สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบแหล่งกำเนิดรังสีแกมมารอบใจกลางทางช้างเผือก

พบแหล่งกำเนิดรังสีแกมมารอบใจกลางทางช้างเผือก

16 ธ.ค. 2540
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ได้พบหลักฐานของที่อยู่ของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมา ซึ่งเป็นรูปร่างทรงกลมครอบดาราจักรทางช้างเผือกอยู่ แต่สาเหตุที่มาของทรงกลมนี้ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

เดวิด ไดซอน (David Dixon) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ประกาศการค้นพบนี้ในที่ประชุมฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง เมื่อวันที่ พฤศจิกายน ที่โคโลราโด ทีมนักวิจัยของเขาได้ใช้ข้อมูลจากสถานีสังเกตการณ์รังสีแกมมาคอมป์ตัน (Compton Gamma Ray Observatory --GRO) และได้พบทรงกลมของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาพลังงานสูงหลายพันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (1 อิเล็กตรอนโวลต์เท่ากับ 1.6 10-19 จูล) นักดาราศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าา ทรงกลมของพลังงานนั้นอาจจะเกิดจากเมฆจากนิวตรอนที่เกิดใหม่ ซึ่งเป็นอนุภาคที่เกิดขึ้นจากซูเปอร์โนวากำลังชนกับอนุภาคโฟตอนอินฟราเรดพลังงานต่ำ หรืออาจเกิดจากอนุภาคมูลฐานของสสารมืดบางชนิดกำลังทำลายล้างกันเอง 

ภาพสีเพี้ยนของดาราจักรทางช้างเผือก ในย่านรังสีแกมมา ถ่ายโดยสถานีสังเกตการณ์รังสีแกมมาคอมป์ตัน (Compton Gamma Ray Observatory) ภาพนี้แสดงในพิกัดดาราจักร แกนนอนคือระนาบของดาราจักร แสดงให้เห็นถึงทรงกลมของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาครอบบริเวณใจกลางของดาราจักร ซึ่งไม่เคยตรวจจับได้มาก่อน ภาพจาก มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย

ภาพสีเพี้ยนของดาราจักรทางช้างเผือก ในย่านรังสีแกมมา ถ่ายโดยสถานีสังเกตการณ์รังสีแกมมาคอมป์ตัน (Compton Gamma Ray Observatory) ภาพนี้แสดงในพิกัดดาราจักร แกนนอนคือระนาบของดาราจักร แสดงให้เห็นถึงทรงกลมของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาครอบบริเวณใจกลางของดาราจักร ซึ่งไม่เคยตรวจจับได้มาก่อน ภาพจาก มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย

ที่มา: