สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เสียงจากวอยเอเจอร์ 1

เสียงจากวอยเอเจอร์ 1

18 มิ.ย. 2567
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ยานวอยเอเจอร์ และ วอยเอเจอร์ เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์วงนอกขององค์การนาซา ยานทั้งสองออกเดินทางจากโลกในปี 2520 นับเป็นภารกิจที่ประสบความสำเร็จสูงมาก วอยเอเจอร์ ได้สำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ส่วนวอยเอเจอร์ สำรวจดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ยานสองลำนี้ทำให้ชาวโลกได้เห็นว่าดาวเคราะห์วงนอกของระบบสุริยะมีลักษณะเป็นอย่างไร ภาพดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ที่มีการเผยแพร่กันเกือบทุกภาพในโลก ล้วนมากจากยานวอยเอเจอร์ 

หลังจากยานได้ผ่านพ้นวงโคจรของดาวเคราะห์วงนอกไปแล้ว ก็มุ่งหน้าต่อไปจนเดินทางออกนอกเขตระบบสุริยะ

จนถึงขณะนี้ ยานวอยเอเจอร์ปฏิบัติหน้าที่มาเป็นเวลาถึง 47 ปี แม้จะยังส่งสัญญาณกลับมายังโลกอยู่ แต่ก็เริ่มแสดงอาการชราภาพออกมาให้เห็น โดยเฉพาะช่วงหลายปีที่ผ่านมาต้องประสบปัญหาขัดข้องประปราย และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 สัญญาณจากยานวอยเอเจอร์ที่ส่งกลับมายังโลกกลายเป็นคลื่นมั่วซั่วยุ่งเหยิงไม่มีข้อมูลใด ๆ 


ปัญหาที่เกิดขึ้นดูเหมือนเกิดจากชิปความจำบนยานเสียไป ซึ่งอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานมานาน หรืออาจเกิดจากการถูกอนุภาคพลังงานสูงในพุ่งชน ทางเจ้าหน้าที่จึงต้องพยายามส่งคำสั่งไปยังยานเพื่อกู้สถานการณ์กลับมาให้เป็นปกติ

ความพยายามเริ่มเกิดผลเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ทางนาซาก็เริ่มได้รับสัญญาณที่แปลความได้จากวอยเอเจอร์  และพบว่าอุปกรณ์สองชิ้นกลับมาทำงานได้แล้ว และล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ศูนย์ควบคุมภารกิจก็ได้รับสัญญาณว่าอุปกรณ์หลักทั้งสี่ชิ้นซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาคลื่นพลาสมา สนามแม่เหล็กและอนุภาค ยังคงอยู่ในสภาพดี

ขณะนี้ภารกิจของยานวอยเอเจอร์คือการวัดสภาพแวดล้อมของอวกาศที่อยู่นอกเขตอิทธิพลของดวงอาทิตย์ ข้อมูลจากวอยเอเจอร์มีประโยชน์อย่างมากในการทำความเข้าใจเรื่องของรูปร่างของสุริยมณฑลซึ่งเป็นฟองพลาสมาที่ห่อหุ้มระบบสุริยะไว้ทั้งหมด เป็นบริเวณที่แสดงถึงเขตอิทธิพลของลมสุริยะจากดวงอาทิตย์

ตำแหน่งในอวกาศของยานวอยเอเจอร์ และ   (จาก NASA/JPL-Caltech)


ขณะนี้ยานวอยเอเจอร์ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 24 พันล้านกิโลเมตร นับเป็นสิ่งประดิษฐ์มนุษย์ที่อยู่ห่างจากโลกมากที่สุด ด้วยระยะทางดังกล่าว สัญญาณวิทยุจากยานใช้เวลาเดินทางถึง 22.5 ชั่วโมงจึงจะเดินทางมาถึงโลก 

ด้วยความเร็วในปัจจุบัน ยานวอยเอเจอร์ จะไปถึงเมฆออร์ตในอีกสามศตวรรษข้างหน้า และจะใช้เวลาอีกเกือบสามหมื่นปีกว่าจะพ้นดงเมฆออร์ตออกไป

แผนภูมิแสดงระยะห่างระหว่างยานวอยเอเจอร์ และวอยเอเจอร์ กับดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน  (จาก NASA)


แต่อายุของยานจะไม่ยืนยาวถึงวันนั้น เพราะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังความร้อนจากไอโซโทปกัมมันตรังสีซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของยานกำลังอ่อนแรงลงทุกวัน วิศวกรคาดว่ายานวอยเอเจอร์ จะยังคงส่งสัญญาณกลับมาได้จนถึงปี 2579 หลังจากนั้นโลกจะไม่ได้ยินอะไรจากวอยเอเจอร์ อีกต่อไป