคจรของดาวอังคารรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ทำให้การเข้าใกล้กันในแต่ละครั้ง ดาวอังคารมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน

หากช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่บริเวณจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะมีขนาดใหญ่และสว่างกว่าช่วงที่อยู่บริเวณจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด กรณีแรกเกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2546 เป็นช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกมากจนสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี ครั้งถัดไปที่จะเกิดเหตุการณ์คล้ายกันนี้คือในปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561

ส่วนกรณีที่ กำลังจะเกิดขึ้น ดาวอังคารผ่านจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในวงโคจรของมันเองเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การเข้าใกล้โลกในปีนี้จึงเป็นจังหวะที่ดาวอังคารอยู่ไกลจากโลกจนมีขนาดเล็กกว่าเมื่อปี 2546 เกือบครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มันก็ยังคงสว่างใกล้เคียงหรือเกือบเทียบได้กับดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าเวลากลางคืนอย่างดาวซิริอัสในกลุ่มดาวหมาใหญ่

คืนวันที่ ถึงเช้าวันที่ มีนาคม 2555 เป็นคืนที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จากนั้น คืนวันที่ ถึงเช้าวันที่ มีนาคม 2555 ดาวอังคารจะใกล้โลกที่สุด สาเหตุที่สองเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เป็นเพราะวงโคจรที่ไม่เป็นวงกลมของทั้งโลกและดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม การสังเกตในช่วง 2-3 วันดังกล่าว อาจไม่เห็นความแตกต่างในแง่ของขนาด

หลังจากผ่านช่วงนี้ไปแล้ว ดาวอังคารจะมีความสว่างลดลงเรื่อย ๆ เคลื่อนสูงขึ้นเมื่อเทียบตำแหน่งในเวลาหัวค่ำของทุกวัน จากนั้นอยู่เหนือศีรษะในเวลาหัวค่ำของเดือนมิถุนายน แล้วย้ายไปอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในช่วงที่เหลือของปี พร้อมกับเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกของตำแหน่งปัจจุบัน โดยในกลางเดือนสิงหาคม 2555 ดาวอังคารจะปรากฏอยู่ระหว่างดาวเสาร์กับดาวรวงข้าว ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สว่างในกลุ่มดาวหญิงสาว

ดูเพิ่ม


     ดาวเคราะห์เดือนนี้
     ดาวเคราะห์ในปี 2555
     ดาวอังคารใกล้โลก 2546
     ระวัง! ข่าวลือเรื่องดาวอังคาร