สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ย้อนมองเอกภพทารกจากซากซูเปอร์โนวา

ย้อนมองเอกภพทารกจากซากซูเปอร์โนวา

13 มิ.ย. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ในที่ประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันที่แนชวิลล์ คณะนักดาราศาสตร์ที่นำโดยซูซาน จี. เนฟฟ์ จากนาซาและศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด เจมส์ เอส. อัลเวสทัด จากหอดูดาววิทยุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา และ สเตซี เติ้ง จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ได้แสดงผลการสำรวจซากซูเปอร์โนวา ซากในกระจุกดาวกระจุกหนึ่งในในดาราจักรอาร์ป 299 (Arp 299) 

ดาราจักรอาร์ป 299 เป็นดาราจักรสองดาราจักรชนกัน ซากซูเปอร์โนวาทั้งห้านี้มีอายุน้อยมาก หนึ่งในซากนี้มีอายุน้อยกว่า 13 เดือน กระจุกดาวนี้มีความกว่าง 350 ปีแสง มีอัตราการเกิดซูเปอร์โนวาบ่อยมากถึงหนึ่งครั้งทุก 2-3 ปี ในขณะที่ดาราจักรทางช้างเผือกทั้งดาราจักรมีอัตราการเกิดซูเปอร์โนวาเพียงประมาณ ครั้งต่อศตวรรษเท่านั้น 

ซูเปอร์โนวาเกิดจากดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก ดังนั้นการเกิดซูเปอร์โนวามากผิดปรกติของอาร์ป 299 แสดงว่าดาราจักรนี้มีอัตราเกิดดาวฤกษ์หนักสูงมาก คณะนักดาราศาสตร์ที่สำรวจเรื่องนี้ประเมินว่ากระจุกดาวนี้มีดาวฤกษ์มากถึง ล้านดวง และเชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดดาวส่วนใหญ่ของดาราจักรนี้ ในการสำรวจนี้นักดาราศาสตร์ถึงกับเห็นการเกิดใหม่ของดาวโดยตรงเลยทีเดียว 

อาร์ป 299 ช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็นถึงพลศาสตร์ที่เกิดขึ้นภายในดาราจักรชนกันและสภาพการเกิดดาวฤกษ์ซึ่งเป็นสภาพที่เกิดขึ้นทั่วไปในเอกภพยุคต้น นอกจากนี้ดาราจักรนี้ยังช่วยให้มองเห็นการเกิดกระจุกดาวทรงกลมอีกด้วย 

แหล่งกำเนิดดาวในอาร์ป 299 มีความลึกลับเช่นเดียวกับแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์อื่น ๆ บริเวณนี้ถูกห้อมล้อมด้วยม่านฝุ่นอันหนาทึบ มีเพียงคลื่นวิทยุเท่านั้นที่สามารถทะลุม่านเหล่านี้ออกมาให้นักดาราศาสตร์มองเห็นได้ อย่างไรก็ตาม การสำรวจอาร์ป 299 ในช่วงเริ่มต้น ต้องใช้สมรรถภาพของเครือข่ายวีแอลบีเอ ซึ่งเป็นเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีกล้องขนาด 25 เมตรสิบกล้องกระจายอยู่ทั่วโลก ให้กำลังแยกภาพสูงถึง มิลลิพิลิปดา ร่วมกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุโรเบิร์ตซีเบิร์ดกรีนแบงก์ขนาด 100 เมตร ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ล่าสุดที่เพิ่งทำได้ในปีนี้เอง 

ภาพสีผิดของดาราจักรอาร์ป 299 ซึ่งเกิดจากดาราจักรสองดาราจักรชนกัน อยู่ห่างจากโลก 140 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ บริเวณสีแดงคือบริเวณที่แผ่คลื่นวิทยุ บริเวณสีเขียวคือบริเวณที่แผ่รังสีอินฟราเรด ส่วนบริเวณสีม่วงคือบริเวณที่แผ่รังสีอัลตราไวโอเลต การชนกันของดาราจักรทำให้มีการสร้างดาวฤกษ์จำนวนมาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงต้นของเอกภพ (ภาพจาก NRAO, AUI, NSF, STScI และ NASA)

ภาพสีผิดของดาราจักรอาร์ป 299 ซึ่งเกิดจากดาราจักรสองดาราจักรชนกัน อยู่ห่างจากโลก 140 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ บริเวณสีแดงคือบริเวณที่แผ่คลื่นวิทยุ บริเวณสีเขียวคือบริเวณที่แผ่รังสีอินฟราเรด ส่วนบริเวณสีม่วงคือบริเวณที่แผ่รังสีอัลตราไวโอเลต การชนกันของดาราจักรทำให้มีการสร้างดาวฤกษ์จำนวนมาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงต้นของเอกภพ (ภาพจาก NRAO, AUI, NSF, STScI และ NASA)

ที่มา: