สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พลาเนต-บี ยานสำรวจดาวอังคารของญี่ปุ่น

พลาเนต-บี ยานสำรวจดาวอังคารของญี่ปุ่น

17 ม.ค. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ยานพลาเนต-บี ยานอวกาศสำรวจดาวอังคารลำแรกของญี่ปุ่นพร้อมแล้วที่จะเดินทางสู่อวกาศในปลายปี 2541 นี้ 

ในขณะนี้ยานพลาเนต-บีอยู่ในขั้นตอนการทดสอบขั้นสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะสิ้นสุดในราวกลางเดือนเมษายน ก่อนที่จะบรรจุและขนส่งยานไปที่ฐานปล่อยคาโกชิมา ในคิวชู ตอนใต้ของญี่ปุ่น เตรียมพร้อมสำหรับการออกเดินทางในเดือนสิงหาคมปี 2541 

หลังจากขึ้นสู่อวกาศแล้ว ยานพลาเนต-บีจะโคจรรอบโลกเป็นวงรี รอบ ใช้เวลา เดือน และอาศัยแรงดึงดูดจากดวงจันทร์เหวี่ยงยานให้มุ่งหน้าไปยังดาวอังคาร ซึ่งจะไปถึงในราวกลางเดือนตุลาคม 2542 ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 10 เดือน 

ยานพลาเนต-บีใช้พลังงานจากแบตเตอรี่นิเกิล เมทัล ไฮไดรด์ (Ni-MH) และพลังงานแสงอาทิตย์จากเซลสุริยะซิลิกอนที่สามารถแปลงพลังงานได้ 18 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานจากดวงอาทิตย์ คอมพิวเตอร์ของยานใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 128 บิต น้ำหนักของคอมพิวเตอร์นี้หนักไม่ถึง กิโลกรัม 

หน้าที่หลักของยานลำนี้คือการค้นหาว่าลมสุริยะทำให้บรรยากาศชั้นบนของดาวอังคารหายไปได้อย่างไร ในขณะที่ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์สำรวจบรรยากาศเฉพาะชั้นล่าง จนถึงบัดนี้นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบว่าออกซิเจนในบรรยากาศของดาวอังคารสูญหายไปได้อย่างไร 

ภายในยานมีชุดอุปกรณ์ชุดหนึ่งน้ำหนักรวม 35 กิโลกรัม ประกอบด้วยอุปกรณ์สำรวจ 15 ชิ้นจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก อุปกรณ์ดังกล่าวอาทิเช่น แมสสเปกโทรมิเตอร์ของศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) อุปกรณ์วิทยุจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เทอร์มอลพลาสมาอนาไลเซอร์ จากมหาวิทยาลัยคาลแกรี ไอออนแมสสเปกโทรมิเตอร์จากสวีเดน เครื่องนับฝุ่นจากเยอรมนี และระบบการบีบอัดข้อมูลจากกล้องซีซีดีของฝรั่งเศส เป็นต้น 

ยานพลาเนต-บี

ยานพลาเนต-บี

ที่มา: