สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พระมหากษัตริย์ไทยกับดาราศาสตร์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ปรับปรุงครั้งล่าสุด 7 ธันวาคม 2559


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางรากฐานวิชาดาราศาสตร์ด้วยการนำพระราชโอรส พระราชธิดา และข้าราชบริพาร ตามเสด็จไปหว้ากอในครั้งนั้น ปีต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ เมษายน พ.ศ.2418 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระวโรกาส ให้คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษเข้าเฝ้าและพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ให้ทางราชการช่วยเหลือเป็นอย่างดี คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษตั้งสังเกตสุริยุปราคาเต็มคราสที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี ครั้งนั้น เซอร์แฮรี่ ออด และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ไปดูสุริยุปราคาด้วย สุริยุปราคาครั้งนั้นไม่มืดเท่ากับสุริยุปราคา 2411 แต่คอโรนาสว่างได้ดีกว่า สว่างเท่ากับแสงจันทร์วันเพ็ญ น้อยคนเห็นแสงเปลวพุ่งและคอโรนาอยู่ล้อมรอบดวงจันทร์เป็นรูปสม่ำเสมอดี น่าเสียดายที่นักดาราศาสตร์เหล่านี้ ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาเหล่านี้ได้ เว้นไว้เสียแต่ภาพวาดสุริยุปราคาเต็มดวงของ PRINCE TONG ที่ผู้รวบรวมไปพบภาพนี้เมื่อมีโอกาสไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ ปี 2537 อายุของมหาวิทยาลัยครบ 130 ปีและหอดูดาวแชมเบอร์ลินอายุครบ 100 ปี พอดีเช่นกัน

กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นตระกูล "ทองใหญ่" ท่านได้คำนวนการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ภาพวาดสุริยุปราคาเต็มดวงในสมัย ร.5 วันที่ เมษายน 2418 พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (เจ้าชายทอง) ทรงวาด 
โครงสร้างคอโรนา 2418 สมัยรัชกาลที่ 

จากการสืบค้นเอกสารประวัติศาสตร์ พอที่จะสรุปได้ว่า PRINCE TONG คือท่านทองในราว ปีเถาะ พ.ศ. 2410 มีคำกลอนสังเกตพระอัชฌาศัยเจ้านาย เมื่อยังทรงพระเยาว์ พิเคราะห์ดูเหมือนจะแต่งเมื่อปลายรัชกาลที่ เที่ยวรอบจุดโคม "ท่านทอง" พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ พระชันษา 12 ปี คือ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ต่อมา ท่านได้คำนวณการเกิดอุปราคาถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ด้วยตำราโหราศาสตร์ยุโรป เจริญรอยตามพระยุคลบาททูลกระหม่อมรัชกาลที่ เช่นเดียวกับ พระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาเทววงศ์วโรปการ ภาพสุริยุปราคาเต็มดวงในรัชสมัยรัชกาลที่ ที่ PRINCE TONG วาดนั้น จึงเป็นภาพเดียวที่มีอยู่ในตำราดาราศาสตร์ฝรั่งที่นำไปศึกษาเรื่องคอโรนาและพวยแก๊ส เอกสารสำคัญที่ผู้เขียนค้นพบในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเดนเวอร์เกี่ยวกับดวงอาทิตย์mและสุริยุปราคาร่วมสมัยกับรัชกาลที่ และรัชกาลที่ มีจำนวนมาก การคำนวณสุริยุปราคาสมัยนั้น ยังใช้ตารางตำแหน่ง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การใช้ล็อกการิทึมมีการคำนวณย้อนมาจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เฉพาะที่เห็นได้ที่อเมริกาเท่านั้น หากใครคำนวณเพื่อที่จะทราบว่าตำบลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อเมริกาแล้วจะต้องคำนวณเอง ดังเช่น การคำนวณของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม และสมเด็จกรมเจ้าพระยาเทววงศ์วโรปการ กล่าวถึงนักดาราศาสตร์ต่างชาติในสมัยนั้น ทำการสังเกตสุริยุปราคาตามเส้นทางกึ่งกลางคราส ทิ้งช่วงห่างกันตามความสะดวกและเหมาะสม จากนั้น ก็จะนำผลการสังเกตมาทำการศึกษาร่วมกัน ในบางครั้งการเตรียมการอย่างเต็มที่ก่อนปรากฏการณ์ถึงหกเดือน ด้วยอุปกรณ์หนักหลายตัน ผลที่ได้หลายครั้งประสบความสำเร็จหลายครั้งประสบความล้มเหลว เพื่อการลดอัตราเสี่ยงต่อความล้มเหลว นักดาราศาสตร์จึงกระจายตัวไปยังตำบลต่าง ๆ บางครั้งไปยังประเทศต่าง ๆ บนเส้นทางกึ่งกลางคราส ดังเช่น สุริยุปราคาเต็มดวงรัชสมัยรัชกาลที่ และรัชกาลที่ เป็นต้น เมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 คณะนักดาราศาสตร์ตั้งสถานีสังเกตสุริยุปราคาโดยเยอรมัน ที่เมืองเอเคน (ประเทศเยเมน) ดัทช์ที่ซิลิบิส และฝรั่งเศสที่หว้าโทน เป็นต้น ในการนำเสนอบทความครั้งนี้ ผู้รวบรวมได้นำ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ 18สิงหาคม พ.ศ. 2411 ในที่ต่าง ๆ หลากหลายความรู้ความสามารถ ประมวลมาเพื่อให้มองเห็นถึงการพัฒนาการทางดาราศาสตร์เมื่อ 127 ปีที่แล้ว เอกสารที่นำเสนออยู่ในชั้นเอกสารที่หาได้ยาก เพื่อบูชาครูถึงคราสครู คราสที่ปกป้องพื้นแผ่นดินไทยด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวทรงมีสัมฤทธิผลชั้นสูงสุดในสมัยนั้น คือ กระบวนการทฤษฎีและปฏิบัติทางดาราศาสตร์ เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในอารยประเทศ เพื่อให้บทความนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงขอนำคราสที่ PRINCE TONG วาด พร้อมประวัติที่นักดาราศาสตร์ต่างชาติบันทึกไว้สั้น ๆ สมัยรัชกาลที่ นำเสนอในครั้งนี้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

อารี สวัสดี (ที่ปรึกษาสมาคมดาราศาสตร์ไทย) สุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย 24 ตุลาคม 2538 ,สารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ฉบับพิเศษ 2538