อุปราคาในปี 2554
พ.ศ. 2554 มีอุปราคาทั้งหมด 6 ครั้ง เป็นสุริยุปราคา 4 ครั้ง กับจันทรุปราคา 2 ครั้ง สุริยุปราคาเกิดในวันเดือนดับ ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้เงาดวงจันทร์พาดลงมาบนผิวโลก คนที่อยู่ใต้เงาจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บัง สังเกตได้โดยดูผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อลดความสว่างของดวงอาทิตย์
จันทรุปราคาเกิดในวันเพ็ญดวงจันทร์เคลื่อนเข้าสู่เงาโลก ทำให้เห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหรือมืดสลัวไปเนื่องจากเงาของโลกบังดวงจันทร์ สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากทุกสถานที่ที่อยู่ในด้านกลางคืนของโลกซึ่งหันเข้าหาดวงจันทร์
เงาที่ต้นกำเนิดแสงเป็นดวงอาทิตย์มีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ เงามืดและเงามัว ในกรณีของสุริยุปราคา คนที่อยู่ใต้เงามัวจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังบางส่วน ใต้เงามืดจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังหมดทั้งดวง ในสุริยุปราคาครั้งหนึ่ง ๆ หากมีแต่เงามัวของดวงจันทร์เท่านั้นที่สัมผัสผิวโลก จะเรียกสุริยุปราคาครั้งนั้นว่าสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งปีนี้สุริยุปราคาทั้ง 4 ครั้ง ล้วนเป็นสุริยุปราคาบางส่วน ประเทศไทยไม่อยู่ในพื้นที่ที่เห็นสุริยุปราคาทั้ง 4 ครั้ง
ในกรณีของจันทรุปราคาหากดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลกหมดทั้งดวง เรียกว่าจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท แต่จะกลายเป็นสีแดงอิฐ หรือสีส้ม เนื่องจากแสงอาทิตย์หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงได้ทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนและธันวาคม
เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นในวันใดอีก 6585.32 วัน (18 ปี กับ 10 หรือ 11 วัน) ถัดไปหรือก่อนหน้านั้น จะมีอุปราคาเกิดขึ้นด้วย เรียกคาบเวลานี้ว่าซารอส (Saros) แบ่งเป็นชุด (series) กำหนดลำดับชุดด้วยตัวเลข
1.
ย่างเข้าปีใหม่ไม่ถึงสัปดาห์ก็เกิดอุปราคาครั้งแรกของปี เป็นสุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 4 มกราคม 2554 สุริยุปราคาเริ่มเวลา 13:40 น. เมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกที่ตอนกลางของประเทศแอลจีเรีย ตำแหน่งที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังลึกที่สุดอยู่ทางเหนือของสวีเดน ใกล้ชายฝั่งทะเลด้านที่ติดกับอ่าวบอทเนีย เกิดขึ้นเวลา 15:51 น. ด้วยความลึก 86% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ (ตรงกับเวลา 09:51 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสวีเดน) สุริยุปราคาสิ้นสุดเวลา 18:01 น. เมื่อเงามัวหลุดออกจากผิวโลกทางตะวันออกของคาซัคสถาน
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้คือส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปตอนเหนือของแอฟริกา และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชีย สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเมื่อสังเกตจากยุโรปตะวันตก และดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากตอนกลางของรัสเซีย คาซัคสถาน และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่14 ใน 72 ครั้งของชุดซารอสที่ 151 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1776 สิ้นสุดในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 3056 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 18 ครั้ง วงแหวน 6 ครั้ง ผสม 1 ครั้ง เต็มดวง 39 ครั้ง และบางส่วน 8 ครั้ง ตามลำดับ ซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ สิ้นสุดบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 2 นาที 44 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2101 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ 5 นาที 41 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2840
2.
สุริยุปราคาวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เริ่มเวลา 02:25 น. ขณะนั้นเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกทางตะวันออกของรัสเซีย ใกล้ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น จุดที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังลึกที่สุดอยู่ทางเหนือของรัสเซีย ติดทะเลแบเรนต์ส เกิดขึ้นเวลา 04:16 น. ด้วยความลึก 60% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ (ตรงกับกลางดึกตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดอาทิตย์เที่ยงคืน) สุริยุปราคาสิ้นสุดเวลา 06:06 น. เมื่อเงามัวหลุดออกจากผิวโลกในมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้เกาะนิวฟันด์แลนด์ของแคนาดา บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้คือบางส่วนของรัสเซีย บางส่วนของสแกนดิเนเวีย กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ ทางเหนือของเอเชียตะวันออก บางส่วนของแคนาดา และทางเหนือของรัฐอะแลสกา บริเวณอื่นที่เห็นสุริยุปราคาขณะเกิดอาทิตย์เที่ยงคืนอีก ได้แก่ ตอนเหนือสุดของนอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่68 ใน 72 ครั้งของชุดซารอสที่ 118 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 803 สิ้นสุดในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2083 ชุดซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 8 ครั้ง เต็มดวง 40 ครั้ง ผสม 2 ครั้ง วงแหวน 15 ครั้ง และบางส่วน 7 ครั้ง ตามลำดับ ซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ สิ้นสุดบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ 6 นาที 59 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1398 สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 1 นาที 58 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1849
3.
จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดในเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 (เฝ้ารอสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่คืนวันพุธที่ 15 มิถุนายน) ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 01:23 น. ขณะนั้นที่ประเทศไทยเห็นดวงจันทร์อยู่สูงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 02:22 น. ถึง
จันทรุปราคาเกิดในวันเพ็ญ
เงาที่ต้นกำเนิดแสงเป็นดวงอาทิตย์
ในกรณีของจันทรุปราคา
เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นในวันใด
1. สุริยุปราคาบางส่วน 4 มกราคม 2554
ย่างเข้าปีใหม่ไม่ถึงสัปดาห์ก็เกิดอุปราคาครั้งแรกของปี บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้คือส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป
สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่
2. สุริยุปราคาบางส่วน 2 มิถุนายน 2554
สุริยุปราคาวันที่ สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่