สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาและดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2559

อุปราคาและดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2559

6 กุมภาพันธ์ 2559
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 31 กรกฎาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2559 มีสุริยุปราคา ครั้ง จันทรุปราคา ครั้ง และดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ประเทศไทยเห็นสุริยุปราคาบางส่วนในเดือนมีนาคม ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดขึ้นขณะดวงอาทิตย์ใกล้ตก จึงสังเกตได้ยาก ส่วนจันทรุปราคาทั้งสองครั้ง เป็นจันทรุปราคาเงามัว ดวงจันทร์หมองคล้ำลงเพียงเล็กน้อย สังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ยาก

1. สุริยุปราคาเต็มดวง มีนาคม 2559


วันพุธที่ มีนาคม 2559 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิดหมดดวง แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย อินโดนีเซีย และตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก ส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งบางส่วนของอะแลสกา ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนได้ทั่วประเทศ โดยภาคใต้เห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุด

สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกเวลา 06:19 น. จากนั้นเงามืดเริ่มแตะผิวโลกเวลา 07:16 น. ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างชายฝั่งสุมาตราของอินโดนีเซียไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1,400 กิโลเมตร เงามืดเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก แล้ววกขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางใต้ของเกาะสุมาตรา เมืองปาเล็มบังเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 52 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 18°

สุริยุปราคาบางส่วน 15 มกราคม 2553 (จาก พงศธร กิจเวช)

เงาคราสเต็มดวงผ่านเกาะกาลีมันตัน (บอร์เนียว) และสุลาเวสี เมืองปาลูเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 37° จากนั้นผ่านเกาะโมลุกกะเหนือ เมืองเตอร์นาตีเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 40 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 48°

กึ่งกลางคราส ซึ่งเป็นเวลาที่ศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุด เกิดขึ้นเวลา 08:57 น. ในมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่กึ่งกลางนาน นาที 9.5 วินาที เงามืดยังคงเคลื่อนต่อไปในทิศทางเดิม ออกจากผิวโลกเวลา 10:38 น. ทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยไม่ผ่านแผ่นดินที่ใดอีก จากนั้นสุริยุปราคาสิ้นสุดลงเมื่อเงามัวของดวงจันทร์ออกจากผิวโลกเวลา 11:35 น.

สุริยุปราคาครั้งนี้เกี่ยวข้องกับสุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเห็นได้จากประเทศไทยใน พ.ศ. 2613 ตามวัฏจักรของการเกิดอุปราคาซ้ำที่เรียกว่าซารอส ซึ่งยาวนาน 18 ปี กับ 10-11 วัน ครั้งนี้อยู่ในซารอสที่ 130 ซึ่งครั้งถัดไปอีก รอบ เงามืดของดวงจันทร์จะมาผ่านภาคใต้ อ่าวไทย และภาคตะวันออกของประเทศไทยให้เห็นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงในเช้าวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613


2. จันทรุปราคาเงามัว 23 มีนาคม 2559


หัวค่ำของวันพุธที่ 23 มีนาคม 2559 เกิดจันทรุปราคาเงามัวระหว่างเวลา 16:39 20:55 น. ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามัวของโลกโดยไม่ผ่านเงามืด ดวงจันทร์จึงไม่แหว่งเว้าให้เห็น เพียงแต่มีความสว่างลดลงเล็กน้อยจนแทบไม่สามารถสังเกตได้ บริเวณที่สังเกตจันทรุปราคาครั้งนี้ได้ คือ ส่วนใหญ่ของเอเชีย ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ด้านตะวันตกของอเมริกาใต้ ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก และแอนตาร์กติกา

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 23 มีนาคม 2559

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก16:39:28
2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด18:47:13 (ขนาด 0.775)
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 20:54:55

3. ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ พฤษภาคม 2559


ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวพุธเคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวพุธปรากฏเป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ ดาวพุธมีขนาดเล็กมาก จึงจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงปิดหน้ากล้อง เพื่อลดความสว่างของดวงอาทิตย์ แบบเดียวกับการสังเกตสุริยุปราคาบางส่วน

ปีนี้ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในวันจันทร์ที่ พฤษภาคม 2559 หลายพื้นที่ของโลกมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้แก่ ด้านตะวันออกของอเมริกาเหนือ ตอนเหนือของอเมริกาใต้ อาร์กติก กรีนแลนด์ ด้านตะวันตกเฉียงเหนือสุดของแอฟริกา ยุโรปตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศไทยอยู่ในเขตที่เห็นเฉพาะช่วงเริ่มปรากฏการณ์ ก่อนดวงอาทิตย์ตกไม่ถึงครึ่งชั่วโมง จึงอาจสังเกตได้ยากหรือไม่สามารถสังเกตได้ บริเวณกรุงเทพฯ ขอบดาวพุธเริ่มแตะขอบดวงอาทิตย์ในเวลา 18:10:26 ขณะนั้นดวงอาทิตย์มีมุมเงยเหนือขอบฟ้าเพียง 5° ดาวพุธเข้าไปอยู่ในดวงอาทิตย์หมดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 18:13:38 จากนั้นดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าเวลา 18:36 น.

หลังจากปีนี้ ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ครั้งถัดไปจะเกิดในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 (ไม่เห็นในประเทศไทย) และ 13 พฤศจิกายน 2575 (เห็นได้ในประเทศไทย)


4. สุริยุปราคาวงแหวน กันยายน 2559


วันพฤหัสบดีที่ กันยายน 2559 เกิดสุริยุปราคาวงแหวน ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ แนวคราสวงแหวนผ่านด้านตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา และมหาสมุทรอินเดีย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมเกือบทั้งหมดของแอฟริกา ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรอินเดีย บางส่วนของแอนตาร์กติกา บางส่วนของอินโดนีเซีย และด้านตะวันตกสุดของออสเตรเลีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกเวลา 13:13 น. เงาคราสวงแหวนเริ่มแตะผิวโลกเวลา 14:18 น. ที่กลางมหาสมุทรแอตแลนติก จากนั้นเงาเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก แตะชายฝั่งทวีปแอฟริกาบริเวณประเทศกาบอง ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนที่กึ่งกลางนาน นาที 53 วินาที เงาคราสวงแหวนเคลื่อนผ่านสาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แทนซาเนีย และโมซัมบิก

กึ่งกลางคราสเกิดขึ้นเวลา 16:07 น. ทางตอนใต้ของแทนซาเนีย เกิดสุริยุปราคาวงแหวนที่กึ่งกลางนาน นาที 5.5 วินาที โดยดวงจันทร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางร้อยละ 97.4 ของดวงอาทิตย์ เงาคราสวงแหวนเคลื่อนต่อไป ผ่านช่องแคบโมซัมบิก มาดากัสการ์ และมหาสมุทรอินเดีย โดยผ่านเกาะเรอูนียงของฝรั่งเศส แล้วออกจากผิวโลกเวลา 17:56 น. ที่บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ห่างชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียประมาณ 1,400 กิโลเมตร จากนั้นสิ้นสุดสุริยุปราคาเมื่อเงามัวออกจากผิวโลกเวลา 19:01 น.


5. จันทรุปราคาเงามัว 16/17 กันยายน 2559


คืนวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2559 เกิดจันทรุปราคาเงามัวระหว่างเวลา 23:55-03:54 น. ดวงจันทร์มืดสลัวลงเล็กน้อย ขณะบังเต็มที่ในเวลาเกือบตี (เข้าสู่วันเสาร์ที่ 17 กันยายน) อาจสังเกตเห็นได้ว่าบริเวณขอบด้านทิศเหนือของดวงจันทร์คล้ำลงค่อนข้างชัดเจนเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของดวงจันทร์ แต่ไม่ถึงกับทำให้ดวงจันทร์แหว่ง บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกสุดของอเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรป เอเชีย แอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และแอนตาร์กติกา

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 16/17 กันยายน 2559

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก23:54:40
2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด01:54:19 (ขนาด 0.908)
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 03:54:00


หมายเหตุ Astronomical Almanac 2016 ระบุว่ามีจันทรุปราคาเงามัวอีก ครั้งในวันที่ 18 สิงหาคม 2559 เวลา 16:24-17:01 น. เนื่องจากใช้วิธีที่ต่างกันในการคำนวณขนาดของเงาโลก ถึงกระนั้นก็เป็นจันทรุปราคาที่ดวงจันทร์เฉียดขอบเงามัว ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนดวงจันทร์ และไม่สามารถสังเกตได้จากประเทศไทย