สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ซูเปอร์สตาร์ดวงใหม่

ซูเปอร์สตาร์ดวงใหม่

28 ก.ค. 2553
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดและหนักที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก มันหนักกว่าดวงอาทิตย์ถึง 300 เท่า และสว่างกว่าดวงอาทิตย์ถึง 10 ล้านเท่า
ในบรรดาดาวฤกษ์นับล้านที่อยู่บนท้องฟ้า มีมวลมากน้อยต่างกัน บางดวงอาจมีมวลเพียงเสี้ยวของดวงอาทิตย์ แต่บางดวงอาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่า นักดาราศาสตร์ระบุขีดจำกัดล่างของมวลดาวฤกษ์ได้ค่อนข้างชัดเจนว่าอยู่ที่ประมาณ 0.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ แต่ขีดจำกัดสูงสุดของมวลดาวฤกษ์ยังเป็นตัวเลขที่คลุมเครือ เหตุหนึ่งเพราะดาวฤกษ์มวลสูงมาก ๆ มีจำนวนน้อย เดิมทีนักดาราศาสตร์คะเนคร่าว ๆ ว่าดาวฤกษ์มีมวลสูงสุดได้ราว 150 เท่าของดวงอาทิตย์
คณะนักดาราศาสตร์ที่นำโดย พอล ครอวเทอร์ จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ในอังกฤษ ได้ค้นพบดาวดวงนี้ในขณะที่กำลังศึกษากระจุกดาวฤกษ์กระจุกหนึ่ง ดาวดวงนี้มีชื่อว่า อาร์เอ็มซี 136 เอ (RMC 136a) หรือ อาร์ 136 เอ (R 136a) อยู่ในเนบิวลาบึ้ง (Tarantula Nebula) ดาราจักรเมฆมาเจลันใหญ่ และวัดมวลของดาวดวงนี้ได้ว่ามีมวลถึง 265 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ปกติจะมีมวลลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นเมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณย้อนหลังเพื่อหามวลแรกเกิดของมัน ก็พบว่ามีมวลมากถึง 320 เท่าของดวงอาทิตย์
ดาวอาร์เอ็มซี 136 เอ ไม่เพียงแต่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เท่านั้น แต่ยังมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึงกว่า 40,000 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิว 6,000 องศาเซลเซียส และยังมีความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์หลายล้านเท่าอีกด้วย
หากเอาดาวดวงนี้มาวางที่ตำแหน่งแทนดวงอาทิตย์ แน่นอนว่าไม่เพียงแต่คนบนโลกจะอยู่ไม่ได้ แต่โลกทั้งใบจะต้องถูกเผาเกรียมไปด้วย
นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบไม่แน่ใจนักว่า ดาวดวงนี้มีต้นกำเนิดและมีขนาดใหญ่โตอย่างนี้ได้อย่างไร มันอาจจะเป็นดาวยักษ์มาตั้งแต่แรก หรืออาจเกิดจากดาวมากกว่าหนึ่งดวงมาหลอมรวมกันจนเป็นดาวยักษ์ก็เป็นได้
หากนึกถึงวาระสุดท้ายของดาวดวงนี้แล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังนึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร โดยปกติ ดาวฤกษ์ที่มีมวล ถึง 150 เท่าของดวงอาทิตย์ใช้พลังงานไปจนหมด จะระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา แล้วกลายเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน แต่สำหรับดาวที่มีมวลสูงกว่านั้นมากอย่างอาร์ 136 เอ จะมีจุดจบอย่างไร ก็ยากจะจินตนาการ
ทฤษฎีที่ยอมรับโดยทั่วไปในปัจจุบันกล่าวว่า เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 150 เท่าของดวงอาทิตย์ใช้พลังงานไปจนหมด จะระเบิดออกอย่างรุนแรงยิ่งกว่าจนไม่เหลือซาก ไม่เหลือแม้แต่หลุมดำหรือดาวนิวตรอน
ภาพแสดงสัดส่วนเปรียบเทียบขนาดระหว่างดาว <wbr>อาร์ <wbr>136 <wbr>เอ <wbr>1 <wbr>(R <wbr>136 <wbr>A1) <wbr>(น้ำเงินเข้ม) <wbr>กับดาวแบบดวงอาทิตย์ <wbr>(เหลือง) <wbr>และดาวที่ใหญ่ที่สุดที่รู้จักก่อนหน้าที่จะค้นพบ <wbr>อาร์ <wbr>136 <wbr>เอ <wbr>1 <wbr>(ฟ้า)<br />

ภาพแสดงสัดส่วนเปรียบเทียบขนาดระหว่างดาว อาร์ 136 เอ (R 136 A1) (น้ำเงินเข้ม) กับดาวแบบดวงอาทิตย์ (เหลือง) และดาวที่ใหญ่ที่สุดที่รู้จักก่อนหน้าที่จะค้นพบ อาร์ 136 เอ (ฟ้า)
(จาก ESO/M. Kornmesser)

กระจุกดาว อาร์ 136 ในเนบิวลาบึ้ง (Tarantula Nebula) อยู่ในดาราจักรเมฆมาเจลันใหญ่ (LMC)

กระจุกดาว อาร์ 136 ในเนบิวลาบึ้ง (Tarantula Nebula) อยู่ในดาราจักรเมฆมาเจลันใหญ่ (LMC)

ที่มา: