สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ซูเปอร์โนวาในเอ็ม 51

ซูเปอร์โนวาในเอ็ม 51

12 ก.ค. 2548
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา วอล์ฟกอง คลอเอร์ นักล่าซูเปอร์โนวาสมัครเล่นชาวเยอรมัน ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาดวงหนึ่งด้วยกล้องซีซีดีติดบนกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงขนาด นิ้ว ซูเปอร์โนวาดวงนี้อยู่ห่างจากใจกลางดาราจักร 78 พิลิปดา ต่อมาได้รับชื่อว่า 2005 ซีเอส (2005cs) จากการสำรวจสเปกตรัมโดยรอเบิร์ต ฮัตชินส์ด้วยกล้อง 1.5 เมตรของหอดูดาววิปเพิลในแอริโซนาเมื่อวันที่ 30 พบว่าซูเปอร์โนวานี้เป็นชนิด ซึ่งเป็นซูเปอร์โนวาที่มีไฮโดรเจนมาก และเป็นซูเปอร์โนวาที่จะเหลือแกนเป็นดาวนิวตรอนหรืออาจเป็นหลุมดำ  

จนถึงวันที่ ความสว่างของซูเปอร์โนวาลดลงเหลืออันดับ 14.1 และล่าสุดวัดจนถึงวันที่ 10 ความสว่างก็ยังคงอยู่ที่ 14.1 

ไมเคิล ดับเบิลยู. ริชมอนด์จากสถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ ได้ตรวจสอบกับภาพที่ถ่ายไว้ก่อนหน้าการระเบิด พบดาวสีน้ำเงินสว่างมากดวงหนึ่งที่อาจเป็นต้นกำเนิดซูเปอร์โนวานี้ หากเป็นเช่นนั้นจริง ซูเปอร์โนวาเอนเอ็น 2005ซีเอส นี้อาจมีพฤติกรรมเหมือนกับซูเปอร์โนวาเอสเอ็น 1987 เอ ในดาราจักรเมฆมาเจลลันใหญ่ ซึ่งมีดาวต้นกำเนิดเป็นดาวสีน้ำเงินสว่างเหมือนกัน มีการคงความสว่างเป็นเวลาหนึ่งหลังจากการระเบิด และหลังจากนั้นอีกหลายเดือนก็สว่างขึ้นอีกหลายครั้ง

ดาราจักรวังวน (เอ็ม 51) ถ่ายโดย อาร์. เจย์ กาบานี จากซานโฮเซ แคลิฟอร์เนีย โดยใช้กล้องขนาด 12 นิ้ว ภาพทางซ้ายถ่ายก่อนการระเบิด ภาพทางขวาถ่ายหลังการระเบิด จุดสว่างที่จุดตัดของลูกศรคือซูเปอร์โนวา 2005 ซีเอส

ดาราจักรวังวน (เอ็ม 51) ถ่ายโดย อาร์. เจย์ กาบานี จากซานโฮเซ แคลิฟอร์เนีย โดยใช้กล้องขนาด 12 นิ้ว ภาพทางซ้ายถ่ายก่อนการระเบิด ภาพทางขวาถ่ายหลังการระเบิด จุดสว่างที่จุดตัดของลูกศรคือซูเปอร์โนวา 2005 ซีเอส

ที่มา: