สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แผนการสำรวจใหม่ของแคสซีนี

แผนการสำรวจใหม่ของแคสซีนี

16 ก.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อปีที่แล้ว วิศวกรของโครงการแคสซีนีได้พบความผิดปรกติกับหัววัดไฮเกนส์ที่อยู่บนยานแคสซีนี ปัญหาที่พบคือเมื่อหัววัดไฮเกนส์ถูกปล่อยให้พุ่งลงไปในบรรยากาศของไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ สัญญาณจากไฮเกนส์ที่ส่งกลับมายังแคสซีนีจะเปลี่ยนไปเนื่องจากการเลื่อนดอปเพลอร์ แต่ความกว้างของช่องสัญญาณของเครื่องรับบนแคสซีนีไม่สามารถชดเชยผลของการเลื่อนดอปเพลอร์ได้ ทำให้รับข้อมูลได้ไม่ทั้งหมด เนื่องจากยานได้ออกเดินทางไปแล้วตั้งแต่ปี 2540 การซ่อมแซมด้านฮาร์ดแวร์จึงทำไม่ได้

หลังจากที่ได้ศึกษาปัญหามาเป็นเวลากว่า เดือน หัวหน้าโครงการจากนาซาและอีซา ได้เปิดเผยแนวทางการแก้ปัญหาของไฮเกนส์เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตามแผนใหม่นี้แคสซีนีจะเคลื่อนผ่านไททันที่ระยะห่างกว่าแผนเดิมมาก จากเดิมที่วางไว้ 1,200 กิโลเมตรเปลี่ยนเป็น 65,000 กิโลเมตรและจะรักษาระยะห่างนี้ไว้เพื่อลดผลของดอปเพลอร์ ส่วนการเข้าเฉียดไททันจากเดิม ครั้งก็เปลี่ยนเป็น ครั้ง และกำหนดวันที่ปล่อยหัววัดไฮเกนส์ก็เปลี่ยนเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 2547 ล่าช้ากว่าเดิมถึง สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม วันที่ยานจะไปถึงดาวเสาร์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือ กรกฎาคม 2547 

วิศวกรของโครงการคาดว่าแผนใหม่นี้จะชดเชยผลจากความบกพร่องของไฮเกนส์ได้เกือบทั้งหมด

ยานแคสซีนี จะโคจรผ่านไททันที่ระยะห่างกว่าเดิมถึง 5 เท่า เพื่อลดผลจากความบกพร่องของหัววัดไฮเกนส์

ยานแคสซีนี จะโคจรผ่านไททันที่ระยะห่างกว่าเดิมถึง 5 เท่า เพื่อลดผลจากความบกพร่องของหัววัดไฮเกนส์

ที่มา: