สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จรวดของจีนเตรียมตกใส่โลกในวันที่ 9 พฤษภาคม 2564

จรวดของจีนเตรียมตกใส่โลกในวันที่ 9 พฤษภาคม 2564

8 พ.ค. 2564
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด ()
วันที่ 29 เมษายน 2564 จีนปล่อยจรวดลองมาร์ช บี ขึ้นจากฐานส่งซึ่งตั้งอยู่บนเกาะไหหลำในภารกิจส่งมอดูลเทียนเหอขนาด 16.6 เมตร ซึ่งเป็นมอดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกงขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจตามเป้าหมายแล้ว จรวดที่ใช้ส่งได้โคจรรอบโลกต่อไป โดยมีวงโคจรต่ำลงเรื่อย ๆ ตามอิทธิพลความโน้มถ่วง บรรยากาศโลก และการเปลี่ยนแปลงบนดวงอาทิตย์ซึ่งส่งผลต่อบรรยากาศโลก

จรวดที่ใช้ส่งมอดูลนี้ไม่สามารถควบคุมได้ มีกำหนดจะกลับเข้าสู่บรรยากาศในวันอาทิตย์ที่ พฤษภาคม 2564 ตามเวลาประเทศไทย โดยการคาดหมายเวลาตกยังมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง ด้วยขนาดและมวลที่หนักถึง 20 ตัน คาดว่าหลังจากจรวดเผาไหม้ในบรรยากาศแล้ว จะมีชิ้นส่วนหลงเหลือมาถึงพื้นโลก แต่มีโอกาสน้อยที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

จากข้อมูลวงโคจรปรับปรุงล่าสุดในวันที่ พฤษภาคม 2564 เวลา 11:00 น. แสดงว่าจรวดลองมาร์ช บี กำลังโคจรรอบโลกเป็นวงรีที่ความสูง 145 217 กิโลเมตร เอียงทำมุม 41.5° กับเส้นศูนย์สูตร และมีคาบการโคจร 88 นาที ผลการคำนวณโดยหน่วยงานของกองทัพสหรัฐคาดว่าจรวดจะเข้าสู่บรรยากาศในวันที่ พฤษภาคม 2564 เวลาใดเวลาหนึ่งระหว่าง 04:00-16:00 น. ตามเวลาประเทศไทย ความไม่แน่นอนสูงนี้แสดงว่ายังไม่ทราบเวลาและตำแหน่งตกที่แน่นอน สิ่งที่สามารถบอกได้เพียงอย่างเดียวในเวลานี้คือจรวดจะตกในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่อยู่ระหว่างละติจูด 41.5° เหนือ ถึง 41.5° ใต้

จรวดท่อนที่จะตกสู่โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง เมตร ยาว 30 เมตร หนักประมาณ 20 ตัน จะเข้าสู่บรรยากาศด้วยความเร็วราว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โครงสร้างส่วนใหญ่จะเสียดสีและเผาไหม้จากความหนาแน่นของบรรยากาศ แต่ซากชิ้นส่วนหลายชิ้นสามารถหลุดรอดลงมาถึงพื้นโลกได้ โดยอาจหนักรวมกันหลายตัน

พื้นผิวโลกส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร และพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีคนอาศัยอยู่ โอกาสที่คนจะได้รับผลกระทบจากการตกจึงเป็นไปได้น้อย แต่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น จรวดรุ่นเดียวกันได้เคยเข้าสู่บรรยากาศเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 ในแอตแลนติกเหนือ มีรายงานว่าซากจรวดบางส่วนตกในโกตดิวัวร์ ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ

จีนถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบจรวดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเช่นนี้ จรวดสมัยใหม่ของประเทศอื่นได้รับการออกแบบให้มีหลายท่อน มีการปล่อยเป็นระยะ และหลังจากจรวดท่อนสุดท้ายเสร็จภารกิจแล้วจะจุดเครื่องยนต์เพื่อนำจรวดกลับเข้าสู่บรรยากาศโดยควบคุมให้ตกสู่มหาสมุทร หรือนำกลับมาใช้ใหม่ แต่กรณีของจรวดลองมาร์ช บี เป็นจรวดท่อนใหญ่ ประกบด้วยจรวดขับดัน ท่อน ท่อนบนสุดใช้บรรทุกสัมภาระ หลังจากเสร็จภารกิจแล้ว จรวดท่อนหลักจะถูกปล่อยให้โคจรรอบโลก และตกสู่โลกโดยปราศจากการควบคุม

หลังจากเหตุการณ์นี้ จีนมีภารกิจในการนำมอดูลและยานขนสัมภาระไปเชื่อมต่ออีก 10 เที่ยวบิน เพื่อประกอบกันเป็นสถานีอวกาศเทียนกง มีกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ในปลาย พ.ศ. 2565 โดยทั้งหมดจะใช้จรวดลองมาร์ชแบบเดียวกันหรือคล้ายกัน ทั่วโลกจึงมีความเสี่ยงอีกหลายครั้งที่จรวดขนาดใหญ่ของจีนจะตกใส่

ดาวเทียมหมดอายุ ซากจรวด หรือขยะอวกาศ ตกสู่โลกอยู่เนือง ๆ แต่นานทีจึงมีชิ้นที่หนักหลายตันซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง การพยากรณ์เวลาตกของขยะอวกาศไม่สามารถทำได้แม่นยำนัก เนื่องจากสภาพบรรยากาศโลกและดวงอาทิตย์อันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผลการพยากรณ์จะมีความแม่นยำมากขึ้นเมื่อใกล้เวลาตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนตก

อนึ่ง การตกในวันที่ พฤษภาคม 2564 จรวดมีเส้นทางผ่านภาคเหนือของประเทศไทย ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในเวลาประมาณ 06:20-06:28 น. เมื่อใกล้เวลาตก หากผลการพยากรณ์แสดงว่าจรวดตกหลังจากเวลานี้ ก็แสดงว่าประเทศไทยไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง แต่หากเกิดขึ้นใกล้เคียงหรือก่อนเวลานี้เล็กน้อย ก็มีโอกาสที่ชิ้นส่วนบางชิ้นอาจลงมาถึงบริเวณประเทศไทย

ข้อมูลล่าสุด


พ.ค. เวลา 04:45 น. คาดหมายเวลาตกคือ 09:04 น. (±1 ชั่วโมง) จึงเป็นที่แน่นอนว่าประเทศไทยไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ช่วงเวลาดังกล่าว จรวดมีเส้นทางผ่านออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกากลาง ตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ตอนใต้ของยุโรป ตะวันออกกลาง และมหาสมุทรอินเดีย จากวงโคจรล่าสุด จุดตกที่เป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้อยู่ในพื้นที่ของออสเตรเลียและมหาสมุทรอินเดีย

พ.ค. เวลา 07:40 น. คาดหมายเวลาตกคือ 09:11 น. (±1 ชั่วโมง) พื้นที่ซึ่งจรวดมีโอกาสจะตกจึงแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากเส้นทางที่ได้ระบุไว้ก่อนหน้านี้

พ.ค. เวลา 09:35 น. มีรายงานการมองเห็นว่าชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช บี ยังคงโคจรอยู่ขณะผ่านเหนือประเทศจอร์แดนเมื่อเวลา 09:11 น. หากจรวดโคจรตามวงโคจรที่คาดหมาย ควรจะมีระดับต่ำลงและอาจตกในมหาสมุทรอินเดียหรือออสเตรเลีย หากล่าช้ากว่านั้น จรวดจะเคลื่อนต่อไปยังนิวซีแลนด์และมหาสมุทรแปซิฟิก

พ.ค. เวลา 10:30 น. บัญชีทางการขององค์การบริหารอวกาศแห่งประเทศจีน (CNSA) ในสื่อสังคมออนไลน์เวยป๋อ รายงานว่าจรวดตกเมื่อเวลา 09:24 น. ที่พิกัดละติจูด 2.65° เหนือ ลองจิจูด 72.47° ตะวันออก ซึ่งอยู่บริเวณหมู่เกาะของประเทศมัลดีฟส์ในมหาสมุทรอินเดีย

พ.ค. เวลา 11:25 น. กองบัญชาการอวกาศแห่งสหรัฐอเมริกา (USSPACECOM) ยืนยันว่าชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช บี ได้ตกสู่โลกแล้ว โดยระบุว่าเกิดขึ้นเมื่อเวลา 09:14 น. (±1 นาที) ที่พิกัดละติจูด 22.2° เหนือ ลองจิจูด 50.0° ตะวันออก เหนือคาบสมุทรอาหรับ ตรงกับบริเวณประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่ยังไม่ทราบว่ามีซากชิ้นส่วนใดตกบนพื้นดินหรือพื้นน้ำหรือไม่

จากรายงานนี้ได้ข้อสรุปว่าจรวดได้เริ่มเข้าสู่ส่วนที่หนาแน่นของบรรยากาศโลกตั้งแต่เวลา 09:14 น. ขณะโคจรอยู่เหนือซาอุดีอาระเบีย จากนั้นค่อย ๆ ถูกทำลายขณะมุ่งหน้าต่อไปยังโอมานและมหาสมุทรอินเดีย สิ้นสุดกระบวนการทั้งหมดเมื่อเข้าใกล้เกาะมัลดีฟส์

องค์การบริหารอวกาศแห่งประเทศจีนปล่อยจรวดลองมารช์ 5 บี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ในภารกิจนำมอดูลเทียนเหอขึ้นสู่อวกาศ

องค์การบริหารอวกาศแห่งประเทศจีนปล่อยจรวดลองมารช์ 5 บี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ในภารกิจนำมอดูลเทียนเหอขึ้นสู่อวกาศ (จาก CNSA)

ที่มา: