สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวอังคารใกล้โลก 2553

ดาวอังคารใกล้โลก 2553

18 มกราคม 2553
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 2 ธันวาคม 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ฤดูหนาวนี้เป็นช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบ ปี แม้ว่าครั้งนี้ดาวอังคารจะอยู่ไกลจากโลกมากกว่าครั้งก่อน ๆ เนื่องจากเป็นช่วงที่มันเคลื่อนมาอยู่บริเวณจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด (aphelion) ในวงโคจรที่เป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์ แต่ข้อดีคืออยู่ในฤดูหนาวซึ่งอากาศแห้งและท้องฟ้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเมฆเป็นอุปสรรค

ด้วยขนาดของมันซึ่งเล็กกว่าโลกและการที่ดาวอังคารใช้เวลาส่วนมากอยู่ไกลจากโลก มันจึงมีขนาดปรากฏเล็กมากเมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ เล็กจนแทบไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยใด ๆ บนพื้นผิว แต่เมื่อมันอยู่ที่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุด ดาวอังคารจะมีขนาดใหญ่และสว่างขึ้นหลายเท่า

ภาพถ่ายดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ถ่ายขณะใกล้โลกเมื่อ พ.ศ. 2538-2548 (ค.ศ. 1995-2005) เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของขนาดและการเปลี่ยนแปลงของขั้วน้ำแข็งบนพื้นผิว ดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 2538 (ภาพ NASA/ESA/Hubble Heritage Team) 

ดาวอังคารเข้าใกล้โลกเฉลี่ยทุก ๆ ปี เดือน ลักษณะวงโคจรที่มีความรีค่อนข้างชัดเจนทำให้ในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากโลกไม่เท่ากัน ปีนี้ดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุดในปลายเดือนมกราคม 2553 แต่ไม่ใกล้มากอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2546

1-2 เดือน ก่อนที่ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกที่สุด ดาวอังคารขึ้นทางทิศตะวันออกหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว แต่เมื่อถึงช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกมากที่สุด ดาวอังคารจะขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับเวลาดวงอาทิตย์ตก จากนั้นเคลื่อนไปอยู่สูงเหนือศีรษะในเวลาประมาณเที่ยงคืน และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกในเวลาใกล้เคียงกับเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น เราจึงสามารถสังเกตดาวอังคารได้นานหลายชั่วโมงตลอดทั้งคืน

ต้นเดือนธันวาคม 2552 ดาวอังคารเคลื่อนที่เดินหน้าไปทางทิศตะวันออกขณะอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างกลุ่มดาวปูกับกลุ่มดาวสิงโต สว่างด้วยโชติมาตร -0.1 ขึ้นเหนือขอบฟ้าเวลาเกือบ ทุ่ม จากนั้นเมื่อถึงปลายเดือนธันวาคม ดาวอังคารเริ่มเคลื่อนที่ถอยหลังไปทางทิศตะวันตก ขณะนั้นความสว่างเพิ่มขึ้นโดยสว่างกว่าโชติมาตร -0.5 และขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่มครึ่ง

ดาวอังคารถอยหลังเข้าสู่กลุ่มดาวปูในต้นเดือนมกราคม 2553 หลังจากนั้นมันจะเข้าใกล้โลกที่สุดในเวลาตี ของเช้าวันที่ 28 มกราคม 2553 ขณะมีโชติมาตร -1.3 เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม 14.1 พิลิปดา นับเป็นเวลา วันก่อนที่ดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดาวอังคารขึ้นเหนือขอบฟ้าเกือบพร้อมกับดวงอาทิตย์ตกและเริ่มปรากฏบนฟ้านับตั้งแต่ที่ท้องฟ้าเริ่มมืดจนเห็นดาวได้

ดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 เห็นพื้นผิวได้ชัดเจนเนื่องจากบรรยากาศเบาบางและไม่มีพายุฝุ่น น้ำแข็งที่ขั้วเหนือแผ่กว้าง และมีเมฆสีฟ้าบาง ๆ บริเวณขอบดวง (ภาพ NASA/ESA/Hubble Heritage Team) 

ดาวอังคารเคลื่อนผ่านทางเหนือของกระจุกดาวรังผึ้งในต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นมันจะเริ่มเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกครั้งในราวกลางเดือนมีนาคมขณะที่ความสว่างลดลงไปอยู่ที่โชติมาตร -0.3 ช่วงหลังสงกรานต์ดาวอังคารจะผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งอีกครั้ง และย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโตในกลางเดือนพฤษภาคม ส่วนความสว่างลดลงไปที่โชติมาตร +0.9

หลังจากปีนี้ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกอีกครั้งในต้นเดือนมีนาคม 2555 โดยอยู่ไกลและจางกว่าครั้งนี้เล็กน้อย เพราะเป็นช่วงที่ดาวอังคารเพิ่งจะผ่านตำแหน่งไกลดวงอาทิตย์ที่สุดมาไม่ถึง สัปดาห์

ระยะห่างและขนาดปรากฏของดาวอังคารขณะใกล้โลกที่สุดในช่วง พ.ศ. 2531-2561
วัน เดือน ปีเวลา (ไทย)ระยะห่าง (AU)*ขนาดปรากฏ (พิลิปดา)โชติมาตร
22 กันยายน 253110 น.0.3931523.81-2.7
20 พฤศจิกายน 253311 น.0.5169218.11-2.0
มกราคม 253620 น.0.6260914.95-1.4
11 กุมภาพันธ์ 253821 น.0.6756913.85-1.2
21 มีนาคม 2540น.0.6593814.20-1.3
พฤษภาคม 2542น.0.5784616.18-1.6
22 มิถุนายน 2544น.0.4501720.79-2.3
27 สิงหาคม 254617 น.0.3727225.11-2.9
30 ตุลาคม 254810 น.0.4640620.17-2.3
19 ธันวาคม 2550น.0.5893515.88-1.6
28 มกราคม 2553น.0.6639814.10-1.3
มีนาคม 2555น.0.6736813.89-1.2
14 เมษายน 255720 น.0.6175615.16-1.4
31 พฤษภาคม 2559น.0.5032118.60-2.0
31 กรกฎาคม 256115 น.0.3849624.31-2.8

หมายเหตุ หน่วยดาราศาสตร์ (1 AU) ใกล้เคียงกับระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ มีค่าประมาณ 149.6 ล้านกิโลเมตร

ดูเพิ่ม

 ดาวเคราะห์เดือนนี้
 ดาวอังคารใกล้โลก 2550
 ดาวอังคารใกล้โลก 2548
 ดาวอังคารใกล้โลก 2546
 ดาวเคราะห์ในปี 2553
 ระวัง! ข่าวลือเรื่องดาวอังคาร