สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดีปอิมแพกต์ภาคพิสดาร

ดีปอิมแพกต์ภาคพิสดาร

22 ก.พ. 2551
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ยานดีปอิมแพกต์ของนาซา ได้เริ่มปฏิบัติภารกิจใหม่แล้ว คราวนี้ไม่ได้ไปชนดาวที่ไหน แต่เป็นการสำรวจดาวเคราะห์แทน

เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2548 ยานดีปอิมแพกต์ได้สร้างบันทึกประวัติศาสตร์ของการสำรวจอวกาศหน้าใหม่ว่าเป็นยานลำแรกที่ปล่อยวัตถุพุ่งชนดาวหางได้เป็นผลสำเร็จ ดาวหางที่เป็นเป้าหมายในครั้งนั้นคือดาวหางเทมเพิล หลังจากปฏิบัติการในครั้งนั้นแล้วยานยังคงใช้การได้ดีอยู่ ทางองค์การนาซาจึงยืดอายุภารกิจออกไปอีกโดยเพิ่มเป้าหมายใหม่ นั่นคือให้ไปพุ่งเฉียดดาวหางฮาร์ตเลย์ 2

ยานมีกำหนดจะไปถึงดาวหางฮาร์ตเลย์ ในวันที่ 11 ตุลาคม 2553 หรืออีกเกือบสามปี ช่วงเวลาระหว่างการเดินทางนี้ยานมีเวลามากพอที่จะทำอย่างอื่น ในระหว่างนี้ยานได้สำรวจดาวฤกษ์ ดวงที่อยู่ไม่ไกลจากดวงอาทิตย์มากนัก และเป็นดวงที่รู้ก่อนหน้านี้ว่ามีดาวเคราะห์ยักษ์แก๊สแบบดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารและมีวงโคจรผ่านหน้าดาวแม่ ภารกิจภาคพิสดารนี้มีชื่อว่า อีพอกซี (EPOXI) ได้เริ่มต้นดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา

นักดาราศาสตร์สงสัยว่าดาวเคราะห์พวกนี้อาจไม่ได้เป็นเพียงดาวเคราะห์บริวารเพียงดวงเดียวของระบบ อาจเป็นไปได้ว่ามีดาวเคราะห์ดวงอื่นอยู่ที่อาจมีวงโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ด้วย ซึ่งน่าจะตรวจพบได้โดยกล้องของดีปอิมแพกต์ เพราะเมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวแม่ จะบังแสงดาวไปส่วนหนึ่ง

แม้หากดาวเคราะห์ที่กำลังค้นหามีวงโคจรที่ไม่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ยานดีปอิมแพกต์ก็ยังตรวจจับได้โดยการวัดความเร็วที่เปลี่ยนแปลงของดวงที่ผ่านหน้าอันเนื่องจากแรงดึงดูดรบกวนจากดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็น

“เป้าหมายของเราคือดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กเท่าโลกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ใกล้ ๆ” เดรก เดมมิง รองหัวหน้าผู้สอบสวนของภารกิจอีพอกซีกล่าว

นอกจากนี้ดีปอิมแพกต์ยังจะหันกล้องกลับมาส่องดูโลกในย่านรังสีอินฟราเรดและแสงที่ตามองเห็นด้วย เพื่อเอาไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นที่จะพบในอนาคตว่าเหมือนหรือต่างจากโลกเราอย่างไร

ปัจจุบันมีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่พบแล้วกว่า 200 ดวง ส่วนใหญ่เป็นการค้นพบทางอ้อมโดยตีความจากการส่ายของดาวฤกษ์แม่ที่เกิดจากแรงดึงดูดรบกวนของดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็น
ยานดีปอิมแพกต์ ขณะปล่อยตุ้มน้ำหนักเข้าไปพุ่งชนดาวหางเทมเพิล 1 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ยานจะสำรวจดาวหางอีกดวงหนึ่งในปี 2553 แต่เป็นการสำรวจแบบพุ่งเฉียดแทน

ยานดีปอิมแพกต์ ขณะปล่อยตุ้มน้ำหนักเข้าไปพุ่งชนดาวหางเทมเพิล 1 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ยานจะสำรวจดาวหางอีกดวงหนึ่งในปี 2553 แต่เป็นการสำรวจแบบพุ่งเฉียดแทน

ที่มา: