สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกสิงโตไขความลับดาวตก

ฝนดาวตกสิงโตไขความลับดาวตก

27 ธ.ค. 2544
รายงานโดย: ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช (panatpongc@yahoo.com)
เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2544 ทีมนักวิจัยได้ประกาศความสำเร็จในการศึกษาองค์ประกอบภายในของดาวตกต่อที่ประชุมสหภาพธรณีฟิสิกส์แห่งอเมริกา ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ ฮันส์ สเตนเบก-นีลเซน แห่งมหาวิทยาลัยอลาสกาวิทยาเขตแฟร์แบงส์ สังเกตดาวตกสิงโตด้วยกล้องวิดีโอ ในโครงการสังเกตฝนดาวตกสิงโตลอยฟ้าของศูนย์วิจัยเอมส์ องค์การนาซา กล้องดังกล่าวสามารถถ่ายภาพดาวตกได้ด้วยความเร็วสูงถึง 1000 ภาพ/วินาที แต่เดิมกล้องนี้เป็นกล้องที่ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์แสงวาบในบรรยากาศชั้นสูงที่เกิดจากพายุฟ้าคะนอง 

การสังเกตดังกล่าวมีขึ้นในอลาสกา ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เมื่อเขาเห็นดาวตกดวงหนึ่งพาดผ่านท้องฟ้าในบริเวณที่กล้องของเขากำลังบันทึกภาพอยู่ เขาจึงหยุดการถ่ายภาพและเริ่มบันทึกข้อมูลภาพจำนวนหลายร้อยรูปไว้ทันที "วิดีโอบอกให้เรารู้เป็นครั้งแรกว่าแสงสว่างจากดาวตกส่วนใหญ่ที่เราเห็นนั้นมาจากพลาสมาที่เกิดขึ้นจากดาวตก" ปีเตอร์ เจนนิสเคนส์ แห่งโครงการ SETI กล่าวทิ้งท้าย 

ภาพวิดีโอเปิดเผยให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติของดาวตกเพิ่มมากขึ้น

ภาพวิดีโอเปิดเผยให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติของดาวตกเพิ่มมากขึ้น

ที่มา: