สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวแคระน้ำตาลคู่

ดาวแคระน้ำตาลคู่

22 ต.ค. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์เยอรมันคณะหนึ่งได้ค้นพบดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งรอบดาวเอปไซลอนอินเดียนแดง (Epsilon Indi) มีชื่อว่า ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงบี และได้ตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อทราบว่าดาวดวงนั้นเป็นดาวแคระน้ำตาลที่อยู่ใกล้โลกที่สุดเท่าที่เคยพบมา

แต่ในขณะนั้นเขายังไม่ทราบว่า แท้จริงดาวแคระน้ำตาลดวงนี้มีความลับที่น่าตื่นเต้นมากกว่านั้นอีก

เมื่อเร็ว ๆ นี้นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลับบริติชโคลัมเบียได้พบว่าดาวแคระน้ำตาลของระบบดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงยังมีดาวแคระน้ำตาลอยู่ใกล้ ๆอีกดวงหนึ่ง 

  

ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดง อยู่ในกลุ่มดาวอินเดียนแดง ใกล้ขั้วฟ้าใต้ 

การค้นพบนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมในขณะกำลังค้นหาดาวเคราะห์รอบดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงด้วยกล้องเจมิไนใต้ขนาด เมตรที่ตั้งอยู่ในชิลี เขาได้พบว่า ณ ตำแหน่งที่ควรจะมีเอปไซลอนอินเดียนแดงบีอยู่ดวงหนึ่ง กลับเป็นวัตถุคู่ ในตอนแรก นักสำรวจเข้าใจผิดว่าเล็งกล้องไปผิดดวง แต่ต่อมาจึงแน่ใจว่าตำแหน่งถูกต้อง ดาวแคระน้ำตาล เอปไซลอนอินเดียนแดงบีจึงต้องมีเปลี่ยนชื่อให้จำแนกดวงย่อยออกไปได้อีกเป็น เอปไซลอนอินเดียนแดงบีเอ กับ เอปไซลอนอินเดียนแดงบีบี  

หลังจากที่มีการประกาศการค้นพบนี้ออกไปแล้ว นักดาราศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งรายงานว่าเขาได้พบวัตถุดวงที่สองนั้นเมื่อห้าวันก่อนหน้าด้วยกล้องวีแอลที

ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงอยู่ห่างออกไป 12 ปีแสง ดาวประธานเป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์แต่เย็นกว่าเล็กน้อย มีชื่อว่าเอปไซลอนอินเดียนแดงเอ ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงบีเอโคจรรอบดาวประธานด้วยรัศมีวงโคจร 1,500 หน่วยดาราศาสตร์ ส่วนวัตถุดวงใหม่ที่พบ (เอปไซลอนอินเดียนแดงบีบี) อยู่ห่างจากดาวแคระน้ำตาลดวงแรก 2.2 หน่วยดาราศาสตร์

หลังจากการค้นพบครั้งใหม่ คณะที่ใช้กล้องเจมิไนจึงได้ทราบว่า สาเหตุที่กล้องเจมิไนตรวจไม่พบดาวแคระน้ำตาลดวงที่สองในตอนแรกเนื่องจากเอปไซลอนอินเดียนแดงบีบีไม่แผ่รังสีในย่านความถี่ของมีเทนที่เจมิไนศึกษาอยู่ในขณะนั้น การดูดกลืนโดยมีเทนแสดงว่าวัตถุดวงนี้มีอุณภูมิต่ำเกินกว่าที่จะเป็นดาวฤกษ์ แต่น่าจะเป็นดาวแคระน้ำตาลหรือดาวเคราะห์มากกว่า

หลังจากที่มีการประกาศการค้นพบนี้ออกไปแล้ว นักดาราศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งรายงานว่าเขาได้พบวัตถุดวงที่สองนั้นเมื่อห้าวันก่อนหน้าด้วยกล้องวีแอลที

ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงอยู่ห่างออกไป 12 ปีแสง ดาวประธานเป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์แต่เย็นกว่าเล็กน้อย มีชื่อว่าเอปไซลอนอินเดียนแดงเอ (Epsilon Indi A) ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงบีเอโคจรรอบดาวประธานด้วยรัศมีวงโคจร 1,500 หน่วยดาราศาสตร์ ส่วนวัตถุดวงใหม่ที่พบ (เอปไซลอนอินเดียนแดงบีบี) อยู่ห่างจากดาวแคระน้ำตาลดวงแรก 2.2 หน่วยดาราศาสตร์

หลังจากการค้นพบครั้งใหม่ คณะที่ใช้กล้องเจมิไนจึงได้ทราบว่า สาเหตุที่กล้องเจมิไนตรวจไม่พบดาวแคระน้ำตาลดวงที่สองในตอนแรกเนื่องจากเอปไซลอนอินเดียนแดงบีบีไม่แผ่รังสีในย่านความถี่ของมีเทนที่เจมิไนศึกษาอยู่ในขณะนั้น การดูดกลืนโดยมีเทนแสดงว่าวัตถุดวงนี้มีอุณภูมิต่ำเกินกว่าที่จะเป็นดาวฤกษ์ แต่น่าจะเป็นดาวแคระน้ำตาลหรือดาวเคราะห์มากกว่า 

   

ดาวแคระน้ำตาลทั้งสองดวงในระบบดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงเป็นดาวแคระน้ำตาลชนิดที ซึ่งมีขนาดประมาณดาวพฤหัสบดีแต่มีมวลมากกว่าหลายเท่า นักดาราศาสตร์ประมาณว่าเอปไซลอนอินเดียนแดงบีเอมีมวลประมาณ 32 เท่าของดาวพฤหัสบดี มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 1,500 องศาเซลเซียส ส่วนเอปไซลอนอินเดียนแดงบีบีมีซึ่งมีการดูดกลืนโดยมีเทนมากกว่า ย่อมแสดงว่ามีขนาดเล็กกว่าและอุณหภูมิต่ำกว่า 

ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดง อยู่ในกลุ่มดาวอินเดียนแดง ใกล้ขั้วฟ้าใต้

ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดง อยู่ในกลุ่มดาวอินเดียนแดง ใกล้ขั้วฟ้าใต้

ดาวแคระน้ำตาลคู่ ถ่ายโดยกล้องเจมิไนใต้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2546 ภาพนี้มีความกว้าง 4x4 พิลิปดา ดาวดวงที่สว่างกว่าคือเอปไซลอนอินเดียนแดงบีเอ ดวงที่จางกว่าคือเอปไซลอนอินเดียนแดงบีบี (ภาพจาก Gemini Observatory/PHEONIX)

ดาวแคระน้ำตาลคู่ ถ่ายโดยกล้องเจมิไนใต้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2546 ภาพนี้มีความกว้าง 4x4 พิลิปดา ดาวดวงที่สว่างกว่าคือเอปไซลอนอินเดียนแดงบีเอ ดวงที่จางกว่าคือเอปไซลอนอินเดียนแดงบีบี (ภาพจาก Gemini Observatory/PHEONIX)

ที่มา: