สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สถานีสังเกตการณ์จันทรา

สถานีสังเกตการณ์จันทรา

1 ม.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ยานอวกาศ AXAF (Advanced X-Ray Astrophysics Facility) ของนาซา ได้ถูกตั้งชื่อใหม่แล้วเป็น สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-Ray Observatory) เพื่อเป็นเกียรติแก่ สุบรามาเนียน จันทรเสการ์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล 

จันทรเสการ์ มีผลงานทางด้านดาราศาสตร์ทฤษฎีมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ ซึ่งสถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์ที่มีชื่อเดียวกับเขานี้จะได้สำรวจอวกาศเพื่อศึกษาในเรื่องเหล่านี้ด้วย 

จันทรเสการ์เป็นชาวอินเดียโดยกำเนิด เขาย้ายไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1930 และเริ่มทำงานให้กับมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2526 จากผลงานในทฤษฎีที่เกี่ยวกับกระบวนการทางกายภาพที่เป็นตัวควบคุมโครงสร้างและวิวัฒนาการของดวงดาว เขาทำงานให้กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาโดยตลอดจนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2538 

สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทราจะถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในวันที่ เมษายน พ.ศ. 2542 โดยกระสวยอวกาศโคลัมเบีย 

สถานีสังเกตการณ์จันทรานี้จะโคจรรอบโลกด้วยวงโคจรที่รีมากและสูงมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนจากบรรยากาศโลกและแบรังสีแวนอัลเลน เป้าหมายในการสำรวจคือ แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ หลุมดำ และซูเปอร์โนวา ภาพถ่ายจากยานนี้จะมีคมชัดมากกว่าภาพที่ได้จากยานลำอื่น ๆ ถึง 25 เท่า 



สถานีสังเกตการณ์จันทราขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกโลกตามจินตนาการของจิตรกรของนาซา

สถานีสังเกตการณ์จันทราขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกโลกตามจินตนาการของจิตรกรของนาซา

ที่มา: