รู้จักดาวหาง
มนุษย์รู้จักดาวหางมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล บันทึกเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับดาวหางเป็นบันทึกของนักดาราศาสตร์ชาวจีนที่เขียนรูปดาวหางลงบนผ้าไหม อยู่ในยุคราชวงศ์ชางของจีน ซึ่งมีอายุถึงกว่าสามพันปีมาแล้ว ทางฝั่งยุโรปก็มีบันทึกเกี่ยวกับดาวหางมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลเช่นกัน
ในอดีตผู้คนยังไม่รู้จักดาวหางมากไปกว่ารู้ว่าเป็นก้อนมัว ๆ อยู่บนฟ้าที่ทอดหางยาว คนในยุคนั้นส่วนใหญ่มองดาวหางไปในทางอัปมงคล เช่นเป็นลางร้าย เป็นทูตแห่งความตายและสงคราม หรือแม้แต่เป็นเครื่องมือพยากรณ์ ความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับดาวหางก้าวหน้าไปอย่างเชื่องช้า เริ่มตั้งแต่ในปี 635 ก่อนคริสต์ศักราช นักดาราศาสตร์จีนตั้งข้อสังเกตว่าหางของดาวหางชี้ออกจากดวงอาทิตย์เสมอ อย่างไรก็ตามคนในยุคแรกยังเชื่อว่าดาวหางน่าจะเป็นวัตถุที่อยู่ในชั้นบรรยากาศโลก เนื่องจากดาวหางมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงรวดเร็วชนิดวันต่อวัน ต่างจากวัตถุท้องฟ้าชนิดอื่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ การศึกษาดาวหางอย่างเป็นระบบน่าจะเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 16 เมื่อ ทีโค บราห์ วัดระยะห่างของดาวหางด้วยวิธีแพรัลแลกซ์ จนได้ข้อสรุปว่าดาวหางเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหนือบรรยากาศโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์
ความรู้เกี่ยวกับดาวหางเพิ่งจะมาเพิ่มพูนขึ้นเป็นอย่างมากในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่20 นี้เอง โดยเฉพาะเมื่อดาวหางแฮลลีย์มาเยือนโลก และองค์กรด้านอวกาศหลายองค์กรต่างส่งยานออกไปสำรวจในระยะใกล้
ซึ่งเป็นก้อนแข็งมีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า "ก้อนหิมะสกปรก" มีองค์ประกอบหลักเป็นหิน น้ำแข็ง ฝุ่น และแก๊สเยือกแข็งอีกบางชนิด เช่นคาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย มีเทน เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้น้ำแข็งระเหิดออกเป็นไอ และพ่นออกเป็นลำจากนิวเคลียสตามจุดที่เป็นช่องเปิดบนพื้นผิว ไอน้ำที่พ่นออกมาได้หอบเอาฝุ่นที่ปะปนอยู่ออกมาด้วย แก๊สและฝุ่นที่พ่นออกมาก่อตัวเป็นชั้นเมฆเบาบางห่อหุ้มก้อนน้ำแข็งอยู่ เรียกว่า โคม่า ยิ่งดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น อัตราการคายแก๊สและฝุ่นก็เพิ่มขึ้น โคม่าของดาวหางก็จะใหญ่ขึ้นมาก ดาวหางดวงใหญ่บางดวงอาจมีโคม่าใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เสียอีก
เมื่อรังสีและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดมาถึงดาวหางก็จะกวาดให้แก๊สและฝุ่นให้ปลิวไปด้านหลังจนมองเห็นเป็นหาง อันเป็นเอกลักษณ์ของดาวหาง หางของดาวหางมีสองส่วนใหญ่ ๆ หางส่วนแรก เกิดจากโมเลกุลที่ถูกทำให้เป็นไอออนโดยรังสีจากดวงอาทิตย์ แล้วถูกลมสุริยะพัดออกไปตามแนวตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หางส่วนนี้จึงมักเหยียดตรง เรียกว่าหางแก๊ส หรือหางไอออน
ส่วนที่เป็นฝุ่นมีอนุภาคใหญ่กว่าแก๊สจึงได้รับอิทธิพลจากลมสุริยะน้อยกว่าแก๊ส กลุ่มของฝุ่นจึงแยกออกจากส่วนที่เป็นหางแก๊ส แนวที่ฝุ่นหลุดลอยออกจากโคม่ากวาดโค้งไปตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง หางส่วนนี้เรียกว่าหางฝุ่น อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของหางฝุ่นมีขนาดตั้งแต่เล็กระดับไมครอน จนถึงใหญ่เท่ากำปั้น อนุภาคในหางฝุ่นนี้เมื่อพ้นจากหางไปแล้วก็ยังเกาะกันเป็นทางยาวและเคลื่อนที่ไปในลักษณะเดียวกับดาวหางต้นกำเนิด เรียกว่าธารสะเก็ดดาว เมื่อใดที่โลกเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวนี้ สะเก็ดดาวก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลก ทำให้เกิดฝนดาวตก มีฝนดาวตกประจำปีหลายกลุ่มที่สามารถติดตามหาดาวหางต้นกำเนิดได้
แต่ดาวหางบางดวงก็เป็นดาวหางไร้หาง เช่นหากดาวหางดวงนั้นมีวงโคจรไกลจากดวงอาทิตย์มาก รังสีที่ได้รับจากดวงอาทิตย์จะอ่อนมากจนทำให้เกิดหางไม่ได้ ตัวอย่างของดาวหางประเภทนี้ เช่น ดาวหางคิลสตัน (ซี/1966 พี1) และ ดาวหาง 2006 เอสคิว 372
มีหาง
วัตถุบนท้องฟ้าที่ทอดหางสีขาวเป็นทางยาวก็อาจไม่ใช่ดาวหางเสมอไป บางครั้งดาวเคราะห์น้อยก็สาดหางคล้ายดาวหางได้เหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์พบวัตถุจำนวนหนึ่งในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุเหล่านี้มีรูปร่างคล้ายดาวหาง ทั้งที่มีวงโคจรแบบดาวเคราะห์น้อยแถบหลัก นั่นคือ มีวงโคจรเกือบกลม และมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบสุริยวิถี เชื่อว่าวัตถุประเภทนี้มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อย เมื่อดาวเคราะห์น้อยถูกวัตถุดวงอื่นพุ่งชน การชนนั้นอาจทำให้มีเศษหินฝุ่นกระเด็นออกไปเป็นสายจนดูคล้ายดาวหางได้ หากเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งอยู่ใต้พื้นผิวมาก เมื่อถูกวัตถุพุ่งชน จะเกิดแผลเปิดบนพื้นผิว เผยให้น้ำแข็งที่อยู่เบื้องล่างสัมผัสรังสีจากดวงอาทิตย์ ก็จะเกิดปฏิกิริยาแบบเดียวกับดาวหางได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีหางเหมือนดาวหาง แต่การที่กลไกการเกิดหางต่างจากดาวหาง จึงไม่ถือว่าเป็นดาวหางที่แท้จริง บางครั้งอาจเรียกวัตถุจำพวกนี้ว่า ดาวหางแถบหลัก
ดาวหางก็ปรากฏมีหางประหลาดพุ่งออกมาจากหัวชี้เข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งมีทิศทางต่างจากหางปกติที่ชี้ออกจากดวงอาทิตย์ หางนี้เรียกว่าหางย้อน ความจริงหางย้อนไม่ได้มีทิศทางพุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์แต่อย่างใด เกิดขึ้นเมื่อมุมมองจากโลกทำมุมกับดวงอาทิตย์แคบ ๆ และหางฝุ่นของดาวหางนั้นเหยียดโค้งจนส่วนปลายยื่นล้ำออกมาอีกด้านหนึ่งของหัว ดาวหางชื่อดังหลายดวงมีหางย้อนปรากฏด้วย เช่นดาวหางอาเรนด์-โรแลนด์ ดาวหางเฮล-บอปป์ และดาวหางแพนสตารร์ส
ดาวหางที่มีคาบโคจรสั้นที่สุดคือ ดาวหางเองเคอ โคจรรอบดวงทิตย์ครบรอบทุก 3.3 ปี ส่วนดาวหางที่คาบโคจรยาวที่สุดอาจยาวถึงหลายล้านปี หรือบางดวงก็ไม่โคจรรอบดวงอาทิตย์ หากแต่เข้ามาเยือนดวงอาทิตย์เพียงครั้งเดียวแล้วไม่วกกลับมาอีกเลย
นักดาราศาสตร์จัดกลุ่มของดาวหางตามคาบการโคจรไว้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ ดาวหางคาบยาว และดาวหางคาบสั้น
ดาวหางคาบยาวบางครั้งก็เรียกว่า ดาวหางไม่มีคาบ หมายถึงดาวหางที่มีคาบการโคจร 200 ปีหรือมากกว่า มีบันทึกการพบเห็นเพียงครั้งเดียว ดาวหางในกลุ่มนี้มีเส้นทางโคจรเป็นรูปวงรีหรือพาราโบลาหรืออาจเป็นไฮเพอร์โบลา จึงถือได้ว่าเป็นดาวหางที่มีโอกาสเห็นเพียงครั้งเดียวในชั่วชีวิตหนึ่ง ดาวหางที่สว่างมาก ๆ มักเป็นดาวหางประเภทนี้
ส่วนดาวหางคาบสั้นคือดาวหางที่มีคาบโคจรสั้นกว่า 200 ปี ดาวหางคาบสั้นที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ดาวหางแฮลลีย์ ดาวหางคาบสั้นส่วนใหญ่มักไม่สว่างมากนัก ปัจจุบันพบดาวหางคาบสั้นแล้วประมาณ 293 ดวง
ดาวหางจำพวกนี้หลายดวงถูกรังสีร้อนแรงของดวงอาทิตย์ทำลายไปจนหมดสิ้น แต่บางดวงก็รอดพ้นออกมาได้ ดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์มีอัตราการคายฝุ่นและแก๊สสูงมาก จึงมักสว่างมาก แต่กลับสังเกตได้ยาก เนื่องจากการที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก จึงมักถูกแสงจ้าจากดวงอาทิตย์บดบัง การสำรวจดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์จึงถูกมองข้ามไปเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงยุคของกล้องโทรทรรศน์อวกาศและหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ เช่น โซโฮ นับจากที่ดาวเทียมดวงนี้ขึ้นสู่ท้องฟ้าใน พ.ศ. 2538 ได้พบดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 ดวง!
ที่น่าสนใจก็คือดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ที่พบโดยโซโฮราว 83 เปอร์เซ็นต์มีวงโคจรคล้ายกัน คาดว่าดาวหางในกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็นเศษชิ้นส่วนที่แตกมาจากดาวหางใหญ่ดวงหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีก่อน นักดาราศาสตร์เรียกกลุ่มดาวหางพวกนี้ว่า กลุ่มครอยทซ์ ตั้งชื่อตาม ไฮน์ริช ครอยทซ์ ผู้ค้นพบความสัมพันธ์นี้ ดาวหางในกลุ่มครอยทซ์หลายดวงกลายมาเป็นดาวหางที่ได้รับการขนานนามว่า ดาวหางยักษ์ เช่น ดาวหางอิเกะยะ-เซะกิ ดาวหางยักษ์แห่งปี 1843 ดาวหางเลิฟจอย
เช่น ดาวหางแฮลลีย์ ดาวหางเฮล-บอปป์ ซึ่งมักตั้งชื่อตามผู้ค้นพบหรือผู้คำนวณวงโคจรได้ถูกต้องเป็นคนแรก ในระยะแรกการตั้งชื่อแบบนี้ดูไม่เป็นปัญหา ซ้ำยังสะดวกเรียก สะดวกจำ แต่เมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น มีการค้นพบดาวหางมากขึ้นในแต่ละปี คน ๆ หนึ่งอาจมีโอกาสค้นพบดาวหางได้หลายดวง การเรียกแบบเดิมจะเริ่มมีปัญหา ไม่อาจใช้ระบุดาวหางที่แน่ชัดได้ นับจากปี 2547 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้กำหนดวิธีตั้งชื่อที่เป็นทางการของดาวหางไว้ใหม่ มีรูปแบบเป็น
โดยที่
T คือรหัสชนิดของดาวหาง มีดังนี้
P หมายถึงดาวหางคาบสั้น
C หมายถึงดาวหางคาบยาว (หรือไม่มีคาบ)
X หมายถึงดาวหางที่คำนวณวงโคจรไม่ได้ เนื่องจากเป็นดาวหางในอดีต ไม่มีข้อมูลเพียงพอ
ในอดีต
ความรู้เกี่ยวกับดาวหางเพิ่งจะมาเพิ่มพูนขึ้นเป็นอย่างมากในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่
กายวิภาคของดาวหาง
ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของดาวหางคือนิวเคลียสเมื่อรังสีและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดมาถึงดาวหาง
ส่วนที่เป็นฝุ่นมีอนุภาคใหญ่กว่าแก๊ส
ฝนดาวตกและดาวหางต้นกำเนิด
วัตถุต้นกำเนิด | ฝนดาวตก |
---|---|
ดาวหาง | ฝนดาวตกเทาเฮอร์คิวลีส |
ดาวเคราะห์น้อย | ฝนดาวตกควอแดรนต์ |
ดาวหางแทตเชอร์ | ฝนดาวตกพิณ |
ดาวหาง | ฝนดาวตกพายท้ายเรือ |
ดาวหางแฮลลีย์ | ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ |
ดาวหาง | ฝนดาวตกปลา |
ดาวหาง | ฝนดาวตกคนเลี้ยงสัตว์เดือนมิถุนายน |
ดาวหาง | ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ |
ดาวหาง | ฝนดาวตกแอลฟาคนยิงธนู |
ดาวหาง | ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส |
ดาวเคราะห์น้อย | ฝนดาวตกแคปปาหงส์ |
ดาวหางไคสส์ | ฝนดาวตกสารถี |
ดาวหาง | ฝนดาวตกมังกร |
ดาวหางแฮลลีย์ | ฝนดาวตกนายพราน |
ดาวหาง | ฝนดาวตกวัวใต้ |
ดาวเคราะห์น้อย | ฝนดาวตกวัวเหนือ |
ดาวหาง | ฝนดาวตกแอนดรอเมดา |
ดาวหาง | ฝนดาวตกสิงโต |
ดาวหาง | ฝนดาวตกนกฟีนิกซ์ |
ดาวเคราะห์น้อย | ฝนดาวตกคนคู่ |
ดาวหาง | ฝนดาวตกหมีเล็ก |
ดาวหางไม่มีหาง
แม้หางจะเป็นเอกลักษณ์ของดาวหางมีหาง แต่ไม่ใช่ดาวหาง
วัตถุบนท้องฟ้าที่ทอดหางสีขาวเป็นทางยาวก็อาจไม่ใช่ดาวหางเสมอไป หางย้อน
บางครั้งคาบของดาวหาง
ดาวหางโคจรรอบดวงทิตย์ด้วยคาบหลากหลายมากนักดาราศาสตร์จัดกลุ่มของดาวหางตามคาบการโคจรไว้เป็นสองกลุ่มใหญ่
ดาวหางคาบยาว
ส่วนดาวหางคาบสั้น
ดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์
คือดาวหางที่มีเส้นทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่น่าสนใจก็คือ
ชื่อของดาวหาง
บุคคลทั่วไปมักคุ้นเคยกับชื่อสามัญของดาวหางที่ตั้งชื่อตามบุคคลT/YYYY HS
โดยที่