นักดาราศาสตร์พบดาวแคระน้ำตาลประเภทใหม่จากการใช้กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด เป็นดาวแคระน้ำตาลที่อุณหภูมิต่ำที่สุด
กล้องไวส์เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เหมาะสำหรับสำรวจดาวแคระน้ำตาลมากดาวแคระน้ำตาลพวกนี้เมื่อมองในย่านความถี่อินฟราเรดไกลด้วยไวส์ จะสว่างกว่าที่สำรวจจากบนโลกถึง 5,000 เท่า
ดาวแคระน้ำตาลเป็นวัตถุคล้ายดาวฤกษ์แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ เพราะมีมวลไม่มากพอที่จะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ให้เกิดอย่างต่อเนื่องได้ ดาวแคระน้ำตาลจึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าดาวฤกษ์ โดยมีดาวแคระน้ำตาลชนิดวาย เป็นดาวแคระน้ำตาลที่อุณหภูมิต่ำที่สุด
เมื่อไวส์ค้นพบวัตถุที่คาดว่าจะเป็นดาวแคระน้ำตาลแล้วคณะนักสำรวจได้เสริมกำลังด้วยกล้องโทรทรรศน์กล้องอื่นสำรวจต่อเพื่อยืนยันและตีกรอบการค้นพบให้แคบลง เช่นกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และกล้องที่ทรงพลังที่สุดบนพื้นโลกอีกบางแห่งมาใช้ในการหาร่องรอยสเปกตรัมของ น้ำ มีเทน และอาจรวมถึงแอมโมเนีย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงอุณหภูมิของบรรยากาศบนดาวเหล่านั้น
จนถึงขณะนี้ไวส์พบดาวแคระน้ำตาลมาแล้ว 100 ดวง และเชื่อว่าจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกมากหลังจากวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลจากไวส์จนครบ
ในจำนวน100 ดวงนี้ มีดาวแคระน้ำตาลประเภทวายอยู่หกดวง หนึ่งในจำนวนนี้ คือ ไวส์ 1828+2650 (WISE 1828+2650) มีอุณหภูมิพื้นผิวเพียง 25 องศาเซลเซียสเท่านั้น จัดว่าอากาศเย็นสบายเมื่อเทียบกับบนโลกเสียด้วยซ้ำ
ดาวแคระน้ำตาลสกุลวายที่เพิ่งพบในครั้งนี้เป็นเพื่อนบ้านของระบบสุริยะทั้งสิ้นอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 40 ปีแสง ดวงที่ใกล้ที่สุดคือ ไวส์ 1541-2250 (WISE 1541-2250) อยู่ห่างเพียง 9 ปีแสง ซึ่งหากนับรวมกับดาวฤกษ์แล้ว ก็ถือว่าเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดเป็นอันดับเจ็ด เบียดเจ้าของตำแหน่งเดิมอย่างดาวรอส 154 (Ross 154) ไปเป็นอันดับแปด
นักดาราศาสตร์สำรวจดาวแคระน้ำตาลเพื่อศึกษาว่าดาวฤกษ์กำเนิดขึ้นมาได้อย่างไรและเพื่อศึกษาว่าบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นจะเป็นอย่างไร บรรยากาศของดาวแคระน้ำตาลมีความคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์แก๊สอย่างดาวพฤหัสบดี แต่การศึกษาดาวแคระน้ำตาลจะง่ายกว่าเพราะดาวพวกนี้อยู่อย่างโดดเดี่ยวในอวกาศ ไม่มีแสงจากดาวฤกษ์แม่มารบกวน
กล้องไวส์เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เหมาะสำหรับสำรวจดาวแคระน้ำตาลมาก
ดาวแคระน้ำตาลเป็นวัตถุคล้ายดาวฤกษ์
เมื่อไวส์ค้นพบวัตถุที่คาดว่าจะเป็นดาวแคระน้ำตาลแล้ว
จนถึงขณะนี้
ในจำนวน
ดาวแคระน้ำตาลสกุลวายที่เพิ่งพบในครั้งนี้เป็นเพื่อนบ้านของระบบสุริยะทั้งสิ้น
นักดาราศาสตร์สำรวจดาวแคระน้ำตาลเพื่อศึกษาว่าดาวฤกษ์กำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร