ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดี : 12 สิงหาคม 2555
กลางดึกของคืนวันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม เข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2555 ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏเป็นดาวสว่างอยู่ใกล้ดวงจันทร์เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก เป็นปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เป็นปกติสำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย แต่มีบางจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ทั่วทั้งจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กับพื้นที่บางส่วนของสงขลา ตรัง พัทลุง และสตูล มีโอกาสเห็นดวงจันทร์บดบังดาวพฤหัสบดีหลังจากขึ้นเหนือขอบฟ้าไม่นาน
ซึ่งเรียกว่า “ระนาบสุริยวิถี” ดวงจันทร์เอียงทำมุมเพียง 5°กับระนาบสุริยวิถี ทำให้มีโอกาสที่ดวงจันทร์จะเคลื่อนมาบังดาวเคราะห์ได้ เรียกว่าการบัง (occultation) หากผ่านตรงกลางพอดี การบังจะใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง สามารถสังเกตได้ชัดเจนในกรณีที่เป็นการบังดาวเคราะห์สว่าง และเกิดขึ้นในเวลากลางคืน
ก่อนเช้าตรู่ของวันแม่ในปีนี้ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2555 จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดี เห็นได้ในพื้นที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน ทางใต้ของเวียดนาม และติมอร์ตะวันออก รวมทั้งบางส่วนของปาปัวนิวกินี นอกนั้นได้แก่บริเวณใกล้ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ส่วนหมู่เกาะฮาวายและตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกจะเกิดขึ้นในเวลากลางวัน
ดาวเคราะห์มีขนาดปรากฏเล็กเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากโลก ทำให้เราเห็นดาวเคราะห์เป็นจุดแสงคล้ายดาวฤกษ์ แสงดาวเคราะห์ที่กระทบดวงจันทร์จะทำให้เกิดเงาขนาดกว้างใหญ่พาดลงมาบนผิวโลก ประเทศที่อยู่ในแนวที่เงาดวงจันทร์พาดผ่านจะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์บดบังดาวเคราะห์ได้ แต่ต้องอยู่ในบริเวณที่เป็นกลางคืน ไม่มีเมฆบัง จึงจะสังเกตได้ชัดเจน
ดวงจันทร์และดาวพฤหัสบดี
ช่วงพ.ศ. 2555-2556 จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีจำนวน 10 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 17 มิถุนายน 2555 สังเกตได้ในบริเวณตอนเหนือสุดของแคนาดา ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 สังเกตได้จากตอนใต้ของออสเตรเลีย หลังจากนั้น ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีชุดถัดไปจะเกิดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2559
ปรากฏการณ์ในวันที่12 สิงหาคม 2555 เป็นดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีครั้งเดียวในชุดปัจจุบันที่เห็นได้จากประเทศไทย โดยเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของข้างแรม ดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวคิดเป็นพื้นที่ด้านสว่างราว 1 ใน 3 ของดวง ส่วนดาวพฤหัสบดีมีขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตร 37 พิลิปดา (เล็กกว่าดวงจันทร์ประมาณ 48 เท่า) ขนาดปรากฏตามแนวขั้ว 35 พิลิปดา เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นเป็นทรงกลมแป้น และเห็นดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีได้ ซึ่งดาวบริวารก็จะถูกดวงจันทร์บดบังไปด้วยในเวลาที่ต่างกัน
ขณะเกิดปรากฏการณ์ไอโอและยูโรปาเกือบอยู่ในแนวเดียวกับดาวพฤหัสบดี (กำลังผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี) จึงอาจสังเกตได้ยาก ส่วนแกนีมีดและคัลลิสโตอยู่ทางทิศตะวันออกของดาวพฤหัสบดี จึงถูกดวงจันทร์บังตามหลังดาวพฤหัสบดี
1 ครึ่ง โดยอยู่ในกลุ่มดาววัว ห่างดาวอัลเดบารันหรือดาวตาวัว ซึ่งเป็นดาวสว่างสีส้มในกลุ่มดาววัว เป็นระยะเชิงมุม 5° และมีกระจุกดาวลูกไก่อยู่สูงขึ้นมาเหนือดวงจันทร์ประมาณ 13°
เมื่อดวงจันทร์ขึ้นสูงเหนือขอบฟ้าพอสมควรแล้วหากท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆฝนบดบัง ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะเห็นดาวพฤหัสบดีเป็นดาวสว่างอยู่ทางทิศเหนือ หรือซ้ายมือของดวงจันทร์ โดยด้านสว่างของดวงจันทร์หันเข้าหาขอบฟ้าตามลักษณะของดวงจันทร์ข้างแรม
เมื่อสังเกตจากภาคใต้ของประเทศไทยดวงจันทร์กับดาวพฤหัสบดีจะปรากฏอยู่ใกล้กัน ยิ่งลงใต้มากขึ้น ก็ยิ่งเข้าใกล้กันมากขึ้น หากอยู่ในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และอำเภอที่อยู่ทางใต้ของสตูลและสงขลา จะมีโอกาสเห็นดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีได้มิดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์เริ่มบังดาวพฤหัสบดีในเวลาไม่นานหลังดวงจันทร์ขึ้น จังหวะนั้นดวงจันทร์จึงอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก หากท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆหมอกบดบัง ก็พอจะสังเกตได้
เราอาจแบ่งพื้นที่ประเทศไทยตามลักษณะการเห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ได้เป็น3 เขต ดังนี้
●เขตที่ไม่เห็นการบัง - ดวงจันทร์กับดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงกันบนท้องฟ้า โดยไม่เกิดการบัง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย
●เขตที่เห็นการบังแบบหมดดวง - ดาวพฤหัสบดีหายเข้าไปอยู่หลังดวงจันทร์ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วกลับมาปรากฏอีกครั้งที่ขอบด้านมืดของดวงจันทร์ ได้แก่ พื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมทั้งอำเภอที่อยู่ทางใต้ของจังหวัดสตูลกับสงขลา และตอนใต้ของเกาะตะรุเตา
●เขตที่เห็นการบังแบบบางส่วน - เขตนี้อยู่ตรงกลางระหว่างเขตแรกกับเขตที่ 2 ดาวพฤหัสบดีเฉียดขอบด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ โดยมีบางส่วนของดาวพฤหัสบดีถูกดวงจันทร์บัง ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของ จ.สงขลา, ส่วนใหญ่ของ จ.สตูล (อำเภอเมืองสตูลอยู่ในเขตที่เห็นการบังแบบหมดดวง), ตอนล่างของ จ.ตรัง, ตอนล่างของ จ.พัทลุง และส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
เมื่อเวลาผ่านไปเขตที่เห็นการบังแบบหมดดวง จะเห็นดาวพฤหัสบดีเริ่มโผล่ออกมาที่ขอบด้านมืดของดวงจันทร์ ซึ่งจังหวะนี้ เมื่อสังเกตจากต่างสถานที่กัน ก็เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน พื้นที่ทางเหนือของเขตนี้จะเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏก่อนพื้นที่ทางใต้ เช่น อ.จะนะ จ.สงขลา ดาวพฤหัสบดีเริ่มโผล่ออกมาที่ขอบดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 01:49:37 น. ขณะที่ อ.เมืองนราธิวาส ดาวพฤหัสบดีเริ่มโผล่ออกมาที่ขอบดวงจันทร์ในเวลา 01:56:39 น.
จังหวะนั้นดวงจันทร์และดาวพฤหัสบดีมีมุมเงยสูงจากขอบฟ้าไม่มาก การสังเกตจึงจำเป็นต้องหาสถานที่ที่ท้องฟ้าด้านนี้เปิดโล่ง หรือสังเกตจากอาคารสูงที่ไม่มีต้นไม้หรืออาคารสูงตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจุดสังเกต นอกจากนี้ ยังต้องลุ้นด้วยว่าจะมีเมฆหมอกเป็นอุปสรรคหรือไม่ ในตารางเป็นผลการคำนวณเมื่อสังเกตจากอำเภอเมืองของจังหวัดที่เห็นการบังในวันนี้
หมายเหตุ:
1.ในวงเล็บหลังเวลาคือมุมเงยของดาวพฤหัสบดี (แสดงเฉพาะสัมผัสที่ 1 และ 4)
2.เมฆหมอกใกล้ขอบฟ้าอาจบดบังดวงจันทร์และดาวพฤหัสบดีขณะเพิ่งขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้า จึงเริ่มเห็นได้ช้ากว่าเวลาที่ระบุ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม
3.ดวงจันทร์ขึ้นที่มุมทิศประมาณ 69° แสดงว่าอยู่ทางซ้ายมือของทิศตะวันออกจริงประมาณ 21°
4.เวลาที่ระบุนี้พอจะใช้เป็นแนวทางได้สำหรับผู้ที่อยู่ในแต่ละอำเภอ การสังเกตการณ์จริงมีโอกาสคลาดเคลื่อนจากเวลานี้ได้หลายสิบวินาที แม้อยู่ในอำเภอเดียวกัน ปัจจัยที่มีผล เช่น จุดสังเกตการณ์อยู่ห่างจากจุดที่คำนวณ, ขอบดวงจันทร์ที่ไม่เรียบ, ดาวพฤหัสบดีมีรูปร่างเป็นทรงรี แต่การคำนวณนี้สมมุติให้เป็นทรงกลมที่มีรัศมีเท่ากับค่าเฉลี่ย เป็นต้น
5.หากต้องการผลการคำนวณสำหรับสถานที่ใด ๆ สามารถใช้เครื่องมือคำนวณด้านล่าง
6.เทียบเวลาประเทศไทยได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 181
ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์สว่างครั้งถัดไปที่เห็นได้ในประเทศไทย เป็นดวงจันทร์บังดาวอังคารในค่ำวันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564 โดยสามารถสังเกตได้ทั่วประเทศในเวลาประมาณ 2-3 ทุ่ม บนท้องฟ้าทิศตะวันตก ส่วนกรณีของดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดี ต้องรอถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2569 ประเทศไทยจึงจะมีโอกาสเห็นได้อีก
ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ที่เห็นได้ในประเทศไทย พ.ศ. 2555-2584
●เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ขึ้น-ตก
●เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
การบัง
ดาวเคราะห์ทุกดวงต่างมีวงโคจรอยู่ในแนวใกล้เคียงกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตยก่อนเช้าตรู่ของวันแม่ในปีนี้
ดาวเคราะห์มีขนาดปรากฏเล็ก
ดวงจันทร์และดาวพฤหัสบดี
ช่วง
ปรากฏการณ์ในวันที่
ขณะเกิดปรากฏการณ์
เมื่อสังเกตจากประเทศไทย
ผู้สังเกตในประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาเกือบตีเมื่อดวงจันทร์ขึ้นสูงเหนือขอบฟ้าพอสมควรแล้ว
เมื่อสังเกตจากภาคใต้ของประเทศไทย
เราอาจแบ่งพื้นที่ประเทศไทยตามลักษณะการเห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ได้เป็น
●
●
●
เมื่อเวลาผ่านไป
จังหวะนั้น
สถานที่ | ดวงจันทร์ขึ้น | สัมผัสที่ | สัมผัสที่ | สัมผัสที่ | สัมผัสที่ |
---|---|---|---|---|---|
อ.เมืองนราธิวาส | 01:22 | 01:33:14 | 01:36:22 | 01:56:39 | 01:59:55 |
อ.เมืองปัตตานี | 01:20 | 01:36:16 | 01:40:43 | 01:52:42 | 01:57:17 |
อ.เมืองยะลา | 01:20 | 01:34:40 | 01:38:16 | 01:54:49 | 01:58:34 |
อ.เมืองสงขลา | 01:22 | 01:39:56 | - | - | 01:53:56 |
อ.หาดใหญ่ | 01:22 | 01:38:57 | - | - | 01:54:42 |
อ.เมืองสตูล | 01:25 | 01:37:26 | 01:43:11 | 01:49:56 | 01:55:49 |
หมายเหตุ:
1.
2.
3.
4.
5.
6.
ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ในอนาคต
หลังจากดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีในปีนี้ดูเพิ่ม
●●
●