สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกจากดาวหาง 73 พี/ชวาสมันน์-วัคมันน์ในปี 2565 ?

ฝนดาวตกจากดาวหาง 73 พี/ชวาสมันน์-วัคมันน์ในปี 2565 ?

30 พฤษภาคม 2565 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 4 มิถุนายน 2565
นักดาราศาสตร์ได้คำนวณจากแบบจำลองพบว่าวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2565 โลกจะเคลื่อนที่ผ่านแนวสะเก็ดดาวอันเกิดจากดาวหาง 73 พี และอาจทำให้เกิดฝนดาวตกที่มีอัตราเพิ่มขึ้น โดยคาดหมายว่าโลกจะผ่านจุดที่หนาแน่นที่สุดในวันที่ 31 พฤษภาคม เวลาประมาณ น. ตามเวลาสากล หรือตรงกับเวลาประมาณเที่ยงวัน ตามเวลาประเทศไทย บริเวณที่คาดว่าอาจเห็นได้ดีที่สุดอยู่ในอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (ตรงกับคืนวันที่ 30 พฤษภาคม ตามเวลาท้องถิ่น)

ดาวหาง 73 พี/ชวาสมันน์-วัคมันน์ เป็นดาวหางรายคาบที่ค้นพบโดยสองนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเมื่อ ค.ศ. 1930 ดาวหางโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 5.4 ปี ชื่อต้นของดาวหางบ่งบอกว่าเป็นดาวหางรายคาบดวงที่ 73 ในบัญชีรายชื่อดาวหาง เดิมดาวหางดวงนี้มีชื่อว่าชวาสมันน์-วัคมันน์ เนื่องจากเป็นดาวหางดวงที่ ที่นักดาราศาสตร์สองคนนี้ค้นพบร่วมกัน 

เมื่อ ค.ศ. 1995 ดาวหางได้มีความสว่างเพิ่มขึ้นผิดปรกติ การสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์พบว่าสาเหตุเกิดจากดาวหางดวงนี้แตกออกเป็นหลายชิ้น เมื่อดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ใน ค.ศ. 2006 การสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลแสดงให้เห็นว่ากระบวนการแตกออกจากกันของนิวเคลียสของดาวหางยังคงดำเนินอยู่ สามารถมองเห็นชิ้นส่วนขนาดเล็กจำนวนมาก

ภาพถ่ายชิ้นส่วน (ซ้ายบน) และ (ขวาบน) ของดาวหาง 73 พี ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2006 แสดงให้เห็นว่าทั้งสองชิ้นมีการแตกตัวออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ จำนวนมาก ภาพล่างเป็นภาพถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกเมื่อวันที่ เมษายน เห็นชิ้นส่วน B, G, และ เรียงตัวกันเป็นเส้นตรงโดยมีดาวฤกษ์เป็นฉากหลัง (จาก ภาพบน: NASA ESA H. Weaver (JHU/APL), M. Mutchler และ Z. Levay (STScI ); ภาพล่าง: G. Rhemann และ M. Jager)

ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อวันที่ 4-6 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 (จาก NASA/JPL-Caltech/W. Reach (SSC/Caltech))

ดาวตกที่เราเห็นบนท้องฟ้าเกิดจากสะเก็ดดาวที่เคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก ส่วนใหญ่ดาวหางเป็นต้นกำเนิดของสะเก็ดดาวเหล่านั้น การพยากรณ์ฝนดาวตกในปัจจุบันทำโดยสร้างแบบจำลองเพื่อพยากรณ์การเคลื่อนที่ของสะเก็ดดาวหลังจากที่สะเก็ดดาวหลุดออกมาจากดาวหาง แบบจำลองบ่งบอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ดาวหาง 73 พี ซึ่งมีแนวโคจรผ่านใกล้โลก อาจทำให้เกิดกลุ่มของสะเก็ดดาวที่มีความเร็วสูงพอจะเคลื่อนมาถึงโลกได้ในวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2565 โดยการแตกของดาวหางเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นสาเหตุสำคัญของเหตุการณ์นี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดฝนดาวตกที่มีอัตราสูงขึ้น

อัตราของฝนดาวตกที่คาดหมายว่าอาจจะเกิดขึ้นนี้มีความไม่แน่นอนสูงมาก นักดาราศาสตร์หลายคนสร้างแบบจำลองและได้ผลการคำนวณใกล้เคียงกันในแง่ของเวลา แต่ความหนาแน่นของสะเก็ดดาวมีความแตกต่างกัน นักดาราศาสตร์จึงเตือนว่าปรากฏการณ์นี้อาจทำให้เกิดฝนดาวตกในอัตราสูง หรือแทบไม่มีเลยก็ได้ (เนื่องจากสะเก็ดดาวอาจมีความเร็วไม่สูงพอที่จะผ่านมาใกล้แนววงโคจรของโลก) แต่ไม่ว่าผลการสังเกตการณ์จะออกมาอย่างไร ฝนดาวตกจะมีจำนวนมาก น้อย หรือสังเกตไม่พบเลย ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาดาราศาสตร์ด้านดาวตก

สำหรับประเทศไทย อยู่ห่างจากเวลาที่คาดหมายหลายชั่วโมง จึงไม่ใช่พื้นที่ที่คาดว่าจะมีฝนดาวตกครั้งนี้ในอัตราสูง อย่างไรก็ตาม แบบจำลองชี้ว่าธารสะเก็ดดาวที่หลุดจากดาวหางเมื่อคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ใน ค.ศ. 1892 อาจมีเส้นทางผ่านโลกในคืนวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565 เวลาประมาณ 23 น. ตามเวลาประเทศไทย จึงมีโอกาสที่จะเห็นดาวตกเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย

โดยปรกติ จุดกระจายของฝนดาวตกนี้อยู่บริเวณกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส มีชื่อว่าฝนดาวตกเทาเฮอร์คิวลีส (τ-Herculids) แต่แบบจำลองแสดงว่าฝนดาวตกของปีนี้อาจมีจุดกระจายเลื่อนไปอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ไม่ห่างจากดาวดวงแก้วมากนัก จุดกระจายจะอยู่สูงสุดบนท้องฟ้าเวลาประมาณ 22 น. การสังเกตกระทำได้ตั้งแต่เมื่อท้องฟ้าเริ่มมืดสนิทจนถึงราวตี ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ช่วงเวลาที่ดีที่สุดโดยทั่วไปคือเวลาที่จุดกระจายอยู่สูงสุด การสังเกตดาวตกทำได้ดีในสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ห่างจากเมืองใหญ่ และไม่มีเมฆหมอกบดบังท้องฟ้า

จุดกระจายของฝนดาวตกเทาเฮอร์คิวลีสในปี 2565 (ตำแหน่งกลุ่มดาวเทียบกับขอบฟ้าที่เวลาประมาณ 20:00 น.) (จาก Stellarium)

ที่มา

 Possible Meteor Outburst on May 30/31?
 31st of May 2022 τ-Herculids

ดูเพิ่ม

★ ฝนดาวตกในปี 2565