สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวฤกษ์เฉื่อยชา

ดาวฤกษ์เฉื่อยชา

14 พ.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์คณะหนึ่ง นำโดย ลูอิซา รีบุล จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและเจพีแอล ได้ใช้กล้อง 30 นิ้วของหอสังเกตการณ์แมกโดนัลด์ สำรวจและวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ในเนบิวลานายพรานและเนบิวลากรวยราว 9,000 ดวง แต่จากจำนวนหลายร้อยดวงที่สามารถวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองได้ รีบุลพบว่ามีหลายดวงที่หมุนรอบตัวเองช้ากว่าที่ควรจะเป็น 

การวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์อาศัยหลักการที่ว่า ดาวบางดวงมีจุดดำเช่นเดียวกับบนดวงอาทิตย์ ดังนั้นทั่วทั้งผิวดาวจึงมีบางส่วนที่สว่างมากและบางส่วนสว่างน้อย เมื่อดาวหมุนรอบตัวเองจึงปรากฏเป็นดาวแปรแสงรายคาบเมื่อมองจากโลก คาบการแปรแสงจึงแสดงถึงคาบการหมุนรอบของตัวเองของดาวนั้นด้วย 

โดยปรกติ ดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัวจะดึงดูดก๊าซและฝุ่นจากบริเวณใกล้เคียงเข้าหาตัวจะมีขนาดเล็กลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงมากขึ้น และเป็นผลให้ดาวหมุนตัวเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับนักสเก็ตที่หมุนตัวบนแผ่นน้ำแข็ง เมื่อเขาหดแขนเข้าหาตัวก็จะหมุนเร็วขึ้น 

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ดาวฤกษ์ที่หมุนช้ากว่าปรกติที่รีบุลค้นพบนั้น เขาตั้งสมมุติฐานขึ้นมา ข้อสำหรับอธิบายสาเหตุของความผิดปรกตินี้ คือ 1. อาจเกิดจากการคุณสมบัติเฉพาะตัวบางประการในตัวของดาวฤกษ์เหล่านั้นเองที่ทำให้ยับยั้งการเพิ่มอัตราหมุนรอบตัวเอง แต่ก็ยังไม่ทราบว่าคุณสมบัตินั้นคืออะไร 2. เป็นเพราะลมสุริยะของดาวฤกษ์เหล่านี้ได้นำเอาโมเมนตัมเชิงมุมออกไป ทำให้ดาวหมุนช้าลง เช่นเดียวกับที่นักเล่นสเก็ตน้ำแข็งจะหมุนตัวช้าลงเมื่อเหยียดแขนออกไป 3. สนามแม่เหล็กของดาวตรึงดาวเอาไว้ให้หมุนช้าเท่า ๆ กับจานฝุ่นที่ล้อมรอบดาวอยู่ และ 4. ได้เกิดดาวเคราะห์ขึ้นโคจรรอบดาวฤกษ์เหล่านั้นและดาวเคราะห์ดึงโมเมนตัมเชิงมุมไป 

สำหรับกรณีที่ มีหลักฐานสนับสนุนบ้างแล้ว เนื่องจากพบว่าดาวบางดวงมีสีแดงกว่าปรกติ ซึ่งบ่งบอกว่าดาวนั้นมีจานฝุ่นล้อมรอบอยู่ 

สำหรับสองกรณีหลัง หากข้อใดข้อหนึ่งเป็นจริง ดาวเฉี่อยชาเหล่านี้อาจเป็นเป้าหมายของการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นอีกแหล่งหนึ่งก็ได้ 

เนบิวลานายพราน (ภาพโดย Jack Newton)

เนบิวลานายพราน (ภาพโดย Jack Newton)

เนบิวลากรวย (ภาพโดย NASA/ACS Team)

เนบิวลากรวย (ภาพโดย NASA/ACS Team)

ที่มา: