สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นอีก 11 ดวง

พบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นอีก 11 ดวง

9 เม.ย. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นับตั้งแต่มีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเป็นครั้งแรกเมื่อต้นทศวรรษ 1990 การล่าดาวเคราะห์ได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ มีรายงานการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงใหม่ ๆ แทบทุกเดือน ล่าสุดเมื่อวันที่ เมษายนที่ผ่านมา ได้มีรายงานการค้นพบดาวเคราะห์ใหม่เพิ่มขึ้นอีก 11 ดวงโดยนักดาราศาสตร์จากสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิสราเอล และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมาจากการร่วมมือกันระหว่างโครงการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น โครงการ 

ดาวเคราะห์ใหม่ดวงหนึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ เป็นบริวารของดาว HD 80606 เพราะมีวงโคจรรีมาก ถึง 0.93 (ความรีของวงรีกำหนดด้วยตัวเลข ระหว่าง 0-1 วงกลมมีความรีเป็น วงที่รีที่สุดจะมีความรีใกล้เคียง 1) ซึ่งนับเป็นวงโคจรที่รีที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะอื่นทั้งหมดที่เคยพบมา ระยะไกลสุดอยู่ที่ 127 ล้านกิโลเมตรจากดาว HD 80606 และมีระยะใกล้สุดเพียง ล้านกิโลเมตร 

ดาว HD 28185 อยู่ห่างจากโลกไม่ถึง 130 ปีแสง ก็พบว่ามีดาวเคราะห์เป็นบริวารดวงหนึ่งเหมือนกัน ดาวเคราะห์ดวงนี้มีวงโคจรคล้ายกับโลกมาก โคจรเป็นวงรีที่ค่อนข้างกลมอยู่ห่างจากจากดาวแม่เฉลี่ย 150.6 ล้านกิโลเมตร โคจร รอบใช้เวลา 385 วัน แต่ขนาดของดาวเคราะห์กลับไม่ใกล้เคียงเลย เพราะมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดีถึง 5.6 เท่า 

ดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งอยู่ในระบบดาวฤกษ์สามดวง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 152 ปีแสง สองดวงแรกเป็นดาวคู่ใกล้ชิดและโคจรรอบกันเองอย่างแนบแน่น ส่วนอีกดวงหนึ่ง คือ HD 178911B โคจรรอบดาวสองดวงแรกอยู่ห่าง ๆ ดาวดวงนี้เองที่พบว่ามีดาวเคราะห์ที่มีมวล 6.5 เท่าของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารดวงหนึ่ง โคจร รอบใช้เวลา 71.5 วัน 

ดาวฤกษ์ HD 74156 อยู่ห่างจากโลก 210 ปีแสง พบว่ามีดาวเคราะห์เป็นบริวารถึง ดวง ดวงหนึ่งมีคาบการโคจร ปี และมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 7.5 เท่า อีกดวงหนึ่งมีวงโคจรเล็กกว่า มีคาบการโคจร 52 วัน และมีมวลประมาณ 1.5 เท่าของดาวพฤหัสบดี

ดาว HD 82943 อยู่ห่างจากโลก 90 ปีแสง ดาวดวงนี้เคยถูกพบมาก่อนแล้วว่ามีบริวารมวล 1.6 เท่าของดาวพฤหัสดีอยู่หนึ่งดวง โคจรรอบด้วยคาบ 444 วัน แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งพบว่าน่าจะมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่โคจรอยู่ใกล้กว่าดาวแม่มากกว่า ดาวเคราะห์ดวงที่สองนี้มีคาบการโคจร 221 วัน หรือสั้นกว่าดวงแรก เท่า เป็นการโคจรที่พ้องกันพอดี

นอกจากดาวเคราะห์ ดวงนี้แล้ว ยังมีดาวเคราะห์ดวงอื่นอีก 3-10 ดวงที่ถูกค้นพบด้วยกัน ทั้งหมดโคจรรอบดาวฤกษ์ที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไปราว 100-145 ปีแสง 

ดาวเคราะห์ทั้งหมดที่พบนี้ ถูกค้นพบโดยการวิเคราะห์ลักษณะการแกว่งของดาวฤกษ์ ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถประมาณวงโคจรและมวลของดาวเคราะห์บริวารที่มองไม่เห็นได้

ความเร็วตามแนวเล็งของ HD 80606(ภาพจาก ESO)

ความเร็วตามแนวเล็งของ HD 80606(ภาพจาก ESO)

ความเร็วตามแนวเล็งของ HD 82943(ภาพจาก ESO)

ความเร็วตามแนวเล็งของ HD 82943(ภาพจาก ESO)

วงโคจรของดาวเคราะห์ใหม่ที่พบ 5 ดวง เปรียบเทียบกับวงโคจรของโลกและดาวพุธ

วงโคจรของดาวเคราะห์ใหม่ที่พบ 5 ดวง เปรียบเทียบกับวงโคจรของโลกและดาวพุธ

<span class='mkbb-indentation'></span>องค์ประกอบของวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่พบใหม่ทั้ง <wbr>11 <wbr>ดวง<br />
<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>* <wbr>ค้นพบมาก่อนหน้านี้<br />
<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>P <wbr>= <wbr>คาบ <wbr>(วันโลก)<br />
<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>a <wbr>= <wbr>ครึ่งแกนเอก<br />
<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>e <wbr>= <wbr>ความรี<br />
<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>M <wbr>= <wbr>มวล <wbr>(จำนวนเท่าของมวลดาวพฤหัสบดี)<br />
<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>d <wbr>= <wbr>ระยะห่างจากโลก <wbr>(ปีแสง)<br />
<br />

องค์ประกอบของวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่พบใหม่ทั้ง 11 ดวง

ค้นพบมาก่อนหน้านี้

คาบ (วันโลก)

ครึ่งแกนเอก

ความรี

มวล (จำนวนเท่าของมวลดาวพฤหัสบดี)

ระยะห่างจากโลก (ปีแสง)

ที่มา: