สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ชาลส์ คอนราด

ชาลส์ คอนราด

1 ก.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ชาลส์ พี. "พีท" คอนราด (Charles P. "Pete" Conrad) มนุษย์คนที่สามของโลกที่ได้เหยียบดวงจันทร์ เสียชีวิตแล้วเมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่แคลิฟอร์เนีย ด้วยวัย 69 ปี 

คอนราดและแนนซี่ ภรรยา กับเพื่อนอีกจำนวนหนึ่งได้ไปเที่ยวที่แคลิฟอร์เนีย แต่รถจักรยานยนต์ของเขาได้ชนในขณะเลี้ยวรถ คอนราดถูกนำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วยอาการบาดเจ็บที่อวัยวะภายใน 

คอนราดเกิดที่ฟิลาเดลเฟียในปี 1930 วีรกรรมที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ การได้สำรวจดวงจันทร์โดยการเป็นผู้บังคับการในยานอะพอลโล 12 ซึ่งเขาและ อลัน บีน นำยานลูนาร์โมดูลลงจอดบนดวงจันทร์ที่มหาสมุทรแห่งพายุเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2512 

ภารกิจในครั้งนั้น คอนราดและบีนได้ออกสำรวจดวงจันทร์ นำเครื่องมือทดลองไปติดตั้งตามจุดต่าง ๆ เก็บตัวอย่างหินและดินน้ำหนักรวมประมาณ 34 กิโลกรัมกลับมา รวมทั้งเก็บกล้องและเครื่องมืออื่น ๆ จากยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งจอดอยู่บนดวงจันทร์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2510 ที่บริเวณใกล้ ๆ กันนั้นกลับมาอีกด้วย รวมระยะเวลาในการออกไปท่องดวงจันทร์ในครั้งนั้นเกือบ ชั่วโมง 

"พวกเราครอบครัวนาซาเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของ พีท คอนราด" แดเนียล เอส โกลดิน ผู้บริหารของนาซากล่าว "เขาเป็นที่รู้จักกันดีในความเป็นคนมีอารมณ์ขัน สนุกสนาน มีความสามารถในด้านการบินทั้งบนโลกและในอวกาศ แม้หลังจากที่เขาได้ออกจากนาซาไปแล้ว แต่เขาไม่เคยละทิ้งความสนใจในการท่องอวกาศ เราจะรำลึกถึงเขาตลอดไป" 

เขาได้รับมอบหมายให้ขึ้นไปปฏิบัติการบนยานเจมิไน ในเดือนสิงหาคม 2518 ในฐานะผู้ช่วยนักบินของกอร์ดอน คูเปอร์ ทั้งคอนราดและคูเปอร์ใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศในครั้งนั้นนาน วัน เป็นครั้งแรกที่มนุษย์อยู่ในอวกาศนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ 

คอนราดได้ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งโดยเป็นผู้บังคับการภารกิจเจมิไน 11 ในเดือนกันยายน 2510 พร้อมกับผู้ช่วยนักบิน ริชาร์ด กอร์ดอน ในครั้งนั้นเขาได้ทำสถิติในโคจรสูงที่สุดถึง 1,360 กิโลเมตรจากพื้นโลก และทำสถิติการเชื่อมต่อยานที่เร็วที่สุด 

ในเดือนพฤศจิกายน 2512 คอนราดได้เป็นผู้บังคับการยานอะพอลโล 12 โดยมีบีน และกอร์ดอนร่วมเดินทางไปดวงจันทร์ด้วย คอนราดสามารถควบคุมให้ยานลงจอดในตำแหน่งที่วางไว้อย่างแม่นยำ ในครั้งนั้นเขาได้ปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์นานถึง 31 ชั่วโมง 

การเดินทางสู่อวกาศครั้งสุดท้ายของคอนราดคือ การปฏิบัติหน้าที่บนสถานีอวกาศสกายแล็บในปี พ.ศ. 2516 เขาเป็นผู้บังคับการโดยมี พอล ไวทซ์ และ โจเซฟ เคอร์วินร่วมเดินทางไปด้วย ซึ่งเป็นชุดนักบินอวกาศชุดแรกที่ได้ทำงานบนสกายแล็บ 

หลังจากที่คอนราดออกจากนาซาและกองทัพเรือในปี 2517 เขาได้หันไปทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมโดยได้เป็นรองประธานของอเมริกันเทเลวิชันแอนด์คอมมูนิเคชันคอร์เปอเรชัน รับผิดชอบในด้านการพัฒนาระบบโทรทัศน์เคเบิล ต่อมาในปี 2519 เขาได้เป็นรองประธานของแมกโดเนลล์ ดักกลาส คอร์เปอเรชัน และได้มาดูแลเกี่ยวกับการค้าด้านการทหารทั้งหมด ของบริษัทดักกลาสแอร์คราฟต์ ด้วยความที่มีความคิดทางด้านการทำธุรกิจด้านอวกาศและการสำรวจดาวอังคาร คอนราดจึงได้ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนายานอวกาศ และระบบขนส่งอวกาศให้กับแมกโดเนลล์ดักกลาส และองค์กรวิจัยยูนิเวอร์แซลสเปซไลน์ 

คอนราดเคยได้รับรางวัลมากมายเช่น เหรียญเชิดชูเกียรติด้านอวกาศจากสภาคองเกรส เหรียญปฏิบัติงานพิเศษจากนาซาสองเหรียญ กางเขนนักบินดีเด่นและเหรียญปฏิบัติการดีเด่นจากกองทัพเรืออีกสองเหรียญ เขาได้ถูกจารึกชื่อไว้ในหอแห่งเกียรติยศในปี 2523 

พิธีฝังศพของคอนราดจะมีขึ้นที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตันในวันที่ 19 กรกฎาคม คาดว่านักบินอวกาศในโครงการอะพอลโลหลายคนจะเข้าร่วมในพิธีนี้ด้วย 

ชาลส์ คอนราด (1930-1999)

ชาลส์ คอนราด (1930-1999)

ที่มา: