สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ : 7 พฤษภาคม 2546

ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ : 7 พฤษภาคม 2546

24 เมษายน 2546
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 25 สิงหาคม 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
เมื่อดาวพุธหรือดาวศุกร์โคจรมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ”การผ่านหน้า (transit)” โดยเฉลี่ยในหนึ่งศตวรรษ ดาวพุธจะผ่านหน้าดวงอาทิตย์ประมาณ 13 ครั้ง ส่วนดาวศุกร์จะเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ยากกว่า และจะเกิดเป็นคู่ แต่ละคู่ห่างกันนานกว่า ศตวรรษ

วันพุธที่ พฤษภาคม 2546 ดาวพุธจะเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์มองเห็นได้เกือบทั่วโลก โดยประเทศไทยจะสามารถมองเห็นได้ตลอดปรากฏการณ์ตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุด ปรากฏการณ์นี้จะเริ่มจากสัมผัสที่ ซึ่งเป็นเวลาที่ขอบดาวพุธแตะขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาประมาณ 12.13 น. จากนั้นสัมผัสที่ เป็นเวลาที่ขอบด้านตะวันออกของดาวพุธแตะกับขอบด้านตะวันออกของดวงอาทิตย์ และเป็นเวลาที่ดาวพุธเข้าไปอยู่ภายในดวงอาทิตย์ทั้งดวง เกิดขึ้นในเวลา 12.18 น. จากนั้นดาวพุธจะเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์กินเวลานานกว่า ชั่วโมง จนไปถึงสัมผัสที่ ซึ่งเป็นเวลาที่ขอบด้านตะวันตกของดาวพุธแตะกับขอบด้านตะวันตกของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นเวลา 17.25 น. จากนั้นอีกประมาณ นาที ดาวพุธจะออกจากดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง เป็นการสิ้นสุดปรากฏการณ์ ณ เวลา 17.30 น.

แผนภาพแสดงการเกิดปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ พฤษภาคม 2546 ตามเวลาประเทศไทย 

เนื่องจากดาวพุธมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1/194 ของดวงอาทิตย์ ทำให้ดาวพุธมีขนาดเล็กมาก ปรากฏเป็นเพียงจุดดำเล็ก ๆ จุดหนึ่ง หากต้องการดูดาวพุธให้เห็นเป็นดวง จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายประมาณ 50-100 เท่าขึ้นไปในการส่องดู ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีแผ่นกรองแสงเช่นเดียวกับที่ใช้ดูสุริยุปราคาบางส่วนในการดูปรากฏการณ์นี้ ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ไม่ได้เกิดขึ้นทุกๆ ครั้งที่ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันในระนาบสุริยวิถี เนื่องจากวงโคจรของดาวพุธทำมุมเอียงกับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าจะเกิดเฉพาะช่วงที่ดาวพุธโคจรมายังตำแหน่งใกล้จุดโนดลง และจุดโนดขึ้นในวงโคจรของตนเอง ซึ่งจะตรงกับช่วงประมาณวันที่ พฤษภาคม และ 10 พฤศจิกายน ตามลำดับ ปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้ในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2501-2600 แสดงในตาราง


ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2501-2600
วันที่เวลา (โดยประมาณ)
พ.ค. 251311.19-19.13 น.
10 พ.ย. 251614.47-20.17 น.
13 พ.ย. 252908.43-13.31 น.
พ.ย. 253610.06-11.47 น.
พ.ค. 254612.13-17.30 น.
พ.ย. 254902.12-07.10 น.
พ.ค. 255918.12-01.42 น.
13 พ.ย. 257513.41-18.07 น.
พ.ย. 258214.18-17.16 น.
พ.ค. 259218.03-00.44 น.
พ.ย. 259506.54-12.07 น.


สิ่งสำคัญที่สุดในการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ คือ หลีกเลี่ยงอันตรายอันเนื่องมาจากแสงสว่างของดวงอาทิตย์ อย่าดูดวงอาทิตย์โดยตรง การสังเกตดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จำเป็นต้องดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงพอประมาณ เพื่อจะทำให้มองเห็นดาวพุธเป็นดวงกลมได้ ท่านที่มีกล้องโทรทรรศน์แต่ไม่มีแผ่นกรองแสง อาจใช้เทคนิคการฉายภาพลงบนฉากรับภาพเช่นเดียวกับการดูสุริยุปราคาบางส่วน และอย่าให้ผู้ที่ไม่รู้หรือเด็กส่องเข้าไปที่กล้องโดยตรง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อดวงตา รวมทั้งไม่ฉายภาพทิ้งไว้เป็นเวลานาน ควรหาฝามาครอบปิดหน้ากล้องในบางช่วง เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนที่อาจสูงเกินไปจากการรับแสงอาทิตย์เป็นเวลานาน


เวลาโดยละเอียดสำหรับผู้สังเกตที่กรุงเทพฯ (ในจังหวัดอื่น ๆ เวลาจะต่างจากนี้ไม่กี่วินาที)
เหตุการณ์เวลามุมเงย
1. ดาวพุธเริ่มแตะขอบดวงอาทิตย์12:13:04 น.87°
2. ดาวพุธเข้าไปในดวงอาทิตย์ทั้งดวง12:17:32 น.87°
3. กึ่งกลาง (ดาวพุธเข้าไปลึกที่สุด)14:51:12 น.52°
4. ดาวพุธเริ่มออกจากดวงอาทิตย์17:25:09 น.16°
5. ดาวพุธออกจากดวงอาทิตย์ทั้งดวง17:29:37 น.14°

ที่มา Fred Espenak NASA/GSFC