สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทร์เพ็ญเมื่อดวงจันทร์ใกล้โลก

จันทร์เพ็ญเมื่อดวงจันทร์ใกล้โลก

19 มีนาคม 2554 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 7 กันยายน 2566
ดวงจันทร์สว่างเต็มดวงในคืนวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม ย่างเข้าสู่วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2554 เป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี อาจกล่าวได้ว่าเป็นจันทร์เพ็ญที่ดวงจันทร์โตที่สุดในปี 2554 แต่จะสังเกตความแตกต่างเมื่อเทียบกับจันทร์เพ็ญครั้งอื่นด้วยตาเปล่าได้ยาก บางคนอาจพอจะจดจำได้ว่าเคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2551 ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากเป็นพิเศษ

ซูเปอร์มูน 19/20 มีนาคม 2554

วันที่ 20 มีนาคม เวลาตี ดวงจันทร์จะใกล้โลกที่สุดในรอบปีนี้ด้วยระยะห่าง 356,575 กิโลเมตร โดยที่ก่อนหน้านั้นไม่ถึง ชั่วโมง ดวงจันทร์จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงขณะใกล้โลกที่สุดในรอบ 18 ปี โดยเราอาจได้ยินว่ามันคือซูเปอร์มูน (supermoon) นอกจากนี้ ยังเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์อยู่สูงบนท้องฟ้าสำหรับประเทศไทยอีกด้วย

ระยะห่างของดวงจันทร์

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี อยู่ห่างจากโลกด้วยระยะทางเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร ดวงจันทร์สามารถเข้ามาใกล้และไกลกว่านี้ได้อีกราว 25,000 กิโลเมตร บนวงโคจรของดวงจันทร์จึงมีจุดใกล้โลกที่สุด (perigee) กับจุดไกลโลกที่สุด (apogee) อยู่ตรงข้ามกัน หากช่วงเวลาที่ดวงจันทร์โคจรผ่านจุดทั้งสองตรงกับจันทร์เพ็ญ ขนาดของดวงจันทร์เมื่อเปรียบเทียบกันจะแตกต่างกันประมาณ 14% ตาเปล่าอาจไม่เห็นความแตกต่างนี้ แต่เมื่อถ่ายรูปด้วยเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสเท่ากัน จะสามารถเปรียบเทียบให้เห็นขนาดดวงจันทร์ที่ไม่เท่ากันได้อย่างชัดเจน

ภาพถ่ายเทียบให้เห็นขนาดที่แตกต่างกันระหว่างดวงจันทร์เต็มดวงขณะที่อยู่ใกล้และไกลจากโลก (ภาพ Anthony Ayiomamitis

เมื่อเกิดจันทร์เพ็ญครั้งหนึ่งแล้ว อีกราว 29.53 วัน ดวงจันทร์จะกลับมาเต็มดวงอีกครั้ง แต่เมื่อดวงจันทร์ผ่านจุดใกล้โลกที่สุดแล้ว อีกราว 27.55 วัน มันจะผ่านจุดใกล้โลกที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ตัวเลขสองค่าที่ต่างกันนี้เป็นสาเหตุทำให้จันทร์เพ็ญในแต่ละเดือนมีขนาดไม่เท่ากัน จันทร์เพ็ญที่ตรงหรือใกล้เคียงกับช่วงที่อยู่ใกล้โลกที่สุด ครั้งที่ผ่านมา เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2551 และ 30 มกราคม 2553 หลังจากวันที่ 20 มีนาคม 2554 จะเกิดขึ้นอีกในวันที่ พฤษภาคม 2555 ส่วนจันทร์เพ็ญที่เกิดในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุดในปีนี้ คือวันที่ 12 ตุลาคม 2554

ดวงจันทร์ดวงโตเมื่ออยู่ใกล้ขอบฟ้า

แม้ว่าปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยจะมีเหตุผลทางดาราศาสตร์ในแง่ของระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์มารองรับ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วเราจะรู้สึกว่าดวงจันทร์ดูเหมือนใหญ่โตกว่าธรรมดาเมื่อดวงจันทร์ปรากฏอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า อย่างในช่วงที่ดวงจันทร์เพิ่งขึ้นมาทางทิศตะวันออกหรือใกล้จะตกทางทิศตะวันตก เรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่า Moon illusion ซึ่งเกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ด้วยเช่นเดียวกัน แต่โดยปกติแล้วเราจะไม่ดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า เพราะเป็นอันตรายต่อดวงตา

สาเหตุของภาพลวงตานี้มีความพยายามที่จะหาคำอธิบายมานานนับตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ และเป็นหัวข้อศึกษาทางวิทยาศาสตร์ คำอธิบายที่ดูเหมือนจะแพร่หลายมากที่สุดคือฉากหน้า เช่น ต้นไม้ อาคารบ้านเรือน ฯลฯ ได้กลายเป็นสิ่งเปรียบเทียบที่ทำให้เราเห็นดวงจันทร์ขณะอยู่ใกล้ขอบฟ้าราวกับมีขนาดใหญ่กว่าตอนที่ขึ้นไปอยู่สูงกลางฟ้า

ระยะห่างของดวงจันทร์ (จากศูนย์กลางโลก) ณ เวลาต่าง 


ตารางที่ ขณะดวงจันทร์เต็มดวงใน พ.ศ. 2554 (เวลาประเทศไทย)
วันที่เวลาระยะห่าง (กม.)
20 มกราคม 255404:21:25366,158.4
18 กุมภาพันธ์ 255415:35:40359,101.7
20 มีนาคม 255401:10:03356,576.6
18 เมษายน 255409:43:59358,795.6
17 พฤษภาคม 255418:08:38365,165.2
16 มิถุนายน 255403:13:35374,510.4
15 กรกฎาคม 255413:39:36385,224.3
14 สิงหาคม 255401:57:30395,402.2
12 กันยายน 255416:26:39403,044.1
12 ตุลาคม 255409:05:43406,381.1
11 พฤศจิกายน 255403:16:06404,372.7
10 ธันวาคม 255421:36:23397,259.0


ตารางที่ ดวงจันทร์เต็มดวงใน พ.ศ. 2533-2593 เฉพาะที่มีระยะห่างน้อยกว่า 357,000 กม. (เวลาประเทศไทย)
วันที่เวลาระยะห่าง (กม.)
ธันวาคม 253314:49:40356,542
20 มกราคม 253504:28:28356,551
มีนาคม 253616:45:53356,530
26 เมษายน 253702:44:58356,939
30 กรกฎาคม 253917:35:10356,964
17 กันยายน 254001:50:29356,987
พฤศจิกายน 254112:18:11356,653
23 ธันวาคม 254200:31:18356,731
กุมภาพันธ์ 254414:11:39356,991
26 ตุลาคม 255011:51:32356,838
12 ธันวาคม 255123:37:08356,611
30 มกราคม 255313:17:35356,606
20 มีนาคม 255401:10:03356,576
พฤษภาคม 255510:35:05356,955
23 มิถุนายน 255618:32:15356,991
11 สิงหาคม 255701:09:22356,896
28 กันยายน 255809:50:30356,879
14 พฤศจิกายน 255920:52:03356,521
มกราคม 256109:24:05356,602
19 กุมภาพันธ์ 256222:53:34356,842
พฤศจิกายน 256820:19:19356,979
24 ธันวาคม 256908:28:14356,738
10 กุมภาพันธ์ 257122:03:47356,720
30 มีนาคม 257209:26:26356,681
21 สิงหาคม 257508:46:53356,887
ตุลาคม 257617:58:11356,829
26 พฤศจิกายน 257705:32:13356,446
13 มกราคม 257918:16:09356,529
มีนาคม 258007:28:13356,747
19 เมษายน 258117:36:04356,902
16 ธันวาคม 258615:02:05356,944
มกราคม 258817:20:33356,918
21 กุมภาพันธ์ 258906:44:22356,889
10 เมษายน 259017:35:22356,839
กันยายน 259316:30:54356,931


ตารางที่ ดวงจันทร์เต็มดวงใน พ.ศ. 2533-2593 เฉพาะที่มีระยะห่างมากกว่า 406,000 กม. (เวลาประเทศไทย)

วันที่เวลาระยะห่าง (กม.)
10 พฤษภาคม 253302:30:46406,417
27 มิถุนายน 253409:58:25406,232
13 สิงหาคม 253517:27:11406,357
ตุลาคม 253601:53:50406,423
18 พฤศจิกายน 253713:57:01406,345
มกราคม 253903:50:54406,477
22 กุมภาพันธ์ 254017:26:40406,228
12 เมษายน 254105:23:28406,102
30 พฤษภาคม 254213:39:53406,100
กันยายน 254404:43:01406,041
26 ธันวาคม 254722:06:20406,041
13 กุมภาพันธ์ 254911:44:14406,135
เมษายน 255000:15:02406,194
20 พฤษภาคม 255109:11:22406,314
กรกฎาคม 255216:21:25406,144
25 สิงหาคม 255300:04:34406,294
12 ตุลาคม 255409:05:44406,382
28 พฤศจิกายน 255521:45:56406,349
16 มกราคม 255711:52:10406,527
มีนาคม 255801:05:24406,322
22 เมษายน 255912:23:36406,249
มิถุนายน 256020:09:35406,272
28 กรกฎาคม 256103:20:21406,099
14 กันยายน 256211:32:46406,248
31 ตุลาคม 256321:49:09406,167
13 เมษายน 256807:22:16406,006
31 พฤษภาคม 256915:45:13406,135
กันยายน 257106:47:36406,158
22 ตุลาคม 257216:27:35406,277
10 ธันวาคม 257305:40:29406,297
27 มกราคม 257519:52:31406,522
16 มีนาคม 257608:37:27406,358
พฤษภาคม 257719:15:44406,328
21 มิถุนายน 257802:37:31406,369
สิงหาคม 257909:48:59406,216
24 กันยายน 258018:31:46406,384
12 พฤศจิกายน 258105:27:15406,320
30 ธันวาคม 258219:37:47406,131
16 กุมภาพันธ์ 258409:21:19406,073
พฤศจิกายน 259023:58:14406,112
20 ธันวาคม 259113:39:16406,190
กุมภาพันธ์ 259303:47:33406,463


หมายเหตุ เวลาที่แสดงในตารางอาจคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อยในระดับวินาที เนื่องจากคาบการหมุนรอบตัวเองของโลกไม่คงที่เมื่อเทียบกับนาฬิกาอะตอม

ภาพถ่ายโดยมนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ มองเห็นโลกและดวงจันทร์เต็มดวงเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 (จาก NASA)

สารพันคำถามเกี่ยวกับดวงจันทร์ใกล้โลก

หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลทางตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ซึ่งทำให้เกิดคลื่นสึนามิ คนจำนวนมากสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกในวันที่ 20 มีนาคม 2554 หรือไม่ รวมถึงมีประเด็นข่าวลือหรือคำกล่างอ้าง เผยแพร่ออกมาทางสื่อต่าง ๆ ต่อไปนี้เป็นคำถาม-คำตอบ ของข้อสงสัยบางประการ

ซูเปอร์มูนคืออะไร

ซูเปอร์มูน (supermoon) เป็นคำที่ริชาร์ด โนลล์ โหรชาวตะวันตก ใช้เรียกเหตุการณ์ที่จันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับใกล้เคียงกับช่วงที่ดวงจันทร์ใกล้โลก โดยเริ่มเผยแพร่ในนิตยสารทางโหราศาสตร์เมื่อ ค.ศ. 1979 (เขานิยามว่าเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับนั้นมีระยะห่างจากโลกภายใน 90% ของระยะใกล้ที่สุดของวงโคจร) ซึ่งเขาเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อสภาพอากาศ แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิดบนโลก ทางดาราศาสตร์ไม่พบว่ามีการใช้ศัพท์คำนี้มาก่อน

ดวงจันทร์ใกล้โลกบ่อยแค่ไหน

เฉลี่ยทุก ๆ 27-28 วัน นั่นคือเดือนละครั้ง บางเดือนมี ครั้ง โดยระยะห่างจะต่างกันเล็กน้อย

ดวงจันทร์ใกล้โลกทำให้เราเห็นดวงจันทร์โตขึ้นมากเพียงใด

ใหญ่กว่าค่าเฉลี่ย 7%-8% เราอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าดวงจันทร์กำลังใกล้โลก หากไม่ทราบมาก่อน

ดวงจันทร์ใกล้โลกได้มากกว่านี้อีกไหม

ใกล้กว่านี้ได้อีกเล็กน้อย จากการคำนวณพบว่า ระหว่าง ค.ศ. 1500-2500 ดวงจันทร์จะใกล้โลกที่สุดในวันที่ มกราคม ค.ศ. 2257 ด้วยระยะห่าง 356,371.1 กิโลเมตร ซึ่งตรงกับวันเพ็ญพอดี

แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เกี่ยวกับดวงจันทร์ใกล้โลกจริงหรือ

ขณะเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ดวงจันทร์อยู่ห่างโลก 405,492 กิโลเมตร ห่างจากวันที่อยู่ "ไกล" โลกที่สุดเพียง วัน (วันที่ 28 ธันวาคม) ดังนั้นแผ่นดินไหวครั้งนี้จึงไม่มีทางที่จะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลก

แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เกี่ยวกับดวงจันทร์ใกล้โลกจริงหรือ

ขณะเกิดแผ่นดินไหว ดวงจันทร์อยู่ห่างโลก 396,492 กิโลเมตร ซึ่งไกลกว่าค่าเฉลี่ย และค่อนไปทางด้านจุดไกลโลกที่สุดมากกว่าจุดใกล้โลกที่สุดด้วยซ้ำไป ดังนั้นแผ่นดินไหวครั้งนี้จึงไม่มีทางที่จะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นอีกหลายวัน

ดวงจันทร์มีอิทธพลต่อโลกอย่างไร เกี่ยวกับแผ่นดินไหว/ภูเขาไฟระเบิดหรือไม่

แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้น-น้ำลง ดวงจันทร์ใกล้โลกทำให้ระดับน้ำทะเลสูง-ต่ำกว่าปกติ การศึกษาอย่างละเอียดโดยนักวิทยาแผ่นดินไหวและนักวิทยาภูเขาไฟ พบว่าแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์มีอิทธิพลน้อยมากต่อแผ่นเปลือกโลก ไม่พอที่จะเอาชนะแรงภายในโลก อันเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

หากเกิดแผ่นดินไหวในวันที่ 19/20 มีนาคม 2554 สรุปได้ไหมว่าเกิดจากดวงจันทร์ใกล้โลก

ไม่สามารถสรุปเช่นนั้นได้ เพราะแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน ไม่ว่าดวงจันทร์จะใกล้โลกหรือไม่

หมายเหตุ: ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565 เพื่อเพิ่มนิยามของคำว่าซูเปอร์มูน (supermoon) และขยายเวลาในตารางจนถึง พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)