คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับดาวตกชนิดระเบิด
สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อวันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลาประมาณ 18:30 น. ซึ่งมีรายงานผู้พบเห็นดวงไฟสว่างสีเขียวเคลื่อนที่บนท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว และเกิดเสียงดังให้ได้ยินเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมหลายจังหวัดในภาคเหนือ ต่อไปนี้เป็นคำถาม-คำตอบ ที่จะช่วยอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมชาติของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
คาดว่าเป็นดาวตกชนิดระเบิด ซึ่งเป็นลูกไฟชนิดหนึ่ง
(โชติมาตร -4) หรือสว่างกว่าดาวศุกร์ว่าลูกไฟ (fireball) ดวงที่สว่างมากสามารถเห็นได้ในเวลากลางวัน ดาวตกชนิดระเบิด (bolide) เป็นลูกไฟที่เกิดการระเบิดจนแตกออกเป็นหลายชิ้น บางครั้งมีเสียงดังให้ได้ยินด้วย
(meteor) เป็นปรากฏการณ์ที่เรามองเห็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า เกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ มีต้นกำเนิดจากสะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นวัตถุแข็งล่องลอยอยู่ในอวกาศ เคลื่อนที่เข้ามาในบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูง (ราว 11-72 กิโลเมตร/วินาที) ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ถูกทำลายในบรรยากาศเนื่องจากความเสียดทานและความร้อนสูง หากสะเก็ดดาวมีขนาดใหญ่ เป็นชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อย และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ มีโอกาสจะเหลือชิ้นส่วนตกถึงพื้นโลก เรียกชิ้นส่วนที่ตกถึงพื้นว่าอุกกาบาต (meteorite)
นอกจากนี้ยังเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ สะเก็ดดาวมีหลายขนาด ตั้งแต่ระดับไมครอนถึงราว 1 เมตร ใหญ่กว่านั้นเรียกว่าดาวเคราะห์น้อย
เป็นผลจากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจนอากาศที่อยู่รอบ ๆ บีบอัดจนเกิดคลื่นกระแทก (shock wave) เมื่อคลื่นเดินทางมาถึงผู้สังเกตทำให้ได้ยินเสียง ทำนองเดียวกับเครื่องบินที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเหนือเสียงจนก่อให้เกิดซอนิกบูม (sonic boom)
ลูกไฟที่เกิดเสียงดังต้องมีความสว่างมากเกิดการระเบิดเมื่อเข้ามาถึงระดับต่ำกว่า 50 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน และมักเกิดเสียงดังให้ได้ยินตามหลังการเห็นแสงจากดาวตก เนื่องจากเสียงมีความเร็วต่ำกว่าแสง
มีรายงานการเห็นดาวตกสีต่าง ๆ ตลอดสเปกตรัม ตั้งแต่สีแดงไปจนถึงสีม่วง สีขาวเหลืองเกิดจากโซเดียม สีเขียวเกิดจากนิกเกิล แมกนีเซียมทำให้เกิดสีน้ำเงิน ความเร็วของดาวตกก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ดาวตกที่เคลื่อนที่ช้ามักมีสีแดง ส่วนดาวตกที่เคลื่อนที่เร็วมักมีสีน้ำเงิน แสงของดาวตกที่เห็นส่วนใหญ่เกิดจากการเปล่งแสงของอนุภาคในบรรยากาศตามแนวที่สะเก็ดดาวเคลื่อนผ่าน
ส่วนใหญ่เกิดเหนือมหาสมุทรและสถานที่รกร้างห่างไกลผู้คน เป็นสาเหตุให้ไม่ค่อยได้เห็นลูกไฟบนท้องฟ้า มีการประมาณกันว่าหากเราเฝ้ามองท้องฟ้าเวลากลางคืนที่ปลอดโปร่งด้วยระยะเวลา 20 ชั่วโมงหรือนานกว่า มีโอกาสเห็นลูกไฟเฉลี่ยราว 1 ดวง
Glossary - International Meteor Organization
●Fireball FAQs - American Meteor Society
ปรากฏการณ์นี้เกิดจากอะไร
จากหลักฐานคลิปวิดีโอและคำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ลูกไฟคืออะไร
เราเรียกดาวตกที่มีความสว่างใกล้เคียงดาวศุกร์ดาวตกคืออะไร
ดาวตกสะเก็ดดาวเกิดจากอะไร
สะเก็ดดาวเป็นส่วนหนึ่งของซากที่เหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะเสียงดังหลังจากมองเห็นดาวตกเกิดจากอะไร
ดาวตกขนาดใหญ่บางดวงสามารถก่อให้เกิดเสียงดังให้ได้ยินลูกไฟที่เกิดเสียงดังต้องมีความสว่างมาก
สีของดาวตกเกิดจากอะไร
ปัจจัยที่ส่งผลต่อสีของดาวตกคือองค์ประกอบในบรรยากาศและองค์ประกอบของสะเก็ดดาวลูกไฟเกิดบ่อยแค่ไหน
คาดว่าในแต่ละวันมีลูกไฟเกิดขึ้นทั่วโลกหลายพันครั้งทั้งซีกโลกด้านกลางวันและกลางคืนแหล่งอ้างอิง
●●