ฝนดาวตกคนคู่ 2547
คืนวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคมนี้ หากผู้อ่านมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดอาจลองใช้โอกาสนี้ในการสังเกตการณ์ฝนดาวตกคนคู่ซึ่งถือว่าเป็นฝนดาวตกกลุ่มที่น่าดูที่สุดในรอบปี เพราะมีอัตราตกค่อนข้างมากและเกิดในช่วงฤดูหนาวที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเป็นส่วนใหญ่
ปกติเราสามารถมองเห็นดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ได้ระหว่างวันที่7-17 ธันวาคม แต่จะพบว่าดาวตกมีความถี่สูงสุดในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม โดยปีนี้คาดว่าวันที่เห็นได้มากที่สุดตรงกับคืนวันที่ 13 ธันวาคม เวลาที่ฝนดาวตกคนคู่มีอัตราสูงสุดจะมองเห็นได้ในทวีปเอเชีย ประเทศไทยอาจเห็นดาวตกราว 70-100 ดวงต่อชั่วโมงภายใต้ท้องฟ้าที่มืดสนิทไม่มีแสงไฟและหมอกควันรบกวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั่วโมงที่จุดกระจายดาวตก (ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่) อยู่สูงที่สุดบนท้องฟ้า ตรงกับเวลาประมาณ 2.00-3.00 น. แต่สามารถเริ่มสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. หรือเวลาเดียวกับที่เห็นดาวเสาร์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่หากท้องฟ้ามีเมฆหมอกหรือสังเกตจากในเมือง จำนวนดาวตกที่เห็นได้จะน้อยกว่านี้มาก
สะเก็ดดาวที่ทำให้เกิดฝนดาวตกคนคู่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อยฟีธอนดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ส่วนใหญ่มีสีขาวและเหลือง มีการเคลื่อนที่ค่อนข้างช้าและสามารถพบลูกไฟซึ่งเป็นดาวตกที่มีความสว่างมากได้ราวร้อยละ 5 ของดาวตกทั้งหมด การดูดาวตกควรมองไปทั่วๆ ฟ้า ไม่จำเป็นว่าจะต้องมองไปในทิศใดทิศหนึ่ง
ปกติเราสามารถมองเห็นดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ได้ระหว่างวันที่
สะเก็ดดาวที่ทำให้เกิดฝนดาวตกคนคู่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อยฟีธอน