ดาวบีตาขาตั้งภาพ (Beta Pictoris) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสองในกลุ่มดาวขาตั้งภาพ เป็นดาวฤกษ์อายุน้อยมากเพียงประมาณ 20 ล้านปี อยู่ห่างจากโลกเพียง 63 ปีแสง ในปี 2527 นักดาราศาสตร์พบว่าดาวดวงนี้มีจานฝุ่นล้อมรอบอยู่ ต่อมาก็มีการพบว่าจานฝุ่นนี้คือบริเวณที่มีการสร้างดาวเคราะห์ และพบว่ามีดาวเคราะห์อย่างน้อยสองดวงอยู่ในจานฝุ่นนี้
ต่อมาเมื่อถึงยุคของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกล้องฮับเบิลได้พบจานฝุ่นแผ่นที่สองที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน จานฝุ่นแผ่นที่สองมีระนาบบิดเบี้ยวไปจากจานแผ่นหลักเล็กน้อย ซึ่งความบิดเบี้ยวนี้ก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงกระบวนการสร้างดาวเคราะห์ที่กำลังเกิดขึ้นภายในจาน
แน่นอนว่าระบบสุริยะที่น่าสนใจเช่นนี้ย่อมเป็นเป้าหมายของกล้องโทรทรรศน์อย่างเจมส์เวบบ์ด้วยอิซาเบล รีโบลลิโด จากศูนย์ชีววิทยานอกโลกในสเปน ได้ใช้กล้องนีรีและกล้องมีรีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์สำรวจจานฝุ่นของดาวบีตาขาตั้งภาพ โดยหวังว่าจะพบโครงสร้างที่อาจซ่อนอยู่ในม่านฝุ่นที่หนาทึบของดาวดวงนี้
ภาพจากเจมส์เวบบ์สร้างความประหลาดใจให้แก่นักดาราศาสตร์เป็นอย่างมากสิ่งที่สร้างความประหลาดใจไม่ใช่โครงสร้างซับซ้อนภายในจานฝุ่น หากแต่เป็นโครงสร้างเส้นสายที่ทอดยื่นยาวและเหยียดโค้งออกมาจากจานฝุ่นดูเหมือนหางแมว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อนในดาวดวงนี้แม้แต่ในภาพถ่ายของกล้องฮับเบิล กล้องเจมส์เวบบ์มีความไวและกำลังแยกภาพสูงกว่ากล้องฮับเบิลมาก จึงจับภาพโครงสร้างพิสดารนี้ได้
นอกจาก"หางแมว" ซึ่งสะดุดตายิ่งกว่าสิ่งใดแล้ว ข้อมูลจากมีรียังแสดงว่าจานฝุ่นทั้งสองจานมีอุณหภูมิต่างกัน ซึ่งแสดงว่าสสารในจานทั้งสองมีองค์ประกอบต่างกัน จานแผ่นรองซึ่งร่วมถึงส่วนหางแมวมีอุณหภูมิสูงกว่า แสดงว่าโครงสร้างส่วนนี้ประกอบด้วยวัสดุมืดคล้ำ เพราะการสำรวจก่อนหน้านี้ที่ทำในช่วงความยาวคลื่นของแสงที่ตามองเห็นกับอินฟราเรดใกล้มองไม่เห็น แต่มองเห็นได้ด้วยกล้องเจมส์เวบบ์ซึ่งมีความไวในช่วงอินฟราเรดกลาง
สิ่งหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ยังงงไม่หายก็คือโครงสร้างหางแมวเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทฤษฎีหนึ่งที่พอฟังได้ก็คือ หางแมวนี้เป็นผลจากเหตุการณ์บางอย่างภายในจานฝุ่นเมื่อราวหนึ่งร้อยปีก่อน เช่นเกิดการชนกัน ที่ทำให้เกิดเศษวัสดุสาดออกมาเป็นสายยาวดังที่เราเห็น มุมเฉียงของหางแมวที่พบว่าทำมุมเหออกจากระนาบของจานฝุ่นมากนั้นบางทีอาจเกิดจากมุมมองที่หางแมวเอียงทำมุมเป็นมุมแหลมกับแนวเล็งจากโลก จึงดูเอียงมากกว่าความเป็นจริง
ต่อมาเมื่อถึงยุคของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
แน่นอนว่าระบบสุริยะที่น่าสนใจเช่นนี้ย่อมเป็นเป้าหมายของกล้องโทรทรรศน์อย่างเจมส์เวบบ์ด้วย
ภาพจากเจมส์เวบบ์สร้างความประหลาดใจให้แก่นักดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก
นอกจาก
สิ่งหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ยังงงไม่หายก็คือ