สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553

15 มกราคม 2553
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 22 เมษายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
บ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 จะเกิดสุริยุปราคาซึ่งปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสสังเกตได้เพียงครั้งเดียว สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้มีเส้นทางคราสวงแหวนผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวน แต่อยู่ในเขตที่สามารถสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนได้โดยภาคเหนือเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด

วันที่เกิดสุริยุปราคาดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากเนื่องจากเป็นช่วงก่อนที่ดวงจันทร์จะอยู่ห่างโลกที่สุดไม่ถึง วัน และหลังจากวันที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่ถึง สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดสุริยุปราคาวงแหวนยาวนานถึง 11 นาที วินาที ที่กึ่งกลางคราส นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ (ค.ศ. 2001-3000) และเป็นครั้งเดียวที่นานกว่า 11 นาที (ครั้งถัดไปที่นานกว่า 11 นาที เกิดในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 3043)

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 เริ่มต้นในเวลา 11:05 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล (UT) ชั่วโมง จังหวะนั้นเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในทวีปแอฟริกา เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 12:14 น. บริเวณตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ศูนย์กลางเงาสัมผัสผิวโลกตรงบริเวณใกล้กันในอีก นาทีถัดมา ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน นาที วินาที เงาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แล้วผ่านยูกันดา ซีกด้านเหนือของทะเลสาบวิกตอเรีย เคนยา ส่วนเล็ก ๆ ทางเหนือของแทนซาเนีย และทางใต้ของโซมาเลีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

เมืองบังกีในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 57 วินาที โดยดวงอาทิตย์มีมุมเงย องศา กัมปาลาในยูกันดาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 38 วินาที ส่วนที่เมืองไนโรบีของเคนยาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 52 วินาที แนวคราสวงแหวนขณะอยู่ในมหาสมุทรเฉียดห่างขึ้นไปทางเหนือของเมืองวิกตอเรียในสาธารณรัฐเซเชลส์ซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

แผนที่แสดงบริเวณที่มองเห็นสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 (เวลาในภาพเป็นเวลาประเทศไทย) 

เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม 2553 ขณะผ่านทวีปแอฟริกาและเอเชีย กรอบสี่เหลี่ยมระบุเวลา ความยาวนานของสุริยุปราคาวงแหวนที่จุดศูนย์กลางเงา และมุมเงยของดวงอาทิตย์ เส้นที่มีตัวเลขกำกับ เช่น 0.8, 0.6, ... บอกขนาดความลึกของสุริยุปราคา แผนที่นี้ลงตำแหน่งเมืองสำคัญและเมืองที่มีประชากรมากกว่า ล้านคน (เวลาในภาพเป็นเวลาสากล) 

เงาคราสวงแหวนเปลี่ยนทิศทางโดยวกขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ กึ่งกลางคราสซึ่งเป็นจุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทร เกิดขึ้นในเวลา 14:07 น. นาน 11 นาที วินาที จากนั้นพาดผ่านหมู่เกาะมัลดีฟส์ในเวลาประมาณ 14:26 น. เมืองมาเลเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานถึง 10 นาที 46 วินาที

เงาคราสวงแหวนแตะทางใต้ของอินเดียและทางตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกาในเวลา 14:40 15:00 น. เมืองจาฟนาของศรีลังกาซึ่งอยู่ใกล้แนวกึ่งกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 10 นาที วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 55 องศา

เงาคราสวงแหวนมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล ศูนย์กลางเงาแตะชายฝั่งพม่าในเวลาประมาณ 15:33 น. ตรงบริเวณเมืองซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่ ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 39 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 34 องศา ส่วนเล็ก ๆ ทางตอนล่างของบังกลาเทศกับอินเดียตะวันออกก็อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวนด้วย จากนั้นผ่านมัณฑะเลย์ เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 37 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 30 องศา

ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 15:41 น. เมืองใหญ่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวน ได้แก่ ฉงชิ่ง เจิ้งโจว และจี่หนาน ฉงชิ่งอยู่กลางคราสพอดี เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16 องศา เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 40 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย องศา ส่วนจี่หนาน มณฑลชานตง มีตำแหน่งใกล้ขอบเขตด้านเหนือของเส้นทางคราส ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที วินาที (อาจสั้นกว่านี้เนื่องจากผิวที่ไม่เรียบของดวงจันทร์) ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง องศา

คราสวงแหวนไปสิ้นสุดบริเวณแหลมชานตงที่ยื่นออกสู่ทะเลเหลืองในเวลา 15:59 น. ที่กึ่งกลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน นาที 12 วินาที จากนั้นเงามัวของดวงจันทร์จะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17:08 น. ในประเทศจีน นับเป็นจุดสิ้นสุดของสุริยุปราคาในวันนี้

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออกของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับประเทศไทย บริเวณภูเก็ตเป็นจุดที่เริ่มเห็นสุริยุปราคาเป็นที่แรก ภาคเหนือตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ และเป็นจุดสุดท้ายที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน

ดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้จากที่ต่าง ๆ ขณะดวงจันทร์เข้าบังเต็มที่ 

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
สถานที่เริ่มบังเต็มที่สิ้นสุด
เวลามุมเงยเวลามุมเงยขนาดเวลามุมเงย
กรุงเทพฯ14:00 น.48°15:37 น.32°0.67316:58 น.15°
ขอนแก่น14:08 น.44°15:42 น.27°0.69817:01 น.11°
เชียงใหม่14:00 น.45°15:40 น.29°0.81617:03 น.13°
นครราชสีมา14:06 น.46°15:40 น.29°0.67517:00 น.13°
นครศรีธรรมราช13:56 น.54°15:31 น.37°0.56016:50 น.20°
นราธิวาส14:02 น.53°15:31 น.36°0.48216:46 น.20°
ประจวบคีรีขันธ์13:57 น.51°15:35 น.34°0.64116:55 น.17°
ภูเก็ต13:51 น.56°15:28 น.39°0.57516:49 น.21°
ระยอง14:02 น.49°15:37 น.32°0.63516:57 น.15°
สงขลา13:58 น.54°15:30 น.37°0.52116:47 น.20°
สุโขทัย14:01 น.46°15:40 น.30°0.76117:02 น.13°
อุบลราชธานี14:13 น.43°15:44 น.26°0.63717:00 น.10°


หมายเหตุ :

มุมเงย คือ มุมที่วัดจากขอบฟ้า ขึ้นไปหาตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า
ขนาด คือ ขนาดความลึกของสุริยุปราคา แสดงสัดส่วนที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์โดยวัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ยิ่งมีค่ามากแสดงว่าดวงอาทิตย์ยิ่งแหว่งเว้ามาก (0.5 หมายถึงดวงอาทิตย์ถูกบังครึ่งดวง เป็นต้น)
อำเภอเมืองของจังหวัดอื่น ๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จากตารางเวลาสำหรับทุกจังหวัดทั่วประเทศ

การสังเกตดวงอาทิตย์ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือสังเกตการณ์ทางอ้อม ห้ามมองดูด้วยตาเปล่าเพราะเป็นอันตรายต่อดวงตา แผ่นกรองแสงควรเป็นชนิดที่ใช้สำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ หากไม่มีสามารถใช้แผ่นกระจกติดหน้ากากสำหรับช่างเชื่อมเหล็กได้ (เบอร์ 14 ขึ้นไป) ไม่แนะนำให้ใช้กระจกรมควันและฟิล์มเอกซ์เรย์เนื่องจากความเข้มไม่สม่ำเสมอ มีผู้นำแผ่นซีดีมาใช้ดูดวงอาทิตย์เช่นกัน แต่ต้องเลือกที่ทึบแสงมากพอ (ทดสอบดูกับหลอดไฟในบ้านแล้วไม่เห็นไส้หลอด) อย่างไรก็ตาม ภาพที่เห็นผ่านแผ่นซีดีไม่คมชัดนัก วัสดุอื่นนอกเหนือจากนี้ เช่น แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม ฟิล์มสี ฟิล์มขาว-ดำที่ไม่มีโลหะเงิน ฯลฯ ไม่ปลอดภัยเพียงพอกับการดูดวงอาทิตย์

แว่นสุริยะของสมาคมดาราศาสตร์ไทย ใช้สำหรับดูดวงอาทิตย์ 

วิธีสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนที่ปลอดภัยที่สุดคือการสังเกตทางอ้อม โดยให้แสงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงไปปรากฏบนฉากรับภาพ อีกวิธีซึ่งทำได้ง่ายคือใช้หลักการของกล้องรูเข็ม นำกระดาษมาเจาะรูขนาดประมาณ เซนติเมตร ไปปิดที่กระจกเงา แล้วนำกระจกเงาบานนั้นไปรับแสงอาทิตย์ ให้แสงสะท้อนลงบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ไกลจากกระจกตั้งแต่ เมตรขึ้นไป และอยู่ในที่ซึ่งแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง ภาพดวงอาทิตย์บนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคาบนท้องฟ้า หากมีต้นไม้อยู่ใกล้ ๆ อาจสังเกตเห็นว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านช่องระหว่างใบไม้แล้วไปตกบนพื้นหรือผนัง ก็มีลักษณะแหว่งเว้าตามดวงอาทิตย์

สุริยุปราคาครั้งถัดไปเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในคืนวันที่ 11/12 กรกฎาคม 2553 ตามเวลาประเทศไทย จึงไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในประเทศไทย สุริยุปราคาในประเทศไทยครั้งถัดไปจะเกิดขณะดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 แต่ดวงอาทิตย์แหว่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและอาจมีอุปสรรคจากเมฆ หลังจากนั้นจะว่างเว้นไปนานถึง ปี กว่าจะเกิดสุริยุปราคาในประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ มีนาคม 2559 ดังนั้นสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 จึงเป็นโอกาสสำหรับการสังเกตสุริยุปราคาที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยตลอดระยะเวลา ปีข้างหน้า

จุดมืดดวงอาทิตย์

ขณะเกิดสุริยุปราคาเป็นช่วงที่สามารถเห็นจุดมืดดวงอาทิตย์ (sunspot) ได้ค่อนข้างชัดเจนผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงบังหน้ากล้อง สำหรับกรุงเทพฯ คาดหมายว่าดวงจันทร์จะเริ่มบังจุดมืดในเวลาประมาณ 14:55 น. (± นาที) และออกจากจุดมืดในเวลาประมาณ 16:15 น. (± นาที)

ดูเพิ่ม

ตารางเวลาสำหรับอำเภอเมืองของทุกจังหวัดทั่วประเทศ
อุปราคาในปี 2553

ดาวน์โหลด

SE20100115.kmz (107 KB) ไฟล์แสดงเส้นทางสุริยุปราคาในโปรแกรม Google Earth

เว็บไซต์ที่ถ่ายทอดปรากฏการณ์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
Solar eclipse 2010: Exclusive live webcast CNNGo
Ustream มัลดีฟส์
Ustream อินเดีย
Ustream จาฟนา
Webcast of Solar Eclipse หอดูดาวฮ่องกง