สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2554

อุปราคาในปี 2554

17 มกราคม 2554
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 18 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2554 มีอุปราคาทั้งหมด ครั้ง เป็นสุริยุปราคา ครั้ง กับจันทรุปราคา ครั้ง สุริยุปราคาเกิดในวันเดือนดับ ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้เงาดวงจันทร์พาดลงมาบนผิวโลก คนที่อยู่ใต้เงาจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บัง สังเกตได้โดยดูผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อลดความสว่างของดวงอาทิตย์

จันทรุปราคาเกิดในวันเพ็ญ ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าสู่เงาโลก ทำให้เห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหรือมืดสลัวไปเนื่องจากเงาของโลกบังดวงจันทร์ สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากทุกสถานที่ที่อยู่ในด้านกลางคืนของโลกซึ่งหันเข้าหาดวงจันทร์

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ครั้งในปี 2554 เครื่องหมายดอกจันคือจุดที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังลึกที่สุด กากบาทเป็นจุดที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะในจังหวะที่เกิดสุริยุปราคาลึกที่สุด (ภาพ Fred Espenak) 

เงาที่ต้นกำเนิดแสงเป็นดวงอาทิตย์ มีอยู่ ส่วน ได้แก่ เงามืดและเงามัว ในกรณีของสุริยุปราคา คนที่อยู่ใต้เงามัวจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังบางส่วน ใต้เงามืดจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังหมดทั้งดวง ในสุริยุปราคาครั้งหนึ่ง ๆ หากมีแต่เงามัวของดวงจันทร์เท่านั้นที่สัมผัสผิวโลก จะเรียกสุริยุปราคาครั้งนั้นว่าสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งปีนี้สุริยุปราคาทั้ง ครั้ง ล้วนเป็นสุริยุปราคาบางส่วน ประเทศไทยไม่อยู่ในพื้นที่ที่เห็นสุริยุปราคาทั้ง ครั้ง

ในกรณีของจันทรุปราคา หากดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลกหมดทั้งดวง เรียกว่าจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท แต่จะกลายเป็นสีแดงอิฐ หรือสีส้ม เนื่องจากแสงอาทิตย์หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงได้ทั้ง ครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนและธันวาคม

เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นในวันใด อีก 6585.32 วัน (18 ปี กับ 10 หรือ 11 วัน) ถัดไปหรือก่อนหน้านั้น จะมีอุปราคาเกิดขึ้นด้วย เรียกคาบเวลานี้ว่าซารอส (Saros) แบ่งเป็นชุด (series) กำหนดลำดับชุดด้วยตัวเลข

1. สุริยุปราคาบางส่วน มกราคม 2554

ย่างเข้าปีใหม่ไม่ถึงสัปดาห์ก็เกิดอุปราคาครั้งแรกของปี เป็นสุริยุปราคาบางส่วนวันที่ มกราคม 2554 สุริยุปราคาเริ่มเวลา 13:40 น. เมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกที่ตอนกลางของประเทศแอลจีเรีย ตำแหน่งที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังลึกที่สุดอยู่ทางเหนือของสวีเดน ใกล้ชายฝั่งทะเลด้านที่ติดกับอ่าวบอทเนีย เกิดขึ้นเวลา 15:51 น. ด้วยความลึก 86% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ (ตรงกับเวลา 09:51 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสวีเดน) สุริยุปราคาสิ้นสุดเวลา 18:01 น. เมื่อเงามัวหลุดออกจากผิวโลกทางตะวันออกของคาซัคสถาน

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้คือส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป ตอนเหนือของแอฟริกา และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชีย สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเมื่อสังเกตจากยุโรปตะวันตก และดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากตอนกลางของรัสเซีย คาซัคสถาน และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 14 ใน 72 ครั้งของชุดซารอสที่ 151 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1776 สิ้นสุดในวันที่ ตุลาคม ค.ศ. 3056 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 18 ครั้ง วงแหวน ครั้ง ผสม ครั้ง เต็มดวง 39 ครั้ง และบางส่วน ครั้ง ตามลำดับ ซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ สิ้นสุดบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 44 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2101 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 41 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2840

2. สุริยุปราคาบางส่วน มิถุนายน 2554

สุริยุปราคาวันที่ มิถุนายน 2554 เริ่มเวลา 02:25 น. ขณะนั้นเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกทางตะวันออกของรัสเซีย ใกล้ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น จุดที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังลึกที่สุดอยู่ทางเหนือของรัสเซีย ติดทะเลแบเรนต์ส เกิดขึ้นเวลา 04:16 น. ด้วยความลึก 60% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ (ตรงกับกลางดึกตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดอาทิตย์เที่ยงคืน) สุริยุปราคาสิ้นสุดเวลา 06:06 น. เมื่อเงามัวหลุดออกจากผิวโลกในมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้เกาะนิวฟันด์แลนด์ของแคนาดา บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้คือบางส่วนของรัสเซีย บางส่วนของสแกนดิเนเวีย กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ ทางเหนือของเอเชียตะวันออก บางส่วนของแคนาดา และทางเหนือของรัฐอะแลสกา บริเวณอื่นที่เห็นสุริยุปราคาขณะเกิดอาทิตย์เที่ยงคืนอีก ได้แก่ ตอนเหนือสุดของนอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 68 ใน 72 ครั้งของชุดซารอสที่ 118 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 803 สิ้นสุดในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2083 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน ครั้ง เต็มดวง 40 ครั้ง ผสม ครั้ง วงแหวน 15 ครั้ง และบางส่วน ครั้ง ตามลำดับ ซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ สิ้นสุดบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 59 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1398 สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 58 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1849

3. จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดในเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 (เฝ้ารอสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่คืนวันพุธที่ 15 มิถุนายน) ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 01:23 น. ขณะนั้นที่ประเทศไทยเห็นดวงจันทร์อยู่สูงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 02:22 น. ถึง 04:03 น. แต่ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท เห็นเป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เพราะแสงอาทิตย์หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดเวลา 05:02 น. เวลานั้นที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงย 11° พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือทวีปอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554

 


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 16 มิถุนายน 2554
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 00:24:34 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 01:22:55 น.
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 02:22:29 น.
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 03:12:36 น.
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 04:02:42 น.
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 05:02:15 น.
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 06:00:44 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลาเต็มดวงยาวนานถึง ชั่วโมง 40.2 นาที นานที่สุดนับตั้งแต่จันทรุปราคา 16 กรกฎาคม 2543 ซึ่งยาวนาน ชั่วโมง 46.4 นาที (ครั้งนั้นก็สามารถเห็นได้ในประเทศไทย แต่สภาพท้องฟ้าไม่อำนวย) หลังจากปี 2554 จันทรุปราคาเต็มดวงที่มีระยะเวลามืดเต็มดวงนานเกิน 100 นาที จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ซึ่งสามารถเห็นได้ในประเทศไทยอีกเช่นกัน

ขณะบังเต็มที่เวลา 03:13 น. ศูนย์กลางเงาโลกจะอยู่ค่อนไปทางทิศใต้ของดวงจันทร์ ทำให้คาดหมายได้ว่าพื้นที่ด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางขวามือเมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าน่าจะสว่างกว่าทิศใต้ นอกจากนี้หากไม่มีเมฆมากนัก ผู้ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 34 ใน 71 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 130 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1416 2678 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว ครั้ง บางส่วน 20 ครั้ง เต็มดวง 14 ครั้ง บางส่วน 22 ครั้ง และเงามัว ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2029 นาน ชั่วโมง 41.9 นาที (นานกว่าครั้งที่เกิดในปีนี้เพียงไม่ถึง นาที)

4. สุริยุปราคาบางส่วน กรกฎาคม 2554

สุริยุปราคาวันที่ กรกฎาคม 2554 เริ่มเวลา 14:54 น. สิ้นสุดเวลา 16:23 น. จุดที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังลึกที่สุดอยู่ในมหาสมุทรใต้ ใกล้ทวีปแอนตาร์กติกา เกิดขึ้นเวลา 15:38 น. ด้วยความลึกเพียง 10% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้เกือบทั้งหมดอยู่ในมหาสมุทร และอาจไม่มีใครได้เห็น เนื่องจากบริเวณนั้นไม่มีเกาะอยู่เลย

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งแรกใน 69 ครั้งของชุดซารอสที่ 156 ซึ่งเริ่มในปีนี้แล้วสิ้นสุดในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 3237 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน ครั้ง วงแหวน 52 ครั้ง และบางส่วน ครั้ง ตามลำดับ ซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ สิ้นสุดใกล้ขั้วโลกเหนือ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้คือ นาที 28 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ พฤษภาคม ค.ศ. 2516

5. สุริยุปราคาบางส่วน 25 พฤศจิกายน 2554

สุริยุปราคาวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เริ่มเวลา 11:23 น. สิ้นสุดเวลา 15:17 น. จุดที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังลึกที่สุดอยู่ในมหาสมุทรใต้ ใกล้ชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกา เกิดขึ้นเวลา 13:20 น. ด้วยความลึก 90% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ นับเป็นสุริยุปราคาที่กินลึกที่สุดในปีนี้ ศูนย์กลางเงาดวงจันทร์คลาดผิวโลกไปราว 330 กิโลเมตร บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้คือตอนใต้ของแอฟริกาใต้ ทวีปแอนตาร์กติกา มหาสมุทรใต้ รัฐแทสมาเนียของออสเตรเลีย และเกือบทั้งหมดของนิวซีแลนด์ ยกเว้นด้านเหนือ

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 53 ใน 70 ครั้งของชุดซารอสที่ 123 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1074 สิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2318 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน ครั้ง วงแหวน 27 ครั้ง ผสม ครั้ง เต็มดวง 14 ครั้ง และบางส่วน 20 ครั้ง ตามลำดับ ซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ สิ้นสุดบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 27 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1813 สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ นาที วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ พฤศจิกายน ค.ศ. 1398

6. จันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554

อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่เห็นได้ในประเทศไทยเป็นครั้งที่ ของปี เกิดขึ้นในคืนวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 ตรงกับวันระลึกการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 19:46 น. ขณะนั้นประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกด้วยมุมเงยประมาณ 30° ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 21:06 น. ถึง 21:57 น. จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดเวลา 23:18 น. พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทย คือ ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยุโรป เอเชีย ฮาวาย มหาสมุทรแปซิฟิก และเกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ

จันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554 


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 10 ธันวาคม 2554

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 18:33:33 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 19:45:42 น.
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 21:06:16 น.
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 21:31:49 น.
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 21:57:24 น.
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 23:17:59 น.
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 00:30:00 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลาเต็มดวงยาวนาน 51 นาทีเศษ ขณะบังเต็มที่เวลา 21:32 น. ศูนย์กลางเงาโลกอยู่ห่างไปทางทิศเหนือของดวงจันทร์ ทำให้คาดหมายได้ว่าขณะนั้นพื้นที่ด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางขวามือเมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าน่าจะสว่างกว่าส่วนอื่น

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เคยเกิดจันทรุปราคาเห็นได้ในประเทศไทยที่ตรงกับวันระลึกการพระราชทานรัฐธรรมนูญมาแล้วครั้งหนึ่งในเช้ามืดวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ปีนี้จะเป็นอีกครั้งหนึ่ง อยู่ในฤดูที่โดยมากไม่ค่อยมีเมฆเป็นอุปสรรค และประเทศไทยตรงกับช่วงเวลาที่มีผู้สนใจมากที่สุด (prime time) หลังจากปีนี้ จันทรุปราคาในวันรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2619 (ไม่นับรวมจันทรุปราคาเงามัวใน พ.ศ. 2573 ซึ่งสังเกตได้ยาก)

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 23 ใน 71 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 135 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1615 2877 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว ครั้ง บางส่วน 10 ครั้ง เต็มดวง 23 ครั้ง บางส่วน ครั้ง และเงามัว 22 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้จะเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2264 นาน ชั่วโมง 46.2 นาที

พ.ศ. 2555

สุริยุปราคาวงแหวน 21 พฤษภาคม 2555 แนวคราสวงแหวนผ่านจีน ญี่ปุ่น ทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ มีโอกาสเห็นสุริยุปราคาบางส่วนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น แต่ดวงอาทิตย์แหว่งเพียงเล็กน้อย และสิ้นสุดปรากฏการณ์ไม่นานหลังดวงอาทิตย์ขึ้น
จันทรุปราคาบางส่วน มิถุนายน 2555 ประเทศไทยเห็นได้ในเวลาพลบค่ำขณะดวงจันทร์ขึ้น
สุริยุปราคาเต็มดวง 14 พฤศจิกายน 2555 แนวคราสเต็มดวงผ่านทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียและทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
จันทรุปราคาเงามัว 28 พฤศจิกายน 2555 ประเทศไทยเห็นได้ แต่ดวงจันทร์ลดความสว่างลงน้อยมาก ยากที่จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง

ดูเพิ่ม

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554
จันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554
จันทรุปราคา พ.ศ. 2551-2555
สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดวงอาทิตย์
สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดวงจันทร์