สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แผนที่น้ำบนดาวอังคาร

แผนที่น้ำบนดาวอังคาร

8 มี.ค. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ทราบมาเป็นเวลานานแล้วว่า ในอดีตดาวอังคารเคยเป็นดาวเคราะห์ที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ จากหลักฐานที่ปรากฏมากมายในรูปของหุบผาชัน คลอง ร่องธาร และอื่น ๆ แต่ปัญหาใหญ่ที่ยังหาคำตอบไม่ได้คือ ปัจจุบันน้ำเหล่านั้นหายไปไหน? 

มาร์สโอดิสซีย์มีคำตอบ 

ในที่ประชุมสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกันในเดนเวอร์ บิล เฟลด์แมน จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอลามอส ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้สืบสวนของสเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนบนยานมาร์สโอดิสซีย์ของนาซา ได้แสดงแผนที่การกระจายของไฮโดรเจนทั่วพื้นผิวของดาวอังคาร ภาพดังกล่าวแสดงปริมาณของไฮโดรเจนมหาศาลใต้ผิวดินของดาวอังคาร 

เฟลด์แมนและคณะของโอดิสซีย์เชื่อว่าไฮโดรเจนเหล่านี้คือไฮโดรเจนที่อยู่ในโมเลกุลของน้ำ แสดงว่าน้ำยังคงมีอยู่จำนวนมากใต้ผิวดิน ปริมาณน้ำนี้มากพอที่จะสนับสนุนการนำมนุษย์ไปสำรวจบนดาวอังคารในอนาคตได้สบาย ๆ จริง ๆ แล้วหากน้ำจำนวนนี้อยู่ผิวดินก็จะมากพอที่จะท่วมผิวดาวทั้งดวงให้สูงถึง นิ้ว 

สเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนของมาร์สโอดิสซีย์เป็นส่วนหนึ่งของสเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมา คล้ายกับที่มีบนยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์ ซึ่งเฟลด์แมนก็เป็นหัวหน้าผู้สืบสวนเช่นกัน และทำให้ค้นพบแหล่งน้ำบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก อุปกรณ์นี้มีหน้าที่ตรวจจับนิวตรอนที่หลุดจากอะตอมเนื่องจากการพุ่งชนของรังสีคอสมิก นิวตรอนที่หลุดออกมามีความเร็วต่างกันขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่อยู่ในดิน ไฮโดรเจนเป็นตัวหน่วงนิวตรอนที่ดี ดังนั้นการตรวจพบการหน่วงของนิวตรอนเป็นการแสดงว่ามีไฮโดรเจนอยู่ในผิวดินมาก 

ข้อมูลจากสเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนแสดงว่ามีไฮโดรเจนจำนวนมากบริเวณขั้วทั้งสองของดาวอังคาร ส่วนบริเวณศูนย์สูตรมีไฮโดรเจนอยู่น้อย ยกเว้นเพียงสองพื้นที่ซึ่งมีปริมาณไฮโดรเจนใต้ผิวดินมากเป็นพิเศษ พื้นที่หนึ่งอยู่ในทะเลทรายอาระเบียเทอร์รา มีความกว้าง 3,040 กิโลเมตร อีกพื้นที่หนึ่งอยู่อีกซีกดาวตรงข้ามกันพอดี 

แม้ว่าขีดความสามารถของสเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนของมาร์สโอดิสซีย์จะสำรวจได้ลึกเพียง เมตร แต่นักทฤษฎีเชื่อว่าลึกลงไปกว่านี้อาจยังมีน้ำอีกก็ได้ 

ยานโอดิสซีย์ยังคงสำรวจระดับไฮโดรเจนบนพื้นผิวดาวอังคารต่อไปจนกระทั่งเสร็จสิ้นอายุงานซึ่งยังเหลืออีกเกือบ 900 วัน และนักดาราศาสตร์จะต้องค้นหาคำตอบของคำถามข้อใหม่ว่า น้ำซึมลงไปอยู่ในก้อนหินและดินได้อย่างไร 





แผนที่น้ำซีกเหนือของดาวอังคาร (ภาพจาก Los Alamos National Laboratory)

แผนที่น้ำซีกเหนือของดาวอังคาร (ภาพจาก Los Alamos National Laboratory)

แผนที่น้ำซีกใต้ของดาวอังคาร (ภาพจาก Los Alamos National Laboratory)

แผนที่น้ำซีกใต้ของดาวอังคาร (ภาพจาก Los Alamos National Laboratory)

แผนที่แสดงระดับของไฮโดรเจน ถ่ายโดยสเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนของยานมาร์สโอดิสซีย์ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าไฮโดรเจนนี้อยู่ในรูปของน้ำใต้ดิน ส่วนสีแดงแสดงระดับความหนาแน่นของไฮโดรเจนสูงสุด สีน้ำเงินแทนระดับต่ำสุด เส้นสีดำแสดงเค้าร่างของสภาพทางภูมิศาสตร์ จะเห็นว่ามีบริเวณที่มีไฮโดรเจนหนาแน่นสองบริเวณแถบศูนย์สูตร (ภาพจาก Los Alamos National Laboratory)

แผนที่แสดงระดับของไฮโดรเจน ถ่ายโดยสเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนของยานมาร์สโอดิสซีย์ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าไฮโดรเจนนี้อยู่ในรูปของน้ำใต้ดิน ส่วนสีแดงแสดงระดับความหนาแน่นของไฮโดรเจนสูงสุด สีน้ำเงินแทนระดับต่ำสุด เส้นสีดำแสดงเค้าร่างของสภาพทางภูมิศาสตร์ จะเห็นว่ามีบริเวณที่มีไฮโดรเจนหนาแน่นสองบริเวณแถบศูนย์สูตร (ภาพจาก Los Alamos National Laboratory)

ที่มา: