สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบโครงสร้างเส้นใยของเอกภพ

พบโครงสร้างเส้นใยของเอกภพ

12 มิ.ย. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เป็นเวลานานมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ได้ใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองของเอกภพในยุคเริ่มต้นก่อนที่ดาราจักรจะเกิดขึ้น แบบจำลองนี้แสดงภาพของการจัดเรียงตัวของมวลสารเป็นสายใยที่โยงกันซับซ้อนเหมือนหยากไย่ มีการกระจุกตัวของมวลอยู่เป็นหย่อมตามสายใยเหมือนเม็ดน้ำค้างเกาะบนใยแมงมุมยามเช้า ในเวลาต่อมาโครงสร้างเส้นใยเหล่านี้จะมีวิวัฒนาการต่อไปเป็นกระจุกดาราจักรและมหากระจุกดาราจักร (super galaxy cluster) ต่อไป

เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์อีโซได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วีแอลที (VLT--Very Large Telescope) ที่หอสังเกตการณ์พารานัลในชิลีสำรวจกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนกลุ่มหนึ่งใกล้กับเควซาร์ 1205-30 ซึ่งอยู่ไกลจากโลกมาก ภาพที่ได้มาจึงเป็นภาพที่เกิดขึ้นในขณะที่เอกภพมีอายุเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ของอายุปัจจุบันของเอกภพ หรือเป็นเหตุการณ์หลังจากการเกิดบิกแบงเพียง พันล้านปีเท่านั้น ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นดาราจักร มีดาวฤกษ์เพิ่งเกิดใหม่เพียงไม่กี่ดวง 

เมื่อคณะจากอีเอสโอได้นำข้อมูลของตำแหน่งและระยะทางของก้อนก๊าซมาสร้างเป็นแผนที่สามมิติ ผลที่ได้พบว่าก๊าซเหล่านั้นมีการเรียงตัวกันเป็นเส้นใยเหมือนกับแบบจำลองที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ อันเป็นการยืนยันว่า แบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันมานั้นถูกต้อง ความสำเร็จของการค้นพบนี้ต้องขอบคุณความสามารถของเครื่องมือใหม่ ๆ เช่นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงและกล้องขนาดใหญ่ของวีแอลทีซึ่งมีขนาดถึง เมตร


แบบจำลองของเอกภพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ในขณะที่มีอายุ 2 พันล้านปี สสารมีการจัดเรียงตัวกันเป็นรูปสายใยเหมือนใยแมงมุม สีในภาพแสดงถึงความหนาแน่นของก๊าซ ส่วนสีเหลืองจะมีความหนาแน่นสูงสุด รองลงมาคือสีแดงและน้ำเงินตามลำดับ (ภาพจาก Max-Planck-Institute for Astrophysics)

แบบจำลองของเอกภพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ในขณะที่มีอายุ 2 พันล้านปี สสารมีการจัดเรียงตัวกันเป็นรูปสายใยเหมือนใยแมงมุม สีในภาพแสดงถึงความหนาแน่นของก๊าซ ส่วนสีเหลืองจะมีความหนาแน่นสูงสุด รองลงมาคือสีแดงและน้ำเงินตามลำดับ (ภาพจาก Max-Planck-Institute for Astrophysics)

ภาพสีจริงของบริเวณใกล้เควซาร์ <wbr>Q <wbr>1205-30 <wbr>(ภาพจาก <wbr>ESO)<br />
<br />
<br />

ภาพสีจริงของบริเวณใกล้เควซาร์ 1205-30 (ภาพจาก ESO)


ที่มา: