สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย

ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย

26 กันยายน 2567 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวหางและดาวเคราะห์น้อยจัดเป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เกือบทั้งหมดมีความสว่างน้อย ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ด้วยธรรมชาติของดาวหางที่เป็นดวงฝ้า ไม่ใช่จุดสว่างแบบดาวฤกษ์ ดาวหางที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่ามักต้องสว่างกว่าโชติมาตร หรือ ดาวหางที่สว่างกว่านี้ หรือสว่างจนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้ามืด ห่างไกลจากแสงรบกวน ไม่ได้มีมาให้เห็นบ่อย หลายปีจึงจะมีให้เห็นสักดวงหนึ่ง

ดาวหางที่น่าสนใจในปัจจุบัน


 ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3)

ดาวหางที่น่าสนใจในอดีต


 ดาวหางเลนเนิร์ด C/2021 A1 (Leonard)
 ดาวหางนีโอไวส์ C/2020 F3 (NEOWISE)
 ดาวหางสวอน C/2020 F8 (SWAN)
 ดาวหางแอตลาส C/2019 Y4 (ATLAS)
 ดาวหางวีร์ทาเนน (46P/Wirtanen)

ซีรีสและเวสตา

ในบรรดาดาวเคราะห์น้อยที่โคจรอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ดวงที่สว่างที่สุดคือเวสตา (Vesta) หากช่วงที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับช่วงที่เวสตาผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดบนวงโคจร สามารถสว่างได้ถึงโชติมาตร 5.3 เห็นได้ด้วยตาเปล่าและเห็นได้ชัดเจนในกล้องสองตา ส่วนซีรีส (Ceres) ซึ่งมีสถานภาพเป็นดาวเคราะห์แคระด้วย และเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อย สามารถสว่างที่สุดได้ถึงโชติมาตร 6.8

วันที่ซีรีสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ระหว่าง พ.ศ. 2561-2570
วันที่โชติมาตรกลุ่มดาว
31 มกราคม 2561 (20 น.)6.9ปู
29 พฤษภาคม 2562 (6 น.)7.0คนแบกงู
28 สิงหาคม 2563 (19 น.)7.7คนแบกหม้อน้ำ
27 พฤศจิกายน 2564 (11 น.)7.0วัว
21 มีนาคม 2566 (15 น.)6.9ผมเบเรนิซ
21 มีนาคม 2566 (15 น.)7.3คนยิงธนู
ตุลาคม 2568 (20 น.)7.6ซีตัส
มกราคม 2570 (1 น.)6.8คนคู่


วันที่เวสตาอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ระหว่าง พ.ศ. 2561-2570
วันที่โชติมาตรกลุ่มดาว
20 มิถุนายน 2561 (3 น.)5.3คนยิงธนู
12 พฤศจิกายน 2562 (16 น.)6.5ซีตัส
มีนาคม 2564 (1 น.)6.0สิงโต
23 สิงหาคม 2565 (2 น.)5.8คนแบกหม้อน้ำ
22 ธันวาคม 2566 (2 น.)6.4นายพราน
พฤษภาคม 2568 (13 น.)5.6คันชั่ง
13 ตุลาคม 2569 (13 น.)6.3ซีตัส


ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส

โดยทั่วไป มีดาวเคราะห์น้อยสองดวง คือซีรีสและเวสตาเท่านั้น ที่พอจะสังเกตได้ด้วยกล้องสองตาสำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่น แต่มีเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย อย่างการเฉียดใกล้โลกของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (99942 Apophis) ในวันที่ 13-14 เมษายน 2572 อะโพฟิสถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2547 การสังเกตด้วยเรดาร์เมื่อ พ.ศ. 2555-2556 ได้รับการประเมินว่ามีขนาดราว 450 × 170 เมตร จะผ่านใกล้โลกที่ระยะห่างเพียง 37,700 กิโลเมตร ทำให้สว่างถึงระดับที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า (ยังคงเห็นเป็นเพียงจุดสว่างคล้ายดาว)

ประเทศไทยสามารถสังเกตเห็นได้ทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่หัวค่ำของวันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2572 อะโพฟิสจะขึ้นทางทิศตะวันออก ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อยู่สูงสุดบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาประมาณเที่ยงคืน เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวงูไฮดรา นกกา ถ้วย และสิงโต ตลอดทั้งคืน อะโพฟิสจะสว่างขึ้นเรื่อย ๆ จากโชติมาตร 6.4 ไปที่ 3.9 สว่างที่สุดก่อนจะตกลับขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาตี ครึ่ง ของวันเสาร์ที่ 14 เมษายน 2572 ซึ่งเป็นเวลาประมาณ ชั่วโมง ก่อนใกล้โลกที่สุด

แนวการเคลื่อนที่ของอะโพฟิสขณะเฉียดใกล้โลกในวันที่ 13-14 เมษายน 2572 (จาก CNEOS)

ดูเพิ่ม


 รู้จักดาวหาง