สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮับเบิลสนับสนุนภารกิจโรเซตตา

ฮับเบิลสนับสนุนภารกิจโรเซตตา

27 ก.ย. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศที่ร่อนลงดาวเคราะห์ได้มาหลายสิบปีแล้ว ยานที่ร่อนลงบนดาวเคราะห์น้อยก็ทำได้แล้ว แต่การควบคุมให้ยานอวกาศร่อนลงจอดบนดาวหางนั้นยังไม่เคยมี แต่กำลังจะมี

การลงจอดบนดาวหางนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากและมีปัญหามากกว่าการลงจอดบนวัตถุชนิดอื่น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยานโรเซตตา ยานอวกาศสำรวจดาวหางขององค์การอวกาศยุโรปจะต้องเผชิญเมื่อมีภารกิจจะต้องไปจอดบนดาวหาง ชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค (67P/Churyumov-Gerasimenko) แต่ภารกิจนี้ได้ผู้ช่วยแล้ว นั่นคือกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

เมื่อวันที่ 11 และ 12 มีนาคม 2546 ฮับเบิลถ่ายภาพดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโคเป็นจำนวน 61 ครั้งในช่วงเวลา 21 ชั่วโมง กล้อง WFPC2 ของฮับเบิลสามารถแยกนิวเคลียสออกจากส่วนโคม่า ทำให้ทราบขนาดและสัญฐานของนิวเคลียสได้อย่างแม่นยำว่ามีขนาด 3.2x4.8 กิโลเมตร 

ก่อนหน้านี้ เป้าหมายของโรเซตตาคือดาวหางวีร์ทาเนน (46P/Wirtanen) แต่ความล่าช้าในการส่งขึ้นสู่อวกาศทำให้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายไป

ในช่วงแรกที่เปลี่ยนเป้าหมายมาเป็นชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโคทางเจ้าหน้าที่ของโครงการต้องหนักใจพอสมควร เนื่องจากขนาดของโดยประมาณของนิวเคลียสของชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโคมีขนาดใหญ่กว่าดาวหางวีร์ทาเนนมาก ดาวหางที่มีนิวเคลียสใหญ่กว่าหมายความว่ามีความโน้มถ่วงมากกว่า การร่อนลงจอดจึงยากกว่าด้วย แต่ข้อมูลจากฮับเบิลทำให้ทราบว่านิวเคลียสของชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโคไม่ใหญ่มากอย่างที่เคยประมาณไว้และยังมีสัญฐานรีทำให้การร่อนลงจอดง่ายขึ้น

ยานโรเซตตามีกำหนดปล่อยขึ้นสู่อวกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และจะเดินทางไปถึงดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโคในปี 2557

ยานโรเซตตามีกำหนดปล่อยสู่อวกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ยานจะใช้แรงโน้มถ่วงของโลกและดาวอังคารในการเพิ่มความเร็วก่อนที่จะไปถึงดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค (67P/Churyumov-Gerasimenko) ในปี 2557 า

ยานโรเซตตามีกำหนดปล่อยสู่อวกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ยานจะใช้แรงโน้มถ่วงของโลกและดาวอังคารในการเพิ่มความเร็วก่อนที่จะไปถึงดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค (67P/Churyumov-Gerasimenko) ในปี 2557 า

 <wbr><br />
 <wbr><br />
 <wbr><br />
ภาพนิวเคลียสของดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค <wbr>ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล <wbr>เมื่อเดือนมีนาคม <wbr>2546 <wbr>(ภาพจาก <wbr>NASA, <wbr>European <wbr>Space <wbr>Agency <wbr>and <wbr>Philippe <wbr>Lamy <wbr>(Laboratoire <wbr>d'Astronomie <wbr>Spatiale, <wbr>France) <wbr><br />

 
 
 
ภาพนิวเคลียสของดาวหางชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เมื่อเดือนมีนาคม 2546 (ภาพจาก NASA, European Space Agency and Philippe Lamy (Laboratoire d'Astronomie Spatiale, France) 

ที่มา: