ตามล่าละอองดาว
โครงการอวกาศสตาร์ดัสต์ (Stardust) หรือ "ละอองดาว" คือโครงการที่จะส่งยานอวกาศในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2542 ไปยังดาวหางที่มีชื่อว่า วีล-ทู (Wild-2) โดยคาดว่าจะไปถึงในเดือนมกราคม 2547 วิธีส่งยานไปนั้น จะใช้วิธีที่เรียกว่า Gravity Assist คืออาศัยแรงเหวี่ยงจากสนามแรงโน้มถ่วงของโลกมาช่วยผ่อนแรง ในรอบแรก ตัวยานจะโคจรเวียนรอบโลก เพื่ออาศัยแรงเหวี่ยงของโลกเหวี่ยงยานให้ขึ้นสู่วงโคจรที่ยืดออกกว้างขึ้นไป จนวนรอบดวงอาทิตย์ได้ในเวลาสองปีครึ่ง วงโคจรจะยืดออกไปไกลจนเข้าสู่วงโคจรของดาวหาง วีล-ทู ได้ในปี พ.ศ. 2557 การทำเช่นนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อเอาแรงโน้มถ่วงของโลกมาช่วยประหยัดเชื้อเพลิง อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ยานจะได้เข้าใกล้ดาวหางด้วยความเร็วไม่สูงเกินไปนัก เพื่อจะจับละอองดาวอย่างละมุนละม่อม ไม่ให้บอบช้ำนัก จะได้เอามาศึกษาภายหลัง
หลังจากที่ใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาห้าปียานสตาร์ดัสต์จะไปวนโคจรรอบดาวหางสองรอบ รอบแรกเป็นการบินผ่านไปถ่ายรูป รอบหลังเพื่อเก็บฝุ่นดาวหางที่เพิ่งระเหิดหลุดจากส่วนหัว หรือ โคม่า (coma) กลับมาศึกษา นับว่าเป็นครั้งแรกในโลกที่เราจะเก็บละอองดาวจากตัวดาวหางและนำกลับมายังโลก และนับเป็นโครงการอวกาศโครงการแรกที่มีเป้าหมายหลักเพื่อการศึกษาดาวหางโดยตรง และยังมีผลพลอยได้อีก คือ ยานสตาร์ดัสต์จะเก็บฝุ่นระหว่างดวงดาว (interstellar dust) จากอวกาศกลับมาพร้อมกันด้วย
เมื่อยานเข้าใกล้ดาวหางครั้งสุดท้ายตัวยานอวกาศจะบินเฉียดนิวเคลียสไปแค่ 150 กิโลเมตรเท่านั้น โดยจะบินฝ่าม่านพายุสะเก็ดดาวเข้าไปในหัว อันเป็นละอองดาวสด ๆ ที่เพิ่งจะสลัดตัวออกจากนิวเคลียส นับว่าเป็นละอองดาวของแท้บริสุทธิ์ ที่ยังไม่ได้ถูกแปรสภาพไป จึงถือเป็นสารที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นส่วนประกอบแรกเริ่ม ของระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่จะหามาได้
เมื่อสิบกว่าปีมาแล้วในช่วง พ.ศ. 2529 องค์การอวกาศของทั้งยุโรป สหภาพโซเวียต (ในขณะนั้น) และญี่ปุ่น ได้ส่งยานอวกาศเฉียดเข้าไปถ่ายภาพดาวหางฮัลเลย์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาดาวหางในระยะใกล้ขนาดนั้น เช่นเดียวกับ ดาวหาง เทมเพิล-ทัตเทิล ที่มาทิ้งสะเก็ดดาวเป็นฝนดาวตกให้เราได้ดูกันเมื่อกลางเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดาวหางฮัลเลย์โคจรในทิศกลับกันกับโลก ดังนั้นยานอวกาศจากโลก และตัวดาวหางฮัลเลย์จะวิ่งเข้าหากันด้วยความเร็วสูงมาก ประกอบกับดาวหางฮัลเลย์นั้นมีปฏิกิริยาเคมีเนื่องด้วยก๊าซแข็งระเหิดพวยพุ่ง ฝุ่นและหินถูกสลัดออกจากนิวเคลียสอย่างรุนแรงมาก จนกล้องถ่ายภาพของยาน จิออตโต (Giotto) ของอิตาลีที่เข้าไปถ่ายรูปในระยะใกล้ถึงกับเสียหายไป และก่อความเสียหายอื่น ๆ ให้อีกมาก เนื่องจากูกซัดด้วยสะเก็ดดาวจากดาวหาง แม้สะเก็ดดาวนี้มีขนาดเล็กเพียงไม่เกินเมล็ดข้าว แต่มันพุ่งเข้าใส่ด้วยความเร็วถึง 68 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมีอานุภาพพอ ๆ กับแรงระเบิดจากระเบิดมือเลยทีเดียว แต่เคราะห์ดีที่ตัวยานจิออตโตเองไม่ถึงกับเสียหายไปด้วย เครื่องจับฝุ่นของยานได้บันทึกว่า สะเก็ดดาวพุ่งกระทบยานแรงพอ ๆ กับแรงกระเทือนจากการกระหน่ำลั่นกลองรบเลยทีเดียว
ดาวหางวีล-ทูนี้ไม่มีปฏิกิริยามากมายอย่างดาวหางฮัลเลย์และเป็นดาวหางที่โคจรไปในทิศเดียวกับโลก ยานจึงสามารเข้าไปใกล้ด้วยความเร็วที่ไม่สูงนัก คือประมาณ 6.1 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะที่จิออตโตพุ่งเข้าใส่ดาวหางฮัลเลย์เร็วกว่านั้นกว่าสิบเท่า ยานสตาร์ดัสต์จึงสามารถเข้าได้ใกล้กว่า ถ่ายภาพได้ชัดกว่า โดยที่ตัวกล้องและตัวยานจะเสี่ยงภัยน้อยกว่า ภาพที่จะถ่ายได้จะสามารถช่วยให้เราได้เห็นส่วนนิวเคลียส ส่วนหัว ส่วนหาง และการหมุนรอบตัวเองของดาวนี้ด้วยเป็นครั้งแรก ข้อมูลใหม่ ๆ ที่ได้จากยานสตาร์ดัสต์จะให้ความรู้เกี่ยวกับดาวหางมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน
เมื่อบรรลุภาระหน้าที่แล้วยานสตาร์ดัสต์จะนำตัวอย่างสะเก็ดดาวที่จับมาได้กลับมายังโลก โดยจะเหวี่ยงแคปซูลที่บรรจุละอองดาวหางกลับมายังโลกในปี พ.ศ. 2549
เราจะศึกษาพวก
เราก็มีขี้ฝุ่นเต็มบ้านเต็มเมืองอยู่แล้วจะเดือดร้อนสร้างยานออกไปกวาดเก็บกันกลางอวกาศ ให้เมื่อยไปทำไม มันก็เหมือนกันไม่ใช่หรือ แล้วเราจะเก็บละอองดาว หรือขี้ฝุ่นอวกาศมาทำอะไรกัน
อย่าเพิ่งดูถูกขี้ฝุ่นพวกนี้ว่าเป็นเรื่องขี้ผงไปนะที่เรียกกันว่า "ละอองดาว" หรือ "สะเก็ดดาว" ก็เพราะมันต่างกับขี้ฝุ่นทั่วไปตามบ้านเรา (โดยเฉพาะบ้านผู้เขียน มีเยอะแยะเลย) ละอองดาว หรือฝุ่นอวกาศนี้ เป็นเศษสิ่งตกค้างจากการสร้างโลกสร้างระบบสุริยะ ที่เขาเรียกว่าละอองดาวนี้คือสารชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ประกอบด้วยซิลิกา (หรือ เกล็ดแก้ว อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของทราย เขาถึงได้เอาทรายมาทำกระจกไงล่ะ) และสารคาร์บอน ที่บ้างก็คล้ายถ่าน บ้างก็คล้ายดินน้ำมันและก๊าซระเหย ที่อาจเป็นไอ้น้ำหรือก๊าซต่าง ๆ เช่น ก๊าซมีเทน เป็นต้น
ละอองดาวเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมของเราและในจักรวาล เช่น ดาวตก วงแหวนรอบดาวเคราะห์ต่าง ๆ โดยความจริงแล้ว มีสิ่งต่าง ๆ มากมายในจักรวาลที่มาจาก กลุ่มควัน กลุ่มฝุ่น ของละอองดาวพวกนี้นี่เอง
สาเหตุที่เขามุ่งศึกษาดาวหางก็เพราะดาวหางเป็นวัตุเก่าแก่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา ซึ่งยังคงรักษาสภาพดั้งเดิมของสารต้นกำเนิดของเนบิวลาอันเป็นบรรพบุรุษของดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายในระบบสุริยะ
สารดั้งเดิมพวกนี้เคยมีมาก่อนบนโลกและดาวเคราะห์ต่างๆ หากถูกเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม และจากการที่ถูกแดดแผดเผาอย่างต่อเนื่องกันมานับพัน ๆ ล้านปี ทำให้สารพวกนี้สลายตัวไปหมดแล้ว แต่เนื่องจากดาวหางและอุกกาบาตมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีที่แคบยาวมาก ๆ ใช้เวลาส่วนมากอยู่ห่างไกลสุดขอบสุริยะในแดนอันมืดมิดและหนาวเย็น ด้วยเหตุที่มันใช้เวลาอยู่แสนไกลจากดวงอาทิตย์ นาน ๆ จึงจะแวะเวียนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์สักครั้ง ดังนั้น ดาวหางส่วนใหญ่ จึงยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ได้มาก นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า ดาวหางและอุกกาบาตเป็นแหล่งที่ยังมีสารดั้งเดิมจากสมัยแรกกำเนิดจักรวาลคงอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างที่จะหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว หากเราศึกษาและทำความเข้าใจพวกดาวหางเหล่านี้ ก็จะช่วยให้เราค้นพบกุญแจสำคัญที่จะให้คำตอบ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของระบบสุริยะ และจะช่วยให้เราเข้าใจการเกิดตัวของดาวเคราะห์ทั่วไปในจักรวาลได้ดีขึ้น จากเดิมที่แทบจะไม่รู้อะไรเลย
และที่สำคัญที่สุดก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับดาวหางและอุกกาบาต จะมีส่วนช่วยไขปริศนาว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกได้อย่างไร
เชื่อกันว่าดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์หรือดาวอื่น ๆ แรกเริ่มก็คงมาจากเศษฝุ่น เศษหิน ที่วนเวียนรอบดวงดาว มาผนึกรวมตัวกันเกิดเป็นดาวเคราะห์ขึ้นมา เมื่อประมาณ 4.6-3.8 พันล้านปีมาแล้วนั้น ยังมีเศษอะไรต่อมิอะไรบินกันให้ว่อนอยู่ทั่วระบบสุริยะ ดาวเคราะห์น้อยใหญ่ที่เพิ่งเกิดใหม่จึงถูกถล่มกันขนานใหญ่เรียกกันว่า ยุคบอมบาร์ดใหญ่ครั้งหลัง (Late Heavy Bombardment) โลก และดาวเคราะห์อื่นต่างถูกล่มใส่กันอย่างไม่หยุดยั้ง
จากแรงถล่มระเบิดเปิดเปิงพวกนี้ทำให้พื้นผิวมีอุณหภูมิสูงจัดมาก น้ำในมหาสมุทรที่มีอยู่แต่แรก หากไม่ระเหยหายไปในอวกาศด้วยความร้อนจัด ก็โดนระเบิดสาดขึ้นฟ้าหายไปหมดไม่เหลือหรอ โมเลกุลที่มีคาร์บอนทั้งหลายที่มีมาแต่แรกบนพื้นโลก ก็มอดไหม้สูญสลายไปหมดสิ้น ในสภาพเช่นนี้ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใด ๆ จะรอดอยู่ได้ และก็จะไม่มีสารอะไรหลงเหลือให้ก่อตัวเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้นมาได้อีก
แต่ว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกเริ่มเกิดมาหลังจากนั้นไม่นานเอง จากฟอสซิลเก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบได้มีอายุประมาณ 3.5 พันล้านปี ช่วงเวลาเพียงสามร้อยล้านปีนั้น นับว่าสั้นมากเมื่อเทียบการพัฒนาสิ่งมีชีวิตกับสภาพของโลกก่อนหน้านั้น ในเมื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต คือ คาร์บอน กับ น้ำ ไม่มีหลงเหลืออยู่บนโลกแล้ว ถ้าอย่างนั้น สิ่งมีชีวิตที่ทิ้งร่องรอยบนฟอสซิลเหล่านี้ เอาสารประกอบสำคัญนั้นมาจากไหนกันล่ะ นี่เป็นปริศนาที่นักวิทยาศาสตร์ขบไม่แตกกันมานานแล้ว
ความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือมันตกมากับดาวหางที่ถล่มใส่โลกอย่างต่อเนื่องกันมานั่นเอง หลังจากที่พื้นโลกเริ่มเย็นลงแล้ว ดาวหางและอุกกาบาตต่าง ๆ ก็ยังพากันแวะเวียน ทุ่มตัวตกสู่โลกอยู่อย่างไม่ขาดสาย แม้จะน้อยลงมาก แต่ดาวหางและอุกกาบาตเป็นสื่อเดียวที่นำเอาวัตถุใหม่ ๆ ตกลงมาบนพื้นโลก และก็มีแต่ดาวหางเท่านั้นที่ประกอบด้วย น้ำ และ สารอินทรีย์เป็นจำนวนมาก
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตมิได้เกิดมาจากสารที่มีเหลืออยู่บนโลก หากมาจากอวกาศอันไกลโพ้นโดยดาวหางเป็นตัวนำมาให้ เนื่องด้วยดาวหางประกอบด้วยวัตถุก่อสร้างเบื้องต้นของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญคือ
หลังจากที่ใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาห้าปี
เมื่อยานเข้าใกล้ดาวหางครั้งสุดท้าย
เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว
ดาวหางวีล-ทูนี้ไม่มีปฏิกิริยามากมายอย่างดาวหางฮัลเลย์
เมื่อบรรลุภาระหน้าที่แล้ว
เราจะศึกษาพวก ดาวหาง และ อุกกาบาตไปทำไมกัน?
เราก็มีขี้ฝุ่นเต็มบ้านเต็มเมืองอยู่แล้ว
อย่าเพิ่งดูถูกขี้ฝุ่นพวกนี้ว่าเป็นเรื่องขี้ผงไปนะ
ละอองดาว
สาเหตุที่เขามุ่งศึกษาดาวหางก็เพราะดาวหาง
สารดั้งเดิมพวกนี้เคยมีมาก่อนบนโลกและดาวเคราะห์ต่าง
และที่สำคัญที่สุดก็คือ
เชื่อกันว่าดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
จากแรงถล่มระเบิดเปิดเปิงพวกนี้
แต่ว่า
ความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า