สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ญาติพลูโต

ญาติพลูโต

30 พ.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ได้รับทราบแล้วว่า พลูโตและดวงจันทร์คารอนไม่ได้เป็นวัตถุส่วนน้อยของระบบสุริยะอีกต่อไป เพราะที่ขอบนอกของระบบสุริยะในบริเวณที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ยังมีวัตถุที่คุณสมบัติคล้ายพลูโตอีกจำนวนมากมายนับร้อยหรืออาจถึงหลายหมื่นดวงโคจรอยู่ วัตถุกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ หรือ KBO (Kuiper Belt Objects) แต่เนื่องจากแถบนี้อยู่ห่างไกลมาก การค้นหาวัตถุแถบไคเปอร์จึงทำได้ยาก แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์ได้พบวัตถุแถบไคเปอร์ดวงหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดที่เคยค้นพบ และพบว่าวัตถุชนิดนี้อาจมีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างที่ทำให้เชื่อว่าการค้นพบวัตถุแถบไคเปอร์ทำได้ง่ายขึ้นด้วย 

วัตถุดวงใหม่นี้คือ ดาวเคราะห์น้อย วรุณ หรือ (20000) Varuna (ก่อนหน้านี้เคยมีชื่อว่า 2000 WR106) ถูกค้นพบเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วโดยคณะสเปซวอตช์ของมหาวิทยาลัยแอริโซนา 

การประมาณขนาดของวัตถุในระบบสุริยะที่อยู่ห่างไกลอย่างนี้ นักดาราศาสตร์จะประเมินจากระยะทาง (ที่คำนวณจากการเคลื่อนที่ปรากฏ) ความสว่างปรากฏ และดรรชนีการสะท้อนแสง (albedo) ของวัตถุนั้น 

ในการค้นหาดรรชนีสะท้อนแสงของวรุณ คณะนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายนำโดย เดวิด จิวอิตต์ ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยนี้ในย่านรังสีอินฟราเรดด้วยกล้องโทรทรรศน์เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ ขนาด 15 เมตรในฮาวาย เพื่อวัดปริมาณการดูดกลืนแสงอาทิตย์ ผลที่ได้คือ วรุณสะท้อนแสงประมาณ เปอร์เซ็นต์ 

เมื่อทราบดรรชนีสะท้อนแสงแล้ว จึงสามารถคำนวณขนาดได้ว่า วรุณมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 900 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าแชมป์ดวงก่อนซึ่งมีขนาด 600 กิโลเมตร และมีขนาดพอ ๆ กับซีรีสซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับวัตถุในจำพวกเดียวกันแล้ว วรุณมีขนาดเป็นรองเพียงพลูโต (2,400 กิโลเมตร) และคารอน (1,200 กิโลเมตร) เท่านั้น 

นอกจากขนาดแล้ว ความสว่างของวรุณก็เป็นที่น่าสนใจอีกเช่นกัน นักดาราศาสตร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า วัตถุแถบไคเปอร์น่าจะมีคุณสมบัติเหมือนกับนิวเคลียสของดาวหางคาบสั้น ซึ่งมีดรรชนีสะท้อนแสงประมาณ เปอร์เซ็นต์ แต่วรุณมีถึง เปอร์เซ็นต์ คาดว่ามันอาจประกอบไปด้วยน้ำแข็ง แต่อาจจะไม่ใหม่หรืออยู่อย่างเปิดโล่งมากเท่ากับพลูโตที่มีดรรชนีสะท้อนแสงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ บางทีวัตถุแถบไคเปอร์อาจมีความสว่างมากกว่าที่เคยคิดไว้ นั่นย่อมหมายความว่าสามารถค้นพบได้ง่ายกว่าที่คิดด้วย การค้นพบครั้งนี้อาจเย้ายวนใจให้นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจในการล่าวัตถุแถบไคเปอร์มากขึ้น และในอนาคตอันใกล้อาจมีการค้นพบวัตถุแถบไคเปอร์ที่มีขนาดใหญ่เท่าคารอน หรืออาจใหญ่เท่าพลูโตก็เป็นไปได้

ดาวเคราะห์น้อย <wbr>2000 <wbr>WR<sub>106</sub> <wbr>ถ่ายโดยกล้องสเปซวอตซ์ขนาด <wbr>0.9 <wbr>เมตร <wbr>เมื่อวันที่ <wbr>8 <wbr>พฤศจิกายน <wbr>2543 <wbr>(ภาพจาก <wbr>Spacewatch/University <wbr>of <wbr>Arizona)<br />

ดาวเคราะห์น้อย 2000 WR<sub>106</sub> ถ่ายโดยกล้องสเปซวอตซ์ขนาด 0.9 เมตร เมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2543 (ภาพจาก Spacewatch/University of Arizona)

ที่มา: