สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ต่ออายุโซโฮ

ต่ออายุโซโฮ

6 มิ.ย. 2549
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นับตั้งแต่ดาวเทียมโซโฮ ซึ่งเป็นหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ได้ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อวันที่ ธันวาคม 2538 ยานได้นำความลับมากมายจากดวงอาทิตย์มาสู่วงการวิทยาศาสตร์สุริยะ จนถึงวันนี้ โซโฮได้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญให้แก่รายงานวิจัยกว่า 2,400 ฉบับโดยนักดาราศาสตร์กว่า 2300 แม้จะมีอายุกว่าสิบปีแล้ว แต่ยานก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาสภาพภายในดวงอาทิตย์โดยการบันทึกคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิว

ไม่เพียงแต่ข้อมูลด้านที่หันเข้าสู่โลกและยานเท่านั้น ขณะนี้นักดาราศาสตร์กำลังพัฒนาวิธีการให้โซโฮสร้างภาพจำลองของสภาพพื้นผิวดวงอาทิตย์ด้านตรงข้ามกับยานได้ 

เดิมโซโฮมีกำหนดสิ้นสุดภารกิจในเดือนเมษายน 2540 แต่ล่าสุดโครงการได้รับงบประมาณเพิ่มเติมให้ยืดอายุภารกิจออกไปอีกสองปีจนถึงเดือนธันวาคม 2552 

ภายในอีกสองปีต่อจากนี้ จะมียานอีกห้าลำที่จะตามขึ้นไปสมทบบนอวกาศและสำรวจดวงอาทิตย์ร่วมกับโซโฮ ในจำนวนนี้มียานจากอีซาสองลำ นาซาสองลำ และญี่ปุ่นอีกหนึ่งลำ ยานของญี่ปุ่นคือ โซลาร์บี จะปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปลายปีนี้ 

อีซาจะปล่อยยาน โพรบา-2 เป็นดาวเทียมทดลองเทคโนโลยีและมีอุปกรณ์สำรวจดวงอาทิตย์ด้วย โดยเฉพาะที่สำคัญคืออุปกรณ์ที่สนับสนุนกล้องอีไอทีของโซโฮ อีไอทีจะมุ่งเน้นไปในการสำรวจต้นกำเนิดและช่วงต้นของการปะทุบนดวงอาทิตย์ แต่กล้องของโพรบา-2 จะติดตามการปะทุนั้นต่อไปในอวกาศ

ในด้านของนาซาจะปล่อยยานแฝดหนึ่งคู่ชื่อ สเตอริโอ ในปีนี้ และในปี 2551 จะปล่อยยานโซลาร์ไดนามิกส์ออร์บิเตอร์ขึ้นไปอีกหนึ่งลำ สเตอริโอทั้งสองลำนี้จะทำงานประสานกับโซโฮอย่างแนบแน่นโดยวางตำแหน่งในอวกาศให้อยู่ในรูปสามประสาน เพื่อสังเกตในมุมต่างกันสามมุมและสนับสนุนข้อมูลแก่กันและกัน 

เดิมเรามีแค่ยานสำรวจดวงอาทิตย์แค่ดวงเดียว แต่อีกเพียงไม่กี่เดือนโซโฮก็จะไม่ต้องทำงานอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะเราจะมีสิ่งที่เรียกว่า "กองทัพสำรวจดวงอาทิตย์"



ยานโซโฮ

ยานโซโฮ

สเตอริโอ (Solar TErrestrial RElations Observatory)

สเตอริโอ (Solar TErrestrial RElations Observatory)

โพรบา-2

โพรบา-2

ที่มา: