สมาคมดาราศาสตร์ไทย

โซโฮจับภาพการพ่นมวลคอโรนา

โซโฮจับภาพการพ่นมวลคอโรนา

2 ม.ค. 2545
รายงานโดย: ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช (panatpongc@yahoo.com)
เมื่อวันที่ มกราคม 2545 ดาวเทียมโซโฮ (SOHO) ได้ทำการบันทึกปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการพ่นมวลคอโรนา (Coranal Mass Ejection, CME) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่มีความซับซ้อนมากที่สุด เท่าที่ดาวเทียมโซโฮเคยบันทึกมา โดยการระเบิดในครั้งนี้เริ่มขึ้นบริเวณของด้านตะวันออกเฉียงเหนือของดวงอาทิตย์ ถือเป็นความโชคดีที่ทิศทางในการระเบิดนั้นมิได้พุ่งมาทางโลกของเรา 

ภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพดวงอาทิตย์ลัสโค (LASCO coronagraph) แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการระเบิด ส่งผลให้อนุภาคต่างๆ จำนวนหลายพันล้านตันกระจายสู่อวกาศ ด้วยความเร็วประมาณ 3.5 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง รูปร่างที่สลับซับซ้อนของมวลสารที่สาดกระจายสู่อวกาศ เป็นผลจากสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ 

ในภาพถ่ายดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยโอ็คคัลติง ดิสค์ (วงกลมสีขาว) วัตถุสว่างทางด้านขวาของดวงอาทิตย์คือดาวศุกร์ ขีดด้านล่างเกิดขึ้นเนื่องจากดาวศุกร์มีความสว่างมากจนเกินไป 

ภาพถ่ายในช่วง 2-3 ชั่วโมงต่อมาหลังจากภาพซ้าย (ESA/NASA)

ภาพถ่ายในช่วง 2-3 ชั่วโมงต่อมาหลังจากภาพซ้าย (ESA/NASA)

ภาพถ่ายปรากฏการณ์การพ่นมวลคอโรนา <wbr>(ESA/NASA)<br />
<br />

ภาพถ่ายปรากฏการณ์การพ่นมวลคอโรนา (ESA/NASA)

ที่มา: