สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกใหม่ 1998 WT24

พบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกใหม่ 1998 WT24

18 ธ.ค. 2544
รายงานโดย: ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช (panatpongc@yahoo.com)
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ที่ผ่านมา ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่กว่าหนึ่งกิโลเมตรที่มีชื่อว่า 1998 WT24 ได้โคจรเข้าใกล้โลกด้วยระยะห่างเพียง เท่าของระยะทางระหว่างโลกและดวงจันทร์ แต่การโคจรเข้าใกล้โลกครั้งนี้มิได้ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อโลกของเรา ในทางกลับกัน "มันเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมในการศึกษาดาวเคราะห์น้อยประเภทที่มีวงโคจรใกล้โลก" Donald Yeomans หัวหน้า นักดาราศาสตร์ในโครงการศึกษาวัตถุใกล้โลกหรือ Near-Earth Object Program ของนาซากล่าว

ครั้งสุดท้ายที่วัตถุขนาดใหญ่กว่าหนึ่งกิโลเมตรโคจรเข้าใกล้โลกคือวันที่ 27 สิงหาคม 1969 ในวันนั้นดาวเคราะห์น้อย 1999 RD32 โคจรเข้าใกล้โลกด้วยระยะห่างประมาณ 3.7 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์ Yeomans ยังกล่าวต่อไปว่า "ในครั้งนั้นยังไม่มีใครรู้จักดาวเคราะห์น้อย 1999 RD32 เพราะมันยังไม่ถูกค้นพบ แต่ต้องขอบคุณสำหรับโครงการค้นหา ดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้เรามีเวลาเตรียมตัวสำหรับ 1998 WT24

ในการเข้าใกล้โลกครั้งนี้ทีมนักดาราศาสตร์ที่นำโดย Steve Ostro มีแผนการที่จะศึกษาดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวด้วยจานเรดาร์โกล์ดสโตนด์ในทะเลทรายโมฮาเว และ กล้องโทรทรรศน์วิทยุเอริซิโบ ในเปอร์โต ริโก เพื่อจะสามารถทำนายวงโคจรที่แน่นอนของดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวในอนาคตได้ นอกจากนั้นนักดาราศาสตร์ยังมีแผนที่จะทำแผนที่แบบสามมิติของดาวเคราะห์น้อย 1998 WT24 อีกด้วย "เราหวังว่าจะเข้าใจถึงองค์ประกอบของดาวเคราะห์น้อยพวกนี้ เพื่อที่เราจะสามารถเบี่ยงเบนวงโคจรของมันหรือแม้กระทั่งทำลายมัน" Donald Yeomans กล่าวทิ้งท้าย

วงโคจรของดาวเคราะห์น้อย 1998 WT24

วงโคจรของดาวเคราะห์น้อย 1998 WT24

ที่มา: