สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พายุฝุ่นดาวบุกระบบสุริยะ

พายุฝุ่นดาวบุกระบบสุริยะ

28 ส.ค. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นับตั้งแต่ปี 2535 ยานยูลีสซีสได้สำรวจระบบสุริยะมาอย่างต่อเนื่องจากหลายมุมมอง ภารกิจหนึ่งในหลายภารกิจของยูลีสซีสคือ สำรวจกระแสของฝุ่นดาวที่พัดผ่านระบบสุริยะ ปัจจุบันดวงอาทิตย์พุ่งผ่านกลุ่มเมฆของฝุ่นดาวก้อนหนึ่งด้วยอัตราเร็ว 26 กิโลเมตรต่อวินาที ด้วยอัตราเร็วเท่านี้ ฝุ่นแต่ละเม็ดจะใช้เวลา 20 ปีในการเดินทางผ่านระบบสุริยะ จากการสำรวจด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อว่าดัสต์ของยานพบว่าสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์มีผลต่อกระแสของฝุ่นดาวอย่างมาก

ในช่วงทศวรรษ 1990 สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์แผ่ออกไปไกลจากระบบสุริยะ ช่วยป้องกันฝุ่นดาวส่วนใหญ่ไม่ให้เข้ามายังระบบสุริยะส่วนในได้ จากข้อมูลล่าสุดจากยานยูลีสซีสที่สำรวจมาจนถึงปี 2545 แสดงว่าในช่วงกัมมันต์สูงสุดของดวงอาทิตย์ที่ผ่านมาสนามแม่เหล็กได้อ่อนกำลังลง ทำให้มีฝุ่นดาวแพร่เข้ามายังระบบสุริยะมากขึ้นกว่าปกติถึงสามเท่า

สาเหตุที่สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์อ่อนกำลังลงเนื่องจากในช่วงกัมมันต์สูงสุดสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เกิดความปั่นป่วนและไร้ระเบียบอย่างมากอีกทั้งยังมีการสลับขั้วอีกด้วย จึงเปิดช่องทางให้ฝุ่นดาวจากนอกเขตระบบสุริยะแทรกซึมเข้ามาได้ ต่างจากในช่วงที่กัมมันต์ต่ำซึ่งสนามแม่เหล็กจะมีรูปแบบเป็นขั้วคู่ชัดเจน จึงเป็นปราการป้องกันฝุ่นดาวที่มีประสิทธิภาพ

ฝุ่นดาวมีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งในหนึ่งร้อยของเส้นผมเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีผลโดยตรงต่อดาวเคราะห์และโลก อย่างไรก็ตาม โลกยังคงได้รับผลทางอ้อมจากปรากฏการณ์นี้ เนื่องจากฝุ่นเหล่านี้เคลื่อนที่เร็วมาก เมื่อชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางจะทำให้เกิดชิ้นส่วนแตกหลุดออกมา กลายเป็นการเพิ่มปริมาณฝุ่นในระบบสุริยะ จำนวนฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ที่จะตกลงสู่โลกจึงเพิ่มมากขึ้นด้วย จากการวัดพบว่า ในแต่ละปีมีฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อยและดาวหางตกลงสู่โลกถึง 40,000 ตัน 

ภาพตัดแสดงความหนาแน่นของเมฆฝุ่นดาวบริเวณระบบสุริยะ บริเวณสีเหลืองแทนส่วนที่แน่นที่สุด รองลงมาคือสีแดง สีเขียว ตามลำดับ ส่วนน้ำเงินแทนส่วนที่ความหนาแน่นต่ำสุด ในช่วงกัมมันต์ต่ำสุด (ภาพซ้าย) ฝุ่นระหว่างดาวพบได้บริเวณเหนือและใต้ดวงอาทิตย์ แต่ในช่วงกัมมันต์สูงสุด (ภาพขวา) ฝุ่นพบใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นในบริเวณระนาบวงโคจรดาวเคราะห์

ภาพตัดแสดงความหนาแน่นของเมฆฝุ่นดาวบริเวณระบบสุริยะ บริเวณสีเหลืองแทนส่วนที่แน่นที่สุด รองลงมาคือสีแดง สีเขียว ตามลำดับ ส่วนน้ำเงินแทนส่วนที่ความหนาแน่นต่ำสุด ในช่วงกัมมันต์ต่ำสุด (ภาพซ้าย) ฝุ่นระหว่างดาวพบได้บริเวณเหนือและใต้ดวงอาทิตย์ แต่ในช่วงกัมมันต์สูงสุด (ภาพขวา) ฝุ่นพบใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นในบริเวณระนาบวงโคจรดาวเคราะห์

<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>ดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ข้างเคียงขณะเคลื่อนที่ตัดสายธารของเมฆดาราจักร <wbr>(ภาพจาก <wbr>P. <wbr>C. <wbr>Frisch, <wbr>University <wbr>of <wbr>Chicago)<br />
<br />


ดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ข้างเคียงขณะเคลื่อนที่ตัดสายธารของเมฆดาราจักร (ภาพจาก P. C. Frisch, University of Chicago)

ที่มา: