สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาราจักรเก่าเขย่าทฤษฎีกำเนิดดาราจักร

ดาราจักรเก่าเขย่าทฤษฎีกำเนิดดาราจักร

1 ก.ย. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ทฤษฎีการกำเนิดดาราจักรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อาจต้องมีการปรับปรุงใหม่ในเร็ว ๆ นี้ เมื่อนักดาราศาสตร์พบว่า มีดาราจักรเป็นจำนวนมากที่มีอายุมากกว่าที่เคยคิดไว้ 

ล่าสุด นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอร์แฮมในอังกฤษ ได้รายงานการค้นพบดาราจักรหลายดาราจักรที่มีการเลื่อนไปทางแดงอยู่ระหว่าง ถึง ค่าการเลื่อนไปทางแดงเป็นค่าที่แสดงการเลื่อนของสเปกตรัมซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของดาราจักร และยังใช้บอกระยะทางของดาราจักรได้อีกด้วย 

 ค่าการเลื่อนไปทางแดงที่สูงประมาณ ถึง แสดงว่าดาราจักรนั้นอยู่ห่างออกไปถึง 10,000 ล้านปีแสง ซึ่งหมายความว่าดาราจักรนี้มีอายุไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านปี หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ดาราจักรเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่เอกภพมีอายุเพียงไม่กี่พันล้านปีเท่านั้น ผลสำรวจนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องกลับมาคิดหนัก เพราะตามทฤษฎีการกำเนิดดาราจักรในปัจจุบัน ดาราจักรน่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังจากนั้นมากและไม่ควรมีค่าการเลื่อนไปทางแดงสูงขนาดนั้น 

การค้นพบครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพบดาราจักรที่มีการเลื่อนไปทางแดงสูงมาก เพราะเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้มีรายงานการค้นพบดาราจักรหนึ่งซึ่งอาจมีค่าการเลื่อนไปทางแดงสูงถึง 12.5 การค้นพบช่วงหลัง ๆ มานี้ทำให้นักดาราศาสตร์เริ่มเชื่อว่า ดาราจักรที่มีการเลื่อนไปทางแดงสูงอาจมีเป็นจำนวนมากเท่า ๆ กับดาราจักรที่มีการเลื่อนไปทางแดงต่ำก็ได้ 

 

การค้นพบของคณะจากเดอร์แฮมในครั้งนี้ได้จากข้อมูลที่มาจากกล้องโทรทรรศน์วิลเลียม เฮอร์เชล และ คาลาร์ อัลโต ที่ตั้งอยู่บนพื้นโลกและจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล 

การค้นหาดาราจักรที่มีการเลื่อนไปทางแดงสูงกว่านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายนักดาราศาสตร์ในขณะนี้ เนื่องจากมีขีดจำกัดหลาย ๆ ด้านทั้งขนาดและประสิทธิภาพของกล้องโทรทรรศน์ในย่านอินฟราเรด บางทีการค้นหาดาราจักรเหล่านั้นอาจต้องรอให้เทคโนโลยีกล้องอินฟราเรดพัฒนาไปมากกว่านี้ และรอให้กล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่อย่างกล้อง เอ็นจีเอสที (Next Generation Space Telescope) ของนาซาขึ้นปฏิบัติการในทศวรรษหน้า 

ที่มา: