เมื่อดาวเคราะห์มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน
เนื่องจากมีบทความและหนังสือหลายเล่มได้เขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแก่โลก ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 ซึ่งอ้างว่า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน
บทความและหนังสือดังกล่าวแจ้งว่าจะเกิดเหตุร้ายต่างๆนานา อย่างรุนแรงถึงโลกระเบิด ซึ่งถ้าโลกระเบิดจริงก็นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ทุกคนจะต้องเป็นห่วง
ในฐานะที่เป็นนักดาราศาสตร์เราควรพิจารณาเรื่องนี้ภายใต้หัวข้อที่ว่า
●ดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มาเรียงกันอยู่ในแนวเดียวกันจริงหรือไม่ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 ?
●ดาวเคราะห์มีโอกาสมาอยู่ตรงกันได้มากเพียงใด?
●จะเกิดอะไรขึ้นแก่โลกเมื่อดาวเคราะห์มาเรียงกัน?
1.
ถ้าพิจารณาทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์และทางโคจรของดวงจันทร์รอบโลก จะพบว่าระนาบทางโคจรทั้งหลายเช่นของดาวอังคารรอบดวงอาทิตย์ ฯลฯ ไม่ทับกันเลย เมื่อเทียบกับระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ของดวงจันทร์ทำมุม 5° 8′ กับระนาบนี้ ในขณะที่ของดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ เอียงทำมุมกับของโลก 7°, 3.4°, 1.85°, 1.3° และ 2.5° ตามลำดับ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ จะมาเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์จะอยู่ไปทางเดียวกันโดยอยู่สูงหรือต่ำกว่าเส้นตรงที่ต่อระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก และเป็นไปได้ที่ดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งจะมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับโลกและดวงอาทิตย์ เช่นกรณีที่ดวงจันทร์อยู่บนเส้นตรงที่ต่อระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ โดยดวงจันทร์อยู่กลางทำให้เกิดสุริยุปราคา หรือโลกอยู่กลางทำให้เกิดจันทรุปราคา
ในกรณีที่ดาวพุธหรือดาวศุกร์อยู่บนเส้นตรงที่ต่อระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก โดยดาวพุธหรือดาวศุกร์อยู่กลาง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ หรือดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสุริยุปราคาจันทรุปราคา ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ หรือดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อใด นอกจากนี้ยังคำนวณได้เช่นเดียวกันว่า ดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์แต่ละคู่จะอยู่ตรงกันเมื่อใด ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์และดาวเคราะห์ต่างมีคาบการเคลื่อนที่อันแน่นอน เช่น ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบ เทียบกับดาวฤกษ์เป็นเวลา 1 ปี ในขณะที่ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ใช้เวลา 88 วัน 225 วัน 1.88 ปี 11.86 ปี และ 29.456 ปี ตามลำดับ
ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออกรอบละ1 เดือน ทำให้ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวเคราะห์แต่ละดวงเดือนละครั้ง เกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนบ่อย ๆ และบางครั้งดวงจันทร์อยู่บนเส้นตรงที่ต่อระหว่างโลกกับดาวเคราะห์โดยดวงจันทร์อยู่กลาง ในกรณีเช่นนี้จะเกิดปรากฏการณ์ ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์ทั้ง5 ดวง เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ละดวงปรากฏสว่างสุกใส โดยเฉพาะดาวศุกร์สว่างที่สุด สว่างรองลงไปคือดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร (เมื่ออยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบ 15-17 ปี จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) ดาวเสาร์ ดาวพุธ ดาวเหล่านี้ปรากฏสว่างกว่าดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวจักรราศีเป็นอันมาก หากอยู่ที่ใดก็จะเด่น สะดุดตาและหากอยู่ใกล้กันหลาย ๆ ดวงก็ยิ่งแปลกเด่นเป็นพิเศษ เช่น ดาวศุกร์อยู่ใกล้ ๆ ดาวพฤหัสบดี หรือดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวง ปรากฏอยู่ใกล้ ๆ กันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เกิดบ่อยจึงทำให้เกิดความตื่นเต้นประทับใจได้
โอกาสที่ดาวเคราะห์2 ดวงจะอยู่ใกล้กันหรืออยู่ไปทางเดียวกันมีมากกว่าหลายดวงอยู่ใกล้กันหรืออยู่ไปทางเดียวกัน เช่นดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์ประมาณปีละครั้ง ทั้งนี้เพราะดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ครบ 12 กลุ่มในเวลาประมาณ 1 ปี แต่ดาวอังคารจะไปอยู่ตรงกับดาวพฤหัสบดี หรือดาวพฤหัสบดีจะไปอยู่ตรงกับดาวเสาร์เมื่อใดนั้น คำนวณได้และเป็นได้ได้ง่ายกว่าที่ 3 ดวงจะอยู่ตรงกัน
วิธีคำนวณว่าดาวเสาร์กับดาวพฤหัสบดีจะมาอยู่ตรงกันบ่อยเพียงใดอาจทำได้ดังนี้
สมมติว่าเริ่มต้นจากตำแหน่งที่เห็นดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีมาก เพราะดาวเคราะห์อยู่ใกล้โลกที่สุด ดังนั้นจึงปรากฏสว่างที่สุดทั้ง 2 ดวงด้วย นอกจากนี้ยังจะเห็นได้ตลอดคืน เพราะเวลาหัวค่ำจะขึ้นทางตะวันออก และเวลาจวนสว่างจะอยู่ทางตะวันตก ดาวพฤหัสบดีจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ทุก ๆ 398.9 วัน ส่วนดาวเสาร์จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ทุก ๆ 378.1 วัน
เราทราบว่าดาวพฤหัสบดีเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ได้ 1 รอบ หรือ 360° ในเวลา 11.862 ปี ดังนั้นในเวลา 1 ปี ดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนห่างจากดวงอาทิตย์ได้ 360°/11.862 และดาวเสาร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ได้ 360° ในเวลา 29.456 ปี ดังนั้นในเวลา 1 ปี ดาวเสาร์จะเคลื่อนห่างจากดวงอาทิตย์ได้ 360°/29.456
ถ้าหากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์อยู่ห่างกัน360° ก็หมายความว่า ดาวทั้งคู่มาอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อีกครั้งหนึ่ง จากตัวเลขข้างบนเราจะได้ว่า ในเวลา 1 ปี ดาวพฤหัสบดีเดินนำหน้าดาวเสาร์
(360°/11.862)– (360°/29.456)
หรือ360 (29.456 – 11.862) / (11.862 × 29.456) องศา
หรือ(360 × 17.594) / (11.862 × 29.456)
ดังนั้นดาวพฤหัสบดีนำหน้าดาวเสาร์ 360° ในเวลา
(360× 11.862 × 29.456) / (360 × 17.594) ปี
หรือ19.859 ปี
หรือประมาณ20 ปี
นั่นคือดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์จะมาอยู่ตรงกันหรืออยู่ไปทางเดียวกันทุก ๆ 19.859 ปี หรือทุก ๆ เกือบ 20 ปี เนื่องจากดาวพฤหัสบดีเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละเกือบ 12 ปี จึงผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ปีละ 1 กลุ่ม ในขณะที่ดาวเสาร์ใช้เวลาเกือบ 30 ปี เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ 1
บทความและหนังสือดังกล่าวแจ้งว่าจะเกิดเหตุร้ายต่างๆ
ในฐานะที่เป็นนักดาราศาสตร์
●
●
●
1. ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ เรียงตัวอย่างไร?
ถ้าพิจารณาทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์และทางโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ในกรณีที่ดาวพุธหรือดาวศุกร์
นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสุริยุปราคา
ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออกรอบละ
ดาวเคราะห์ทั้ง
โอกาสที่ดาวเคราะห์
วิธีคำนวณว่าดาวเสาร์กับดาวพฤหัสบดีจะมาอยู่ตรงกันบ่อยเพียงใด
สมมติว่าเริ่มต้นจากตำแหน่งที่เห็นดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
เราทราบว่า
ถ้าหากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์อยู่ห่างกัน
(360°/11.862)
หรือ
หรือ
ดังนั้น
(360
หรือ
หรือประมาณ
นั่นคือ