กลุ่มดาวลูกธนู เป็นกลุ่มดาวเล็ก ๆ ไม่โดดเด่นนัก ดาวหลักส่วนใหญ่มีความสว่างไม่มาก แต่ในอีกไม่กี่ปี กลุ่มดาวนี้อาจเป็นกลุ่มดาวที่ทุกคนต้องแหงนมองทุกวัน
ดาววีลูกธนู (V Sagittae) ก็เป็นดาวจาง ๆ อีกดวงหนึ่งในกลุ่มดาวนี้ อยู่ห่างจากโลก 7,800 ปีแสง ด้วยอันดับความสว่าง 8.6-13.9 ทำให้ดาวดวงนี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แม้จะส่องด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางก็ยังเห็นได้ยาก
แบรดลีย์เชเฟอร์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลุยเซียนาสเตต ได้เปิดเผยผลการวิจัยในที่ประชุมครั้งที่ 235 ของสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันว่า อีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ดาวดวงนี้จะกลายเป็นดาวที่สว่างที่สุดในดาราจักรทางช้างเผือก ส่องสว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน แม้แต่ดาวซิริอัสที่เป็นดาวสว่างที่สุดบนท้องฟ้าขณะนี้ก็ยังต้องตกเป็นรอง อาจสว่างใกล้เคียงดาวศุกร์เลยก็ได้
ดาววีลูกธนูไม่ใช่ดาวเดี่ยวแต่เป็นดาวคู่ ประกอบด้วยดาวแคระขาวหนึ่งดวงและดาวฤกษ์ธรรมดาอีกหนึ่งดวง โคจรรอบกันในระยะใกล้ชิดด้วยคาบ 12 ชั่วโมง ดาวแคระขาวคือแก่นกลางของดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัย เป็นช่วงสุดท้ายของวิวัฒนาการดาวฤกษ์ที่จะส่องแสงออกมาได้ก่อนที่จะมอดดับไปตลอดกาล แต่หากดาวแคระขาวอยู่ในระบบดาวคู่ที่ดาวทั้งสองอยู่ใกล้กันมากพอ ดาวแคระขาวจะดึงสสารจากดาวสหายมาสู่ตนเอง ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ผิวดาวแคระขาว และส่องสว่างขึ้นกว่าปกติหลายเท่า
เชเฟอร์และคณะได้วัดความสว่างของดาววีลูกธนูจากคลังภาพถ่ายเก่าที่ถ่ายโดยหอดูดาววิทยาลัยฮาร์เวิร์ดย้อนหลังไปไกลถึงทศวรรษ1890 พบว่าความสว่างของดาวดวงนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับคาบการโคจรของดาวคู่นี้ก็หดสั้นลงตามไป
การเปลี่ยนแปลงนี้แสดงว่าดาวทั้งคู่โคจรรอบกันและกันพร้อมกับตีวงเข้าหากันด้วยอัตราเร่งสสารจากดาวฤกษ์สหายกำลังไหลลงสู่ดาวแคระขาวในอัตราเร็วกว่าปกติ สุดท้ายแล้วดาวทั้งสองจะเข้าชนกัน มวลของดาวฤกษ์จะไหลทะลักลงสู่ดาวแคระขาวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดลมดาวก้อนมหึมาโหมพัดออกมาอย่างรุนแรง
ปรากฏการณ์เช่นนี้คล้ายกับการเกิดโนวาแบบฉบับแต่สำหรับดาววีลูกธนูจะไม่ใช่โนวาธรรมดา เป็นโนวาชนิดพิเศษ เรียกว่า โนวาแคระ ซึ่งเกิดขึ้นจากดาวฤกษ์ถูกดาวแคระขาวกลืนไปทั้งดวง
ในดาราจักรของเราอาจมีโนวาแคระถึงกว่าหนึ่งล้านดวงแต่กรณีของวีลูกธนูจะเป็นโนวาแคระที่สว่างมากกว่าโนวาอื่นที่เคยรู้จักถึงหนึ่งร้อยเท่า เนื่องจากดาวสหายของดาวแคระขาวมีขนาดใหญ่มาก มีมวลมากกว่าดาวแคระขาวเองถึงสามเท่า ในขณะที่โนวาแคระเกือบทั้งหมดดาวฤกษ์จะมีมวลน้อยกว่าดาวแคระขาวหรือไล่เลี่ยกัน คาดว่าการส่องสว่างของโนวาวีลูกธนูจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นเดือนเลยทีเดียว
คณะของเชเฟอร์คำนวณว่าดาวคู่นี้จะชนกันในราว พ.ศ. 2626 หากคำนวณเผื่อความคลาดเคลื่อนด้วย ก็น่าจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2610-2642 หรืออีกราว 60 ปีข้างหน้า นั่นหมายความว่าหลายคนที่กำลังอ่านข่าวนี้อาจอยู่ถึงวันนั้นและจะได้เห็นเหตุการณ์นี้ด้วยตาตนเอง
ดาว
แบรดลีย์
ดาววีลูกธนูไม่ใช่ดาวเดี่ยว
เชเฟอร์และคณะได้วัดความสว่างของดาววีลูกธนูจากคลังภาพถ่ายเก่าที่ถ่ายโดยหอดูดาววิทยาลัยฮาร์เวิร์ดย้อนหลังไปไกลถึงทศวรรษ
การเปลี่ยนแปลงนี้แสดงว่าดาวทั้งคู่โคจรรอบกันและกันพร้อมกับตีวงเข้าหากันด้วยอัตราเร่ง
ปรากฏการณ์เช่นนี้คล้ายกับการเกิดโนวาแบบฉบับ
ในดาราจักรของเราอาจมีโนวาแคระถึงกว่าหนึ่งล้านดวง
คณะของเชเฟอร์คำนวณว่า