สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์หินในระบบสุริยะอื่นดวงแรก

ดาวเคราะห์หินในระบบสุริยะอื่นดวงแรก

18 ส.ค. 2548
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
การค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น เป็นเหมือนกับการตื่นทองสำหรับนักดาราศาสตร์ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นแล้วกว่า 150 ดวง แต่ละดวงมีมวลตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของโลก ซึ่งจัดว่าเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าสภาพแวดล้อมย่อมต่างจากโลกเป็นอย่างมากด้วย ดาวเคราะห์ที่นักดาราศาสตร์รอคอยค้นพบเป็นพิเศษคือดาวเคราะห์ที่เล็กหรือมวลใกล้เคียงกับโลก เพราะการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีขนาดและสภาพแวดล้อมใกล้เคียงโลกจะหมายถึงโอกาสที่จะพบสิ่งมีชีวิตแบบโลกก็มากขึ้นด้วย 

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงล่าสุด ซึ่งนับเป็นดวงที่ 155 อาจทำให้ความหวังของนักดาราศาสตร์ใกล้ความจริงขึ้นไปอีกนิด เพราะมีมวลประมาณ 6-9 เท่าของโลกเท่านั้น นับว่าเป็นดาวเคราะห์ที่เบาที่สุดเท่าที่เคยพบ และเป็นครั้งแรกที่พบดาวเคราะห์หินที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น

ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้เป็นบริวารของดาว กลีส 876 (Gliese 876) ดาวกลีส 876  ซึ่งเป็นดาวแคระชนิดเอ็ม มีมวลประมาณหนึ่งในสามของดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้โดยบังเอิญขณะกำลังศึกษาดาวเคราะห์ของดาวกลีส 876 สองดวงที่พบก่อนหน้านี้ด้วยกล้องเคกในฮาวาย  

ดาวเคราะห์ดวงน้อยนี้โคจรรอบดาวแม่เร็วมาก ใช้เวลาเพียง 1.94 วันเท่านั้นก็โคจรครบรอบ อยู่ห่างจากดาวแม่ 3.2 ล้านกิโลเมตร เทียบกับโลกซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 150 ล้านกิโลเมตร

เนื่องจากดาวดวงนี้อยู่ใกล้ดาวฤกษ์มาก จึงร้อนมากด้วย มีอุณหภูมิตั้งแต่ 244-398 องศาเซลเซียส สภาพแวดล้อมเช่นนี้จึงไปไม่ได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้จึงยังห่างไกลเกินกว่าจะเรียกว่าเป็นดาวเคราะห์แบบโลก แต่นักดาราศาสตร์ยังคงค้นหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กลงยิ่งขึ้นไปอีก โครงการเคปเลอร์ของนาซาที่จะขึ้นสู่อวกาศในปี 2550 อาจช่วยให้ฝันของนักดาราศาสตร์เป็นจริงได้ในไม่ช้า

ดาวเคราะห์ดวงใหม่ของดาวกลีส <wbr>876 <wbr>แม้จะเป็นดาวเคราะห์หินแบบโลก <wbr>แต่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์มาก <wbr>จึงร้อนจัด <wbr>ต่างจากโลกโดยสิ้นเชิง <wbr>(ภาพจาก <wbr>National <wbr>Science <wbr>Foundation)<br />
<br />

ดาวเคราะห์ดวงใหม่ของดาวกลีส 876 แม้จะเป็นดาวเคราะห์หินแบบโลก แต่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์มาก จึงร้อนจัด ต่างจากโลกโดยสิ้นเชิง (ภาพจาก National Science Foundation)

ที่มา: